อยู่นี่แล้ว


วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ครู "เพศที่สาม" ต้นแบบของสังคมที่เคารพความแตกต่างหลากหลาย - ไพศาล ลิขิตปรีชากุล

ครู “เพศที่สาม” ต้นแบบของสังคม
ที่เคารพความแตกต่างหลากหลาย

โดย 
ไพศาล ลิขิตปรีชากุล 

โครงการจัดตั้งมูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ

ทำไมถึงมี “เพศที่สาม” 


ภาพจาก http://www.straight.com

คนส่วนใหญ่จำนวนมากมี “อัตลักษณ์ทางเพศ”(ความรู้สึกส่วนลึกภายในว่าตนเองเป็นเพศหญิงชายหรืออื่นใด)ที่ตรงกับลักษณะเพศตามร่างกายของตน แต่ในสังคมและวัฒนธรรมมากมายในทุกยุคสมัย ยังมีประชากรส่วนน้อยส่วนหนึ่งที่มีความรู้สึกส่วนลึกภายในไม่ตรงกับเพศตามร่างกายของตน ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะความหลากหลายตามธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ ที่มีความแตกต่างกันในทุกๆ เรื่อง รวมถึงรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ ความแข็งแรง บุคลิกนิสัย สติปัญญา ฯลฯ  หากจะถามว่า ทำไมคนส่วนน้อยนี้จึงมีความรู้สึกส่วนลึกไม่ตรงกับเพศตามร่างกาย ก็อาจจะต้องนึกย้อนถามว่า ทำไมเราจึงมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นหญิงหรือเป็นชาย ความรู้สึกนี้มาจากที่ใด เช่น หากลองสมมติว่าเราเป็นอัมพาตตั้งแต่คอลงไป ทั้งตัว เราจะยังมีความรู้สึกเหลืออยู่หรือไม่ว่าตนเองเป็นเพศใด

ความรู้สึกว่าตนเองเป็นเพศใดนี้เป็นพัฒนาการด้านจิตใจที่เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากเพศตามร่างกาย จึงย่อมไม่เป็นเรื่องแปลกที่คนจำนวนหนึ่งจะมีความรู้สึกส่วนลึกไม่ตรงกับร่างกาย เป็นความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติเฉพาะตน ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่า ความรู้สึกนี้ก่อตัวขึ้นชัดเจนอยู่ภายในจิตใจของเด็กแล้วตั้งแต่อายุยังน้อย โดยมีปัจจัยทางชีววิทยา เช่นพันธุกรรม ระดับฮอร์โมนที่ได้รับตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา รวมไปถึงสิ่งกระตุ้นภายนอกในช่วงเป็นทารกหลังคลอดไม่นานนัก  มนุษย์เราให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับตัวตนและการปรับปรุงตนเองทั้งภายนอกและภายในเพื่อให้มีความสุข การปรับเปลี่ยนเช่นนี้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ความสำคัญที่มนุษย์ให้ต่อลักษณะภายนอกจะเห็นได้จากการออกกำลังกาย ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก เครื่องสำอาง หรือศัลยกรรมต่างๆ อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าเสียดายว่า สังคมยังไม่ให้การยอมรับอย่างเต็มที่ต่อการปรับเปลี่ยนร่างกายของผู้ที่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ตรงกับความรู้สึกความเป็นตัวตนภายใน

ครู “เพศที่สาม” มีความเหมาะสมที่จะเป็นครูได้หรือไม่ 

คุณค่าของความเป็นครูน่าจะอยู่ที่ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ และเป็นแบบอย่างความประพฤติให้กับนักเรียน ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นครูผู้หญิง ผู้ชาย หรือเพศใด

ในต่างประเทศก็มีการถกเถียงกันว่า ครูที่แปลงเพศสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนได้หรือไม่ แม้จะเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในตอนแรก แต่ในที่สุดครูเหล่านี้ก็ได้รับการตัดสินว่ามีความเหมาะสมที่จะเป็นครูต่อไป ตัวอย่างเช่นในกรณีของคุณครูแม็คเบ็ธที่เปลี่ยนจากชายเป็นหญิง และนักเรียนคนหนึ่งให้ความเห็นว่า “หนูไม่เห็นว่าเรื่องนี้จะเป็นปัญหาอะไรจริงๆ เพราะเค้าเป็นครูที่มีความสามารถและหนูไม่เห็นว่าข้อนี้จะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไปได้”[1] หรือในกรณีคุณครูเว็บสเตอร์ที่เปลี่ยนจากหญิงเป็นชาย[2] และครูใหญ่ให้การสนับสนุนเต็มที่ ถึงขนาดเขียนจดหมายแจ้งให้นักเรียนและผู้ปกครองทราบ[3]

แม้ว่าจะมีผู้ปกครองส่วนน้อยต่อต้าน แต่ผู้ปกครองส่วนใหญ่เห็นว่า อัตลักษณ์ทางเพศของคุณครูทั้งสองนี้มีผลในทางบวกต่อชีวิตลูกๆ ของตน โดยเป็นต้นแบบเพื่อสร้างความเข้าใจและการยอมรับต่อความหลากหลาย ผู้ปกครองคนหนึ่งกล่าวว่า “แทนที่จะเอาลูกไปเรียนห้องเรียนอื่น นี่เป็นโอกาสดีที่สุดให้พ่อแม่ได้สอนลูกเกี่ยวกับความแตกต่างหลากหลาย โลกนี้เต็มไปด้วยผู้คนและความเชื่อที่เราทุกคนคงไม่เห็นด้วยไปเสียทั้งหมด เราไม่อาจสอนลูกว่าถ้าไม่ชอบก็ไปที่อื่น แต่เราต้องสอนลูกว่าไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับความเชื่อคนอื่นแต่ต้องเคารพความเชื่อของเค้า นี่คือสิ่งที่ทำให้ประเทศนี้เป็นประเทศที่ดี” [4]

