สระแก้วเคยเป็นเมืองท่าค้าขายของชาวท้องถิ่นเมื่อ 2000 กว่าปีมาแล้ว โดยมีแหล่งอารยธรรมอยู่ที่ที่ราบลุ่ม ชุมชนหนองผักแว่น ตำบล ละลุ จังหวัดสระแก้ว คาดว่าชุมชนบริเวณนี้เคยเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่โบราณ มีความเชื่อหลังความตาย โดยการฝังเครื่องประดับจำพวกอเกต คาเนเลี่ยน ตลอตจนถึงชิ้ตส่วนเครื่องประดับที่ทำมาจากเปลือกหอย และกระดูกสัตว์
แผ่นอเกต หรือที่เรียกว่าเฟิม ขุกค้นจากหมู่บ้านหนองผักแว่น สระแก้ว ภาพจาก http://www.taradpra.com
เครื่องประดับส่วนใหญ่ที่ทำการขุดค้น มักจะเป็นชิ้นส่วนเครื่องประดับที่ติดมากับชิ้นส่วนโครงกระดูกมุนษย์โบราณ ในความเชื่อชีวิตหลังความตาย ใกล้โครงกระดูกก่อนการขุดค้นอาจพบชิ้นส่วนของเครื่องปั้นดินเผาจำพวกหม้อโบราณลักษณะรูปทรงมีความร่วมสมัยกับหม้อบ้านเชียง บรรจุอาหารเพื่อเป็นเสบียงให้ผู้ตายใช้ในโลกหน้า รวมกันนั้นยังสวมใส่เครื่องประดับเต็มยศให้กับผู้ตายอีกด้วย
ยุคสมัยดังกล่าวเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงจากยารยะธรรมยุคเหล็กไปสู่อารยธรรมขอมที่มุ่งเน้นความเชื่อในด้านเทพเจ้าฮินดูจากอินเดีย เชื่อมต่อระบบความเชื่อโบราณของศิลปกรรมลูกปัดโบราณกับเมืองท่าอื่นๆ เช่น คลองท่อม สุราษฏร์ธานี (ภูเขาทอง)ระนอง (คลองท่อม)กระบี่ (เกาะคอเขา)พังงา ฯลฯ
โดยเฉพาะที่บริเวณอำภอเขาฉกรรจ์ พบลูกปัดโบราณที่มีความวิจิตรทั้งกรรมวิธีการทำที่สามารถหลอมแก้วให้มีขนาดใหญ่ เช่นเฟิม อเกตใหญ่ รวมถึงยังมีการขุดค้นกระดิ่งสัมฤทธิ์ รอยพระพุทธบาท พระพุทธรูป และเครื่องมือในความเชื่อต่างๆ มากมายหลอมรวมระหว่างอารยธรรมใหม่และเก่าได้อย่างลงตัวก่อนที่ชุมชนพื้นถินจะสถาปนาตนในระบบความเชื่อฮินดู
การเจริญของอุตสาหกรรมการผลิตลูกปัด ได้รับการส่งต่อถ่ายทอดกรรมวิธีการหลอม หรือเรียกว่าเลียนแบบทำกันตามๆ กันมาจากทั้งจีน อินเดีย กรีก โรมัน พบว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้ไม่ใช่ของชาวบ้าน แต่เป็นเครื่องหมายของการค้าขายทางเรือ การข้ามน้ำข้ามทะเลของแหล่งวัฒนธรรมอารยธรรมโบราณ
1700 Carte des Costes L'Asie (Mortier) - จากhttp://www.mapcarte.com/world-maps.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น