ดนตรีไทยในอาเซียน
เป็นที่ทราบกันดีว่า
“อาเซียน” นั้นประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 10 ประเทศได้แก่ 1. กัมพูชา 2. ไทย 3. บรูไนดารุสซาลาม 4. พม่า 5. ฟิลิปปินส์
6. มาเลเซีย 7. ลาว 8. สิงคโปร์ 9. เวียดนาม และ 10. อินโดนีเซีย
หากจัดแบ่งกลุ่มวัฒนธรรมดนตรีตามภูมิภาคแล้วมารถแบ่งออกได้ กลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม 1.
กัมพูชา 2. ไทย 3.ลาว 4 พม่า 5. เวียดนาม
กลุ่มที่ 2 ได้แก่ 6. บรูไนดารุสซาลาม 7.มาเลเซีย 8. อินโดนีเซีย กลุ่มที่ 3
ได้แก่ 9. ฟิลิปปินส์ 10 สิงคโปร์
ดนตรีไทยในสังคมอาเซียนสู่การเปิดประเทศเข้าสู่การเชื่อมต่อระหว่างวัฒนธรรมทั้งนี้นโยบายหลักของประชาคมนั้นยัง
ไม่ชัดเจนเรื่องจุดยืนระหว่างวัฒนธรรม
เท่าที่ทราบปรากฏว่าเป็นเรื่องของเศรษฐกิจเป็นหลัก
แต่วัฒนธรรมแล้วดูคล้ายการประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศในกีฬาเอเซียนเกมส์มากกว่าการเรียนรู้ซึ่งวัฒนธรรมแบบวิชาการที่มีเนื้อหาทางประวัติศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องโยงใย
ซึ่งยังคงอ่อนต่อข้อขัดแย้งต่างๆ ทางวัฒนธรรมเดิม ฉะนั้นเราอาจพูดได้ว่าประวัติศาสตร์ของชาติอาเซียนนั้นอ่อนโยนต่อกรณีพิพาทนานับประการ
ดังเช่นกรณีของเขาพระวิหาร
และวัฒนธรรมที่ยังยั้งเส้นโดยเส้นรอยต่อของแผนที่ทางการทหาร หรือความเป็นเอกราช
รวมทั้งอธิปไตยในการรักชาติ สิ่งเหล่านี้ยังเป็นตัวแบ่งแยกความเป็นบ้านพี่เมืองน้องที่ควรจะรักกัน
แต่หันมาหักล้างกันเอง
ดนตรีไทยและความขัดแย้งเหลื่อมล้ำกับประเทศเพื่อนบ้าน
ดังเช่นกรณีของหนังไทย ซึ่งยังเป็นข้อโต้แย้งทางวัฒนธรรมระหว่างไทย กัมพูชา
ยังเป็นอีกแขนงหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างขอเขตอำนาจของอธิปไตยทางวัฒนธรรม
และความมั่นทางชาติพันธุ์ ทั้งนี้ยังไม่นับรวมข้อพิพาททางวัฒนธรรมกรณีพระแก้วมรกต
และเพลงชาติของลาว
ปัญหาทางวัฒนธรรมเลื่อมล้ำนั้นเห็นได้ชัดเจนเป็นอย่างยิ่งในวัฒนธรรมดนตรี
ซึ่งถ้าเปรียบเทียบเคียงแล้วยังมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมากเช่น เครื่องดนตรี
ระนาด ฆ้องวง ซออู้ ซอด้วง และอาจพูดได้ว่าวงปี่พาทย์ และเครื่องสายมโหรี
เป็นวงดนตรีของอาเซียนแหล่งวัฒนธรรม ไทย กัมพูชา ลาว
ทั้งนี้หากต้องการเข้าไปเป็นสมาคมอาเซียนแล้วคงต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้อีกยาว
ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงแหล่งกำเนิดของคนไทยที่มาจากเทือกเขาอัลไต
พื้นที่ทางด้านวัฒนธรรมยังถูกตีกรอบเข้าไปด้วยกันการเมืองเชิงประวัติศาสตร์
สงครามระหว่างชนชาติ และอาณาจักรเดิม
ถึงแม้โลกจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัฒนธรรมโลกสมัยใหม่แล้วก็ตาม
รากของความขัดแย้งนั้นยังคงดำรงอยู่ในสมาคมอาเซียนไม่เสื่อมคลาย ดังเช่นกรณีการขโมยวัฒนธรรมระหว่างประเทศอินโดนีเซีย
และมาเลเซีย ที่ยังคงขัดแย้งชิงดีชิงเด่นเรื่องวัฒนธรรมประจำชาติ
สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนมายาคติของการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมขึ้นไม่รู้จบ
และความขัดแย้งทางด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรม รวมไปถึงวัฒนธรรมดนตรีนั้น คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเริ่มต้นมาจากการสังคายนาวัฒนธรรมประจำชาติ
และเอกลักษณ์ประจำชาติขึ้น
วัฒนธรรมประจำชาติ
ดนตรีประจำชาติ จุดเริ่มต้นแห่งความขัดแย้ง หากจะกล่าวถึงวัฒนธรรมประจำชาติ
ก็คงต้องนับรวมเอาวัฒนธรรมดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้กรอบความคิดเรื่องเอกลักษณ์วัฒนธรรมประจำชาตินั้นยังคงตั้งอยู่บนความเป็นเอกลักษณ์
และเอกราช กล่าวคือไม่มีความซ้ำหรือเหมือนกันระหว่างวัฒนธรรมบ้านใกล้เรือนเคียง
หากไม่แล้วถือว่าความเป็นวัฒนธรรมนั้น
หรือวัฒนธรรมดนตรีนั้นไม่ยังคงเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ
หรือไม่สามารถเป็นเอกราชทางวัฒนธรรมได้
สิ่งเหล่านี้ยังคงต้องได้รับการสนับสนุนให้ประชาคาอาเชี่ยนมีความเข้าใจ รัก
และหวงแหนวัฒนธรรมของตนอย่างมีเหตุผล บนความร่วมมืออย่างแท้จริง
ไม่เพียงแค่ว่าเป็นอริ ศตรู กันทางความคิดเหมือนสมัยก่อน
บางครั้งความคล้ายกันระหว่างวัฒนธรรมดนตรี
ก็ถูกปิดกั้นซึ่งอำนาจรัฐ ชาตินิยมสุดโต่ง
ดังนั้นปัญหานี้ไม่ได้เกิดเฉพาะนอกประเทศเท่านั้น ในประเทศกก็ประสบปัญหาวัฒนธรรมประจำชาติด้วยเช่นกัน
ดังเช่นวัฒนธรรมใหญ่ และวัฒนธรรมภูมิภาค สิ่งเหล่านี้พยายามหาซึ่งพื้นที่ทางสังคม
การแสดงออกซึ่งอำนาจอธิปไตย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีวัฒนธรรมดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
และด้วยประการทั้งปวงสิ่งเหล่านี้มีส่วนผลักดันให้เกิดวัฒนธรรมชายขอบขึ้นมา
ตลอดจนถึงการดูถูกเหยียดหยาม แบ่งชนชั้นทางด้านวัฒนธรรมขึ้นมา
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นอีกแนวความคิดหนึ่งในการศึกษาวัฒนธรรมดนตรีไทยไปอาเซียนที่ทุกภาค
ทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญ ด้วยเพราะยังเป็นระเบิดเวลา
และทุกประเทศไม่สามารถปฏิเสธได้นอกจากร่วมกันศึกษาทำความเข้าใจกันให้มากกว่านี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น