ครู “เพศที่สาม” จะทำให้เด็กเลียนแบบอยากเปลี่ยนเพศหรือไม่ 

ดังที่กล่าวไปแล้วว่า อัตลักษณ์ทางเพศนั้นก่อตัวขึ้นอยู่ภายในจิตใจของเด็กตั้งแต่ยังแบเบาะและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามอำเภอใจจากการลอกเลียนแบบหรืออิทธิพลภายนอก มีกรณีศึกษาที่เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องนี้[5] เด็กทารกเพศชายคนหนึ่งอวัยวะเพศเสียหายจากอุบัติเหตุทางการแพทย์เมื่ออายุแค่ 8 เดือน พ่อแม่จึงไปหาแพทย์มีชื่อเสียงคนหนึ่งที่เชื่อว่าอัตลักษณ์ทางเพศเปลี่ยนแปลงได้จากการเลี้ยงดู และให้แพทย์ทำการผ่าตัดให้กลายเป็นอวัยวะเพศหญิง จากนั้นก็ให้ฮอร์โมนและเลี้ยงดูเป็นผู้หญิงมาตลอดในชื่อเบรนด้า แต่เมื่อเด็กนั้นเติบโตขึ้นกลับไม่เคยรู้สึกว่าเป็นผู้หญิง และกลับมาใช้ชีวิตเป็นชายในชื่อเดวิด ตั้งแต่อายุ 14 ปี จนตลอดชีวิต

เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า แม้แต่การเลี้ยงดูปลูกฝังอย่างตั้งใจรวมถึงการให้ฮอร์โมนก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความรู้สึกส่วนลึกข้างในที่มีอยู่เดิมได้ ดังนั้นความรู้สึกว่าตนเองเป็นเพศใดนี้จึงไม่ใช่เรื่องที่เกิดจากการเลียนแบบได้ ลองคิดดูว่า หากอัตลักษณ์ทางเพศเกิดจากการลอกเลียนแบบในโรงเรียนได้จริง ก็ไม่น่าที่จะมีเด็กที่เติบโตขึ้นเป็น “เพศที่สาม” เพราะที่ผ่านมาไม่มีต้นแบบให้ลอกเลียน ธรรมชาติของเด็กสามารถเลียนแบบได้แต่พฤติกรรมการแสดงออกภายนอกเท่านั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปถึงอัตลักษณ์ทางเพศที่มีอยู่แล้วในเบื้องลึกของจิตใจ

ครู “เพศที่สาม” จะทำให้เด็กสับสนหรือไม่ 

ทุกครั้งที่ครูสอนเรื่องใหม่ต่อเด็กย่อมทำให้เด็กสับสนในตอนเริ่มต้น ความสับสนเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์การเรียนรู้และส่วนหนึ่งของชีวิต จึงไม่ใช่สิ่งไม่ดี ในทางตรงกันข้าม ความไม่เข้าใจในเรื่องอัตลักษ์ทางเพศของครูเป็นโอกาสในการสอนเด็กเกี่ยวกับเรื่องการยอมรับ ความเมตตากรุณา ความเคารพในความแตกต่างของมนุษย์ แท้จริงแล้ว เด็กๆ ยอมรับและรับมือกับประสบการณ์ใหม่ๆ ได้ง่ายกว่าและมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กยังมีอคติน้อยกว่า นอกจากนี้ ครู “เพศที่สาม” ยังสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนที่มีความรู้สึกภายในไม่ตรงกับเพศกำเนิดให้สามารถแสดงออกอัตลักษณ์ทางเพศของตนได้อย่างเหมาะสม

ทำไมสังคมไทยจึงควรยอมรับครู “เพศที่สาม” 

วงการศึกษาน่าจะสามารถเป็นต้นแบบที่ดีให้กับสังคมวงกว้างได้ในเรื่องของการให้ความเคารพต่อความแตกต่างหลากหลายที่มีอยู่ในสังคม

ระบบการศึกษาของสยามประเทศในอดีตนั้นมีแต่ในวัดและในวังและถูกผูกขาดโดยผู้ชาย การศึกษาของเจ้านายฝ่ายหญิงก็เป็นไปแต่เฉพาะเรื่องของความเป็นกุลสตรี จนถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 “การเกิดอาชีพครูผู้หญิงนั้นเป็นผลพวงจากการขยายตัวทางการศึกษาฝ่ายสตรี ที่เป็นกระบวนการเชื่อมโยงมาจากการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก”[6] แต่ถึงกระนั้นก็ยังประสบอุปสรรคปัญหาความไม่เท่าเทียมในเรื่องเงินเดือน บำเหน็จบำนาญ วิทยะฐานะและบรรดาศักดิ์ จนมีคำตัดพ้อเรียกร้องความเสมอภาคในนิตยสาร “สุภาพสตรี” ว่า “สตรีเราคงไม่อาภัพเหมือนแต่ก่อน ซึ่งมีผู้เข้าใจกันว่าผู้หญิงเป็นควาย ผู้ชายเป็นคน มาสมัยนี้เราได้รับความเสมอภาคต่อการศึกษาแล้ว ความคิดความอ่านก็เท่าเทียมกับเพศตรงข้ามเท่าๆ กัน” จนเมื่อมีการออกพรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2479 จึงได้รับความเสมอภาคตามกฎหมาย

การยอมรับให้ครู “เพศที่สาม” มีส่วนร่วมในวิชาชีพครู ก็ไม่ต่างกับการเรียกร้องให้ครูผู้หญิงได้รับการเคารพเสมอภาคกับครูผู้ชายในอดีต และสอดคล้องกับแนวทางความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ดำเนินสืบเนื่องมาเกือบร้อยปี เพื่อนำไปสู่การให้ความเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาค และสิทธิมนุษยชนของคนทุกกลุ่ม เป็นสังคมตัวอย่างและต้นแบบให้นักเรียน ผู้ปกครอง และสังคมวงกว้างได้เรียนรู้ในเรื่องนี้อีกด้วย อนึ่งในช่วงปีพ.ศ. 2539-40 ก็มีกรณีที่สถาบันราชภัฏประกาศไม่รับผู้มีความ “เบี่ยงเบนทางเพศ” เข้าศึกษา แต่ต้องเลิกล้มกฎนี้ไปเมื่อเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสังคมวงกว้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยแม้แต่เมื่อสิบห้าปีที่แล้วก็ไม่ยอมรับต่อการเลือกปฏิบัติเช่นนี้

“เพศที่สาม” ผิดศีลธรรมหรือไม่ 

ในพระไตรปิฎกมีเรื่องราวที่น่าสนใจของพระโสไรยยะเถระ ที่เคยสลับเพศจากชายกลายเป็นหญิงแล้วกลับมาเป็นชายอีกครั้ง แต่ก็สามารถบรรลุอรหันต์ได้ในที่สุด[7]จึงเห็นได้ว่าในพุทธศาสนาไม่ได้มีอคติต่อเรื่องนี้แต่อย่างใด นอกจากนี้มีผู้ถามว่า การเกิดมาเป็นผู้หญิงแล้วชอบผู้หญิงด้วยกัน เป็นลักษณะทอมดี้ หรือผู้ชายชอบผู้ชายด้วยกัน เป็นเกย์ตุ๊ด ผิดหลักศีลธรรมที่บัญญัติไว้ในพระพุทธศาสนาหรือไม่ ถ้าผิดจะเป็นบาปมากไหม พ่อแม่และผู้ปกครองควรวางตัวและวางใจอย่างไร

พระไพศาล วิสาโล ตอบไว้ในเรื่องนี้ว่า “ไม่มีบัญญัติที่ไหนในพุทธศาสนาว่าการชอบคนเพศเดียวกันนั้นเป็นบาป สิ่งที่เป็นบาปหรือผิดศีลก็คือ การละเมิดศีลข้อ 3 ซึ่งหมายถึงการล่วงละเมิดคนที่มีเจ้าของแล้ว... สำหรับผู้ที่เป็นพ่อแม่หรือผู้ปกครอง เป็นธรรมดาที่ย่อมไม่สบายใจเมื่อพบว่าลูกของตัวชอบคนเพศเดียวกัน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเกรงว่าคนอื่นจะไม่เข้าใจหรือไม่ยอมรับ หาไม่ก็เกรงว่าลูกของตนจะมีชีวิตคู่ที่ไม่ราบรื่น แต่ก็ไม่ควรมองว่าลูกของตนทำบาปหรือมีความวิปริตผิดเพี้ยน หรือปฏิเสธลูกของตัว ทางที่ถูกคือยอมรับสิ่งที่เขาเป็น และช่วยเหลือให้เขาไม่เป็นทุกข์ในสิ่งที่เขาเป็นตราบใดที่ไม่ได้ทำสิ่งที่ ผิดศีลผิดธรรมหรือเบียดเบียนผู้อื่น ขณะเดียวกันก็ช่วยให้เขาสามารถพัฒนาตนให้มีความเจริญงอกงามเท่าที่จะทำได้”[8] 

“เพศที่สาม” เป็นโรคจิตหรือไม่ 

ประเด็นนี้มีกรณีศึกษาจากการที่สาวประเภทสองคนหนึ่งเข้ารับการเกณฑ์ทหารและถูกระบุในใบผ่านการคัดเลือกว่าเป็น “โรคจิตถาวร” จึงฟ้องร้องกระทรวงกลาโหมต่อศาลปกครอง โดยศาลมีคำตัดสินว่า การระบุดังกล่าวนั้น “เป็นการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเมิดศักดิศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ฟ้อง” โดย “ผู้ฟ้องคดีเป็นเพียงผู้มีภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด หาได้เป็นโรคจิตแต่อย่างใด...คำว่า “โรคจิต” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง “ผู้ที่มีความผิดปกติของความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมอย่างรุนแรงถึงขนาดควบคุมสติไม่อยู่ เช่น มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน วิกลจริตก็เรียก (อ. Psychosis)” สอดคล้องกับในทางการแพทย์ซึ่งได้ให้ความหมายของอาการ “โรคจิต” ในทำนองเดียวกันว่า หมายถึง คนบ้า หรือวิกลจริต โดยจะมีความผิดปกติด้านความคิด อารมณ์ การแสดงออก และการรับรู้ เช่นหลงผิดคิดว่ามีคนมาทำร้าย หัวเราะร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล อาละวาดทำร้ายคน พูดคนเดียว หูแว่ว หรือเห็นภาพหลอนเป็นต้น”

สภาวะทางจิตใจใดๆ จะถือว่าเป็นความผิดปกติทางจิตก็ต่อเมื่อทำให้เกิดความทุกข์ทรมานทางร่างกายหรือจิตใจ คนที่เป็นกะเทยแต่ไม่ได้รู้สึกทุกข์ทรมานในทางการแพทย์ไม่ถือว่าเป็นความผิดปกติทางจิต ความทุกข์ของกะเทยส่วนใหญ่นั้นแท้จริงแล้วเกิดจากการไม่ได้รับการยอมรับ การถูกเลือกปฏิบัติหรือตีตราจากครอบครัว หรือสังคม และจากอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถแสดงออกอัตลักษณ์ตามเพศที่ตนรู้สึกภายในได้

กฎหมายไทยมีกำหนดไว้ว่าอย่างไรเกี่ยวกับสิทธิความหลากหลายทางเพศ 

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 30 ห้ามการเลือกปฏิบัติด้วยสาเหตุแห่งเพศ โดยคำว่า “เพศ” นั้นในเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญได้ให้คำอธิบายไว้ว่า “ความแตกต่างเรื่อง “เพศ” นอกจากหมายถึงความแตกต่างระหว่างชายหรือหญิงแล้ว ยังหมายรวมถึงความแตกต่างของบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศ (Sexual Identity) หรือเพศสภาพ (Gender) หรือความหลากหลายทางเพศ (Sexual Diversity) แตกต่างจากเพศที่ผู้นั้นถือกำเนิดอยู่ด้วย จึงไม่ได้บัญญัติคำดังกล่าวข้างต้นไว้ในมาตรา 30 เนื่องจากคำว่า “เพศ” ได้หมายความรวมถึงคำดังกล่าวอยู่แล้ว และจะต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ” ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากลต่างๆ ที่ห้ามเลือกปฏิบัติด้วยเหตุอัตลักษณ์ทางเพศ

มาตรานี้ยังถูกใช้อ้างอิงโดยศาลปกครองเชียงใหม่ในการยกเลิกคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ที่ห้ามกะเทยนั่งขบวนรถบุปผาชาติในงานไม้ดอกไม้ประดับ 2553 หลักการยอกยาการ์ต้า ซึ่งเป็นการประมวลการใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในประเด็นที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศได้กล่าวถึงสิทธิในด้านการศึกษาไว้ดังนี้  ทุกคนมีสิทธิด้านการศึกษาโดยได้รับการคำนึงถึงแต่ไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยสาเหตุวิถีทางเพศ หรืออัตลักษณ์ทางเพศ

รัฐจัก :

1)ใช้มาตรการทางนิติบัญญัติ ทางปกครองและอื่นๆ ทั้งหมดที่จำเป็น เพื่อรับประกันความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษา และการปฏิบัติอย่างเสมอภาคต่อนักเรียน นิสิตนักศึกษา คณาจารย์และเจ้าหน้าที่อื่นๆ ในระบบการศึกษา โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติจากสาเหตุวิถีทางเพศหรืออัตลักษณ์ทางเพศ

2)ให้การศึกษามีเป้าหมายในการพัฒนาบุคลิกภาพ ความสามารถพิเศษ สมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจของนักเรียนนิสิตนักศึกษาทุกคนอย่างเต็มศักยภาพ และตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียนนิสิตนักศึกษาทุกคนไม่ว่าจะมีวิถีทางเพศหรืออัตลักษณ์ทางเพศรูปแบบใด

3)ให้การศึกษามีทิศทางในการพัฒนาการให้ความเคารพต่อสิทธิมนุษยชน และความเคารพต่อพ่อแม่และสมาชิกในครอบครัว อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ภาษา และค่านิยมของเด็กแต่ละคน ด้วยจิตวิญญาณของความเข้าอกเข้าใจ สันติสุข ความอดทนอดกลั้น และความเสมอภาค โดยคำนึงถึงและเคารพต่อวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลาย

4)ให้วิธีการศึกษา หลักสูตรและ สื่อการเรียนการสอนต่างๆ มีบทบาทในการยกระดับความเข้าใจและความเคารพต่อวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลาย รวมถึงความจำเป็นเฉพาะของนักเรียน นิสิตนักศึกษา พ่อแม่ และสมาชิกครอบครัวที่เกี่ยวกับวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ

5)ให้มีกฎหรือนโยบายสถานศึกษาที่ให้ความคุ้มครองเพียงพอต่อนักเรียน นิสิตนักศึกษา คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ที่มีวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศแบบต่างๆ จากการถูกแบ่งแยกกีดกันทางสังคมและการใช้ความรุนแรงในสถานศึกษาทุกรูปแบบ รวมถึงการกลั่นแกล้งและรังควาน

6)รับประกันว่านักเรียนนิสิตนักศึกษาที่ถูกแบ่งแยกกีดกันทางสังคมหรือเผชิญความรุนแรง จะไม่ถูกลดบทบาทหรือกันออกไปเพื่อการคุ้มครอง และให้นักเรียนนิสิตนักศึกษาผู้นั้นมีส่วนร่วมในการหาทางออกที่ดีที่สุดซึ่งได้รับความเคารพจากทุกฝ่าย

7)ใช้มาตรการทางนิติบัญญัติ ทางปกครองและอื่นๆ ทั้งหมดที่จำเป็น เพื่อให้การใช้กฎระเบียบต่างๆ ในสถานศึกษาสอดคล้องกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติหรือลงโทษด้วยสาเหตุวิถีทางเพศ หรืออัตลักษณ์ทางเพศ หรือการแสดงออกในเรื่องดังกล่าว

8)ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสและทรัพยากรในการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติจากสาเหตุวิถีทางเพศหรืออัตลักษณ์ทางเพศ รวมถึงผู้ใหญ่ที่เคยเป็นเหยื่อของการเลือกปฏิบัติดังกล่าวในระบบการศึกษามาก่อน

จัดทำโดย โครงการจัดตั้งมูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ ติดต่อ ผู้จัดการโครงการ คุณสุพีชา เบาทิพย์ 085 324 6482 

[1] http://abcnews.go.com/GMA/story?id=1682922
[2] http://abclocal.go.com/wtvd/story?section=triangle&id=5620082
[3] http://www.wral.com/news/local/page/1757482/
[4] “Transgender Teachers as Role Models for a Tolerant Society” เป็นการศึกษาผลของทัศนคติสังคมต่อการเลือกปฏิบัติในการจ้างครูที่เป็นกลุ่มคนข้ามเพศในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความน่าสนใจหลายประการ ดาวน์โหลดได้จาก http://www.kentlaw.edu/academics/plel/Ashton%202nd%20place%20winner%202008-09%20LJWC.pdf
[5] http://www.cbc.ca/news/background/reimer/
[6] เปรมสิรี ศักดิ์สูง, “อาชีพครูผู้หญิง: ความไม่เสมอภาคทางเพศในวิชาชีพ พ.ศ. 2456-2479” http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOH/article/view/1254/1262
[7] http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=13&p=9
[8] https://www.facebook.com/photo.php?fbid=212160302144628


Govinda - เทพเจ้า เด็กเลี้ยงวัว - พระกฤษณะ


อวตารของพระวิษณุครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงยุคที่สองของโลก

เนื้อเรื่องกล่าวถึง กษัตริย์อุครเสน (Ugrasena) ผู้ครอง เมืองมถุรา พระองค์เป็นกษัตริย์ทรงคุณธรรม เป็นที่รักใคร่ของประชาชนทั่วไป ทรงมีมเหสีคือ นางปวนะเรขา (Pavanarekha) ปกครองบ้านเมืองร่วมกันอย่างมีความสุข  วันหนึ่งพระนางปวนะเรขาเสด็จประพาสป่า ถูกอสูรตนหนึ่งแปลงร่างเป็นกษัตริย์อุครเสนมาร่วมเสพสม ครั้งต่อมาอีกสิบเดือนจึงบังเกิดโอรส นามว่า “กังสะ” (Kansa) กษัตริย์อุครเสนทรงหลงคิดว่ากังสะเป็นโอรสของพระองค์ กังสะเมื่อเติบโตก็เริ่มแสดงออกถึงความชั่วร้าย เช่น ไม่เคารพบิดา สังหารเด็กอื่นๆ ตลอดจนใช้กำลังขู่บังคับเอาธิดาทั้งสององค์ของ กษัตริย์ชราสันธ์ (Jarasandha) แห่ง เมืองมคธ มาเป็นชายาของตน และสุดท้ายก็จับตัวกษัตริย์อุครเสนไปคุมขังไว้ จากนั้นจึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์แทน นอกจากนี้ยังขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางและที่สำคัญ กังสะ สั่งประกาศห้ามผู้คนไม่ให้ประกอบพิธีเคารพบูชา พระวิษณุ!!

พระวิษณุมหาเทพ ทรงทอดพระเนตรเห็นความเดือดร้อนของมนุษย์และทวยเทพ จึงตัดสินพระทัยอวตารลงไปปราบอสูรโดยทรงพระดำริว่าควรไปจุติเป็นบุตรของ นางเทวากี (ธิดาองค์ที่เจ็ดของพระเจ้าเทวากา ลุงของพญากังสะ) กับ วสุเทวะ (Vasudeva)พระวิษณุทรงถอนเส้นพระเกศาดำของพระองค์ และเส้นผมขาวของพญานาคอนันตะ (เศษะนาค) ส่งไปยังครรภ์ของนางเทวากี เส้นผมขาวของเศษะนาคบังเกิดเป็นบุตรคนที่เจ็ด นามว่า “พลราม”ส่วนเส้นพระเกศาดำของพระองค์บังเกิดเป็นบุตรคนที่แปด นามว่า “กฤษณะ”ย้อนเหตุการณ์ไปครั้งเมื่อมีงานแต่งงานระหว่างนางเทวากีกับวสุเทวะนั้น มีเสียงดังมาจากเบื้องบนเตือนพญากังสะว่าพระองค์จะถูกประหารโดยบุตรของนางเทวากี พญากังสะจึงคิดสังหารนางเทวากี แต่วสุเทวะสัญญาว่าจะนำลูกของตนที่เกิดกับนางเทวากีทั้งหมดมามอบให้พญากังสะเมื่อนางเทวากีคลอดบุตรหกคนแรกออกมา วสุเทวะก็รักษาสัญญาโดยนำมาให้กับพญากังสะ และถูกสังหารทั้งหมด



จนกระทั่งนางเทวากีใกล้จะให้กำเนิดบุตรคนที่เจ็ด ก็มีเสียงเตือนพญากังสะจากเบื้องบนเป็นครั้งที่สองว่า
ผู้ที่เกิดมาเป็นคนเลี้ยงโค จะเป็นผู้ประหารพระองค์ พญากังสะจึงออกคำสั่งให้สังหารคนเลี้ยงโคทุกคนที่พบฝ่ายนันทะ (Nanda) คนเลี้ยงโคซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของวสุเทวะตัดสินใจช่วยวสุเทว โดยให้วสุเทวะส่งภรรยาอีกคนหนึ่ง คือ นางโรหินี (Rohini) ไปอยู่กับนันทะ จากนั้นพระวิษณุก็ทรงใช้ฤทธิ์อำนาจสับเปลี่ยนเอาบุตรในครรภ์ของนางเทวากีไปใส่ในครรภ์ของนางโรหินีแทน และถือกำเนิด พระพลราม โดยพญากังสะคิดว่าบุตรของนางเทวากีเสียชีวิตในครรภ์มารดาไปแล้ว  ส่วนบุตรคนที่แปด หรือ พระกฤษณะ นั้น วสุเทวะได้สับเปลี่ยนโดยนำเอาบุตรีของนันทะกับนางยโสดา (Yasoda) ไปมอบให้พญากังสะเมื่อพญากังสะรับมาก็ขว้างใส่ก้อนหิน แต่ปรากฎว่าทารกนั้นกลับกลายร่างเป็นเทพธิดาเหาะขึ้นไปบนฟ้า และกล่าวกับพญากังสะว่า บัดนี้ผู้ที่จะสังหารพญากังสะได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว  กฤษณะเติบโตท่ามกลางหมู่คนเลี้ยงโค  แค่เพียงในช่วงขวบปีแรกก็มีอสูรถึง 3 ตนพยายามทำร้ายพระองค์

ครั้งแรกเป็น อสูรปุตนะ (Putana) แปลงร่างเป็นหญิงสาวมาให้นมพระกฤษณะ โดยใส่ยาพิษไว้ในนม แต่พระกฤษณะรู้ทัน จึงดูดนมจน อสูนปุตนะ สิ้นชีพ  ครั้งที่สองเป็น อสูรศักตาสูร (Saktasura) มีฤทธิ์สามารถบินได้  วางแผนจะใช้กำลังลากรถบรรทุกภาชนะเหยือกน้ำให้ไปทับร่างพระกฤษณะที่นอนหลับอยู่แต่ไม่สำเร็จ  ส่วนครั้งที่สามเป็น อสูรตรีนะวัตร (Trinavasta) แสดงฤทธิ์เป็นลมหมุน หมายจะพัดร่างของพระกฤษณะให้ตกลงมาจากตักของนางยโสดา แต่ไม่บังเกิดผล กลับถูกพระกฤษณะจับเหวี่ยงทุ่มใส่ก้อนหิน ทำให้พายุสงบลง  ชีวิตในวัยเด็กของพระกฤษณะต้องต่อสู้กับอสูรที่พญากังสะส่งมาหลายครั้ง เนื่องจากพญากังสะต้องการกำจัดเด็กที่มีพลังอำนาจสามารถสังหารตนได้ อสูรที่มาทำร้ายก็มี อสูรวัตสาสูร (Vatsasura) ปรากฎในร่างโค  อสูรบากาสูร (Bagasura) ปรากฎในร่างนกกระเรียนพยายามกลืนร่างพระกฤษณะ แต่ในที่สุดพระกฤษณะก็ปราบได้  อุกราสูร (Ugrasura) ปรากฎในร่างงู เข้ามากลืนร่างพระกฤษณะลงไปในท้อง แต่ในที่สุดพระกฤษณะก็ฉีกร่างอสูรออกมาได้

นอกจากนี้ พระกฤษณะก็ได้สังหาร อสูรเธนุกา (Dhenuka) และสั่งสอน นาคกาลิยะ (Kaliya) ให้สำนึกผิดด้วยส่วนพระพลรามผู้พี่ก็ได้ปราบอสูรต่างๆเช่น อสูรประลัมพ์ (Pra-lamba) ซึ่งเป็นอสูรที่ปรากฎในร่างคน เป็นต้น ชีวิตในวัยหนุ่มของพระกฤษณะผ่านประสบการณ์มากมาย โดยเฉพาะการโน้มน้าวให้คนเลี้ยงโคเลิกเซ่นบวงสรวง พระอินทร์โดยให้ไปบูชาภูเขาโควรรธนะแทน ทำให้พระอินทร์พิโรธ บันดาลให้เกิดพายุ ฝนตกหนักตลอดทั้งเจ็ดวันเพื่อเป็นการลงโทษ แต่พระกฤษณะใช้นิ้วเพียงนิ้วเดียวยกภูเขาโควรรธนะขึ้นกำบังฝูงคนเลี้ยงโคเอาไว้ กระทั่งท้ายที่สุด พระอินทร์ได้ทรง ช้างไอราวตะ พร้อมกับ แม่วัวสุรภี ลงมาเคารพพระกฤษณะ

(Jaya Radha Madhava ภาพจาก http://govindas.com.au )

ในเรื่องความรัก เมื่อพระกฤษณะเติบโตเป็นหนุ่ม ก็เป็นที่หมายปองของเหล่า นางโคปี (ภรรยาคนเลี้ยงโค) ทั้งหลาย วันหนึ่ง ขณะที่เหล่าโคปีกำลังอาบน้ำที่ แม่น้ำยมุนา และต่างขอพรให้ตนได้สมปรารถนาในรัก พระกฤษณะได้มาขโมยเสื้อผ้าของพวกนางและหนีไปซ่อนอยู่บนต้นไม้ จากนั้นพระกฤษณะก็เรียกนางโคปีที่เปลือยกายให้ขึ้นจากน้ำ เพื่อมารับเสื้อผ้าคืน เมื่อได้หยอกล้อเหล่าโคปีแล้ว พระกฤษณะก็สัญญาว่า พระองค์จะไปเต้นรำร่วมกับเหล่านางโคปีในฤดูใบไม้ร่วงครั้งหน้า  ครั้นถึงฤดูใบไม้ร่วงในคืนที่แสงจันทร์สว่างไสว พระกฤษณะได้เป่าขลุ่ยเรียกเหล่านางโคปีเหล่านั้นให้แอบหนีสามีที่กำลังหลับเข้ามาในป่า จากนั้นก็ได้เต้นรำกัน นางโคปีทุกคนต่างรู้สึกเคลิบเคลิ้มเหมือนว่าตนได้เต้นรำกับพระกฤษณะในลักษณาการของคู่รัก การเต้นรำนี้ยาวนานถึงหกเดือน จากนั้นทั้งหมดก็ได้ไปอาบน้ำที่แม่น้ำยมุนาร่วมกัน เมื่อนางโคปีกลับบ้านก็จำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น

ในบรรดานางโคปีทั้งหมด มีหญิงคนหนึ่งที่ถือเป็นคู่รักคนสำคัญของพระกฤษณะ นางมีนามว่า “ราธา” (พระแม่ราธาเทวี คู่รักพระกฤษณะ) มีบทบรรยายถึงความรักระหว่างคนทั้งสองอยู่มากมายฝ่ายพญากังสะยังไม่สิ้นความพยายามที่จะสังหารพระกฤษณะ ได้ส่ง อสูรสังกาสูร (Sankhasura) เข้ามาทำร้ายนางโคปีที่มาอยู่กับพระกฤษณะและพระพลราม พระกฤษณะได้เข้าต่อสู้และตัดหัวของสังกาสูรได้สำเร็จ ในคืนต่อมาก็มีอสูรวัวเข้ามาทำร้ายอีก ซึ่งก็ถูกพระกฤษณะจับหักคอจนสิ้นชีพ  โหราจารยฺ์ของพญากังสะทำนายว่า พระกฤษณธจะมาสังหารพญากังสะ พญากังสะจึงจับตัวนางเทวากีและวสุเทวะจองจำไว้ พร้อมกับวางแผนสังหารพระกฤษณะอีก โดยเชิญให้เข้ามาในเมืองมถุรา และได้ส่งอสูรรูปม้าชื่อ "เกศิน" (Kesin) ไปลอบทำร้ายระหว่างทาง แต่ก็ถูกพระกฤษณะเอากำปั้นยัดใส่ปากจนสิ้นชีพนอกจากนี้ ยังส่งอสูรหมาป่าที่แปลงร่างเป็นขอทานมาทำร้าย แต่พระกฤษณะก็ล่วงรู้กลอุบายและปราบได้สำเร็จ

หลังจากนั้น พญากังสะได้ให้อำมาตย์เอกนาม อกุระ (Akrura) เชื้อเชิญพระกฤษณะเข้าไปในเมืองแต่อกุระเป็นผู้ที่ภักดีต่อพระกฤษณะ จึงเล่าความจริงเกี่ยวกับแผนร้ายของพญากังสะว่า พญากังสะต้องการลวงพระกฤษณะไปสังหารในเมือง พระกฤษณะและพลรามเดินทางเข้าไปในเมือง ทำลายธนูของศิวะ สังหารคนเฝ้าประตูเมือง จากนั้นปราบช้างกุวัลยปิยะ และต่อสู้กับนักมวยปล้ำจาณูระและมุสติกะ ท้ายที่สุด พระกฤษณะได้ลากตัวพญากังสะลงมาจากบัลลังก์ และใช้กำปั้นทุบจนสิ้นชีพ จากนั้นก็ได้มอบราชสมบัติคืนให้กษัตริย์อุครเสนตามเดิม โดยพระกฤษณะอาศัยอยู่กับนางเทวากีระยะหนึ่ง  พระกฤษณะได้ปราบอสูรอีกหลายครั้ง ในที่สุด พระองค์ก็ได้ออกไปหาทำเลสร้างเมืองใหม่ โดยให้พระวิศวกรรมเนรมิตเมืองให้เสร็จภายในคืนเดียว จากนั้นย้ายตระกูลยาฑพออกไปยังเมืองใหม่ นามว่า "ทวารกา" เมื่อย้ายมาอยู่เมืองทวารกาแล้ว พระกฤษณะก็ออกเสาะแสวงหาชายาให้กับพระองค์เองและพระพลราม พระพลรามได้แต่งงานกับ นางเรวาตี (Revati) ส่วนพระกฤษณะเข้าพิธีแต่งงานกับ นางรุกมินี (Rukmini) แต่ก่อนหน้านั้น ก็ต้องต่อสู้กับ "รุกมา"และ "สีสุปาละ" พี่ชายของนางรุกมินี ซึ่งเป็นญาติของพระกฤษณะ และหมายปองนางรุกมินีเช่นกัน

หลังการแต่งงาน พระกฤษณะก็ยังต่อสู้กับอสูรอื่นๆ อีกมากมาย และได้ชายามาอีก 7 องค์ เช่น นางชามภวาตี (Jambavati) บุตรีของชามภูวาล ผู้เป็นกษัตริย์แห่งหมี นางสัตยภามา (Satyabhama) ธิดาของสัตราชิต
นางกัลลินดิ (Kalindi) ธิดาของพระอาทิตย์ และชายาอีก 4 องค์จากการปราบปรามอสูรตนอื่นๆภารกิจสำคัญอีกครั้งหนึ่งคือการปราบ นาระกะ (Naraka) ซึ่งเป็นกษัตริย์ของ ปักโยทิชา (Pragiyotisha)  นาระกะได้รับพรจากมหาเทพทั้งสามให้เป็นผู้ที่ไม่มีใครเสมอเทียมได้ สร้างเดือดร้อนแก่เหล่าเทวดา ถึงขั้นไปยึดเอาตุ้มหูของนางอทิติ(ผู้เป็นมารดาของเหล่าเทพ) จากนั้นก็ไปยึดเอามงกุฏของพระอินทร์มาสวมใส่และยึดนางอัปสร ๑๖,๐๐๐ องค์ไปจากสวรรค์


Govinda - เด็กเลี้ยงวัว ภาพจาก wikipedia.org

ท้ายที่สุดยังแปลงร่างเป็นช้างไปข่มขืนธิดาของ พระวิศวกรรม ด้วย พระกฤษณะได้บุกไปยังเมืองของนาระกะ ปราบอสูรตนนี้ จากนั้นจึงนำสิ่งของที่ถูกยึดคืนกลับไปให้เจ้าของ ส่วนนางอัปสรทั้งหมดนั้น พระองค์นำกลับไปยังเมืองทวารกา และแต่งงานกับทุกนาง (พระกฤษณะมีชายาทั้งหมด ๑๖,๑๐๘ นาง) ความที่มีชายามากมายจึงเกิดเรื่องราวอยู่หลายครั้งเช่น ครั้งหนึ่งพระกฤษณะมอบดอกปาริชาต (ดอกไม้สวรรค์ที่เกิดจากการกวนเกษียรสมุทร พระอินทร์เป็นผู้ดูแลรักษาไว้ในเขตของสวรรค์ของพระองค์) แก่นางรุกมินี ปรากฎว่านางสัตยภามาก็ต้องการบ้าง พระกฤษณะจึงบุกขึ้นไปบนสวรรค์ของพระอินทร์เกิดสู้รบกัน ในที่สุดพระกฤษณะนำต้นปาริชาตมาไว้ยังเมืองทวารกาได้สำเร็จ แต่หลังจากนั้นหนึ่งปีก็คืนให้พระอินทร์นำไปปลูกไว้ที่เดิมในมหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ที่รู้จักกันในนาม “มหาภารตยุทธ” ซึ่งรจนาเป็นมหากาพย์ในชื่อ “มหากาพย์มหาภารตะ”  อันเป็นสงครามระหว่าง ตระกูลปาณฑพ กับ ตระกูลเการพ นั้น พระกฤษณะเป็นสารถีให้ ฝ่ายปาณฑพ และสอน ท้าวอรชุน (หนึ่งในห้าของพี่น้องตระกูลปาณฑพ) ไว้ใน “ภัควัตคีตา” วรรณคดีอันมีชื่อเสียง ท้ายที่สุดฝ่ายตระกูลปาณฑพก็มีชัยในสงครามครั้งนี้เมื่อได้เวลาอันสมควร ก็ถึงกาลที่พระกฤษณะจะกลับไปยังไวกูณฐ์สถานของพระองค์

เหตุการณ์มีอยู่ว่า ครั้งหนึ่ง หมู่กษัตริย์ยาฑพเมาสุรา ทะเลาะวิวาทปลงพระชนท์กันเอง พระกฤษณะพยายามห้ามปราม แต่ก็ไม่เป็นผล พระองค์จึงหลบหนีเข้าไปในป่า บังเอิญขณะนั้น มีพรานป่าออกล่าสัตว์ พรานผู้นั้นสำคัญผิดว่า พระกฤษณะเป็นสัตว์จึงยิงพระองค์ด้วยธนูถูกที่ "ข้อเท้า" อันเป็นจุดชีวิตของพระกฤษณะ จนสิ้นพระชนม์ ส่วนพระพลรามสิ้นพระชนม์ใกล้ชายฝั่งทะเล กลับไปเป็นเศษะนาคอันเป็นร่างเดิมและคืนกลับสู่เกษียรสมุทร  เมื่อข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระกฤษณะล่วงรู้ไปถึงในเมือง พระวสุเทวะ นางเทวากี ตลอดจนนางโรหินีก็สิ้นพระชนม์ตามไปด้วย จากนั้นไม่นานก็เกิดน้ำท่วมใหญ่จนเมืองทวารกาจมหายไปในที่สุด รูปเคารพพรกฤษณะค่อนข้างมีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ทรงมีประวัติยาวนาน จึงมีภาพสลักเรื่องราวแสดงเหตุการณ์สำคัญหลายตอน   (อ้างอิงจาก อรุณศักดิ์ กิ่งมณี / สำนักพิมพ์ Museum Press), http://www.siamganesh.com/krishna.html


วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สิทธิ เสรีภาพ และเพศอันหลากหลาย


LGBT Pride - สามเรื่องเล่า


ย่างเข้าสู่เดือนมิถุนายน เดือนแห่งการต่อต้านความรุนแรง และการแบ่งแยกทางเพศ เป็นเดือแห่งการประกาศศักดาแห่งโลกสมัยใหม่ ทุนนิยมหลังอาณานิคม ยอมรับความหลากหลายทางเพศ และการมีอยู่จริง ทั่วโลกต่างเฉลิมฉลองกับการพังทลายของกำแพงที่ขวางกั้นสิทธิเสรีภาพ ในปี พ.ศ. 1969 เมื่อแหล่งสถิตย์ของเหล่าเพศที่หลากหลายตื่นขึ้นมาต่อต้าน ลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ 

การโจมตีตำรวจกลับ และเปิดประตูบ้านต้อนรับสหัสวัตพลเมืองเกย์โลกสมัยใหม่ และสิทธิที่เท่าเทียมมากขึ้น แต่กลับมาบางส่วนของโลก ในบางที่สิ่งเหล่านี้ยังยากต่อการเปิดเผย  โดยทั้งนี้จะได้ยกตัวอย่างจากบุคคลทั้งสามในโลกที่ต่างวัฒนธรรมที่ยังต้องต่อรู้ดิ้นรนในการดำรงชีวิตไปตามครรลองประเพณีซึ่งตรงกันข้ามกับความเป็นจริง  

จากสามช่างภาพ บอกเล่าสามเรื่องราว Aly Song บอกเล่าเรื่องราวของ Xiao Cao นักแสดงและนักร้องผู้สร้างสีสรรแห่งเมืองเซี่ยงไฮ้   Adnan Abidi บอกเล่าเรื่องราวของ Seema โสเภณีข้ามเพศในกรุงนิวเดลี และ Tobin Jones บอกเล่าเรื่องราวของ Morine ช่างทำผมในกรุงไนโรบี และฉันก็จะเฉลิมฉลองในวันของเราอีกครั้ง LGBT Pride -- Lane Turner

Xiao Cao, a 57-year-old gay man, salutes as he performs as a Cultural Revolution Red Guard at a park in Shanghai on March 13, 2012. China's gay community has long been on the edges of society but it is gradually becoming more accepted. Unemployed Cao is one whose life lifts the curtain on a less romanticized view of Chinese homosexuals. Living in an eight-square-meter apartment behind a public toilet and with a monthly income of 500 yuan ($79) from social insurance, he passes his days dancing in public and spending time with friends at gay clubs. (Aly Song/Reuters)

Xiao Cao prepares for a dance performance in a park in Shanghai on February 19, 2012. (Aly Song/Reuters) #

Old photographs of Xiao Cao decorate his small home in Shanghai on April 22, 2012. (Aly Song/Reuters) # 

Xiao Cao gets dressed in an empty meeting room in Shanghai on March 13, 2012. (Aly Song/Reuters) #

Xiao Cao changes his costume between performances at Manxi Park in Shanghai on April 8, 2012. (Aly Song/Reuters) #

Xiao Cao puts on his makeup before a performance in a public park in Shanghai on April 8, 2012. (Aly Song/Reuters) #

Xiao Cao performs at Manxi Park in Shanghai on April 8, 2012. (Aly Song/Reuters) #

Xiao Cao sings at a gay dance club in Shanghai on April 6, 2012. (Aly Song/Reuters) #

Xiao Cao talks on the phone at home on April 6, 2012 in Shanghai. (Aly Song/Reuters) #

Xiao Cao performs as an ancient Chinese fairy at Fuxing Park in Shanghai on March 13, 2012. (Aly Song/Reuters) #

Xiao Cao dances with a partner at a gay dance club in Shanghai on April 6, 2012. (Aly Song/Reuters) #

Xiao Cao watches television in his small home in Shanghai on April 22, 2012. (Aly Song/Reuters) #

Seema, 33, poses inside a local non-governmental organization office which supports sexual minorities, in New Delhi on May 14, 2012. Seema is transgender, one of hundreds of thousands in conservative India who are ostracized, often abused, and forced into prostitution due to no legal recognition, even as the world marked International Day against Homophobia and Transphobia on May 17. (Adnan Abidi/Reuters) #

Seema dances inside the NGO on May 14, 2012. (Adnan Abidi/Reuters) #

Seema sits at home with his wife and children in New Delhi on May 14, 2012. (Adnan Abidi/Reuters) #

Seema plucks the beard stubble from his chin as his wife prepares lunch in their home in New Delhi on May 14, 2012. (Adnan Abidi/Reuters) #

Seema feeds his daughter while his wife eats lunch at home on May 14, 2012. (Adnan Abidi/Reuters) #

Seema holds a photograph of himself dressed as a woman at home on May 16, 2012. (Adnan Abidi/Reuters) #

Inside an NGO office with a box of condoms, Seema gets ready for work on the streets of New Delhi on May 15, 2012. (Adnan Abidi/Reuters) #

Seema pauses outside an NGO office on May 14, 2012. (Adnan Abidi/Reuters) #

Cars blur past as Seema waits for customers on a New Delhi street on May 15, 2012. (Adnan Abidi/Reuters) #

Seema waits on the street for customers in New Delhi on May 15, 2012. (Adnan Abidi/Reuters) #

While Western society may have become much more tolerant of people's sexuality in recent years, most of Africa is still largely not accepting of anyone who does not conform to the more traditional roles of sexuality. Homosexuality is still illegal in most African countries. Tolerant governments, however, have allowed some gay communities to flourish in some cities. Transgender Morine lives in Nairobi, Kenya. (Tobin Jones) #

Rare are those who identify themselves as transgender. Morine is still identified by the Kenyan government as a male, though from a very early age has always identified herself as a female. [NOTE: This image has been digitally altered by the photographer to protect the subject's privacy. Photographs in The Big Picture are not digitally altered without notification.] (Tobin Jones) #


Although unable to have children herself, Morine still feels the maternal instinct very strongly. Here her nephew watches as she applies makeup, while Morine takes care of him for the day. (Tobin Jones) #

Unlike some countries such as India, Kenya has no history of transgenders. As a result everything from how society sees them, to how they identify as a community, is all new territory. Here Morine applies hair removal cream to her face in order to remove facial hair without having to shave. (Tobin Jones) #

As the owner of a small hair salon, Morine is able to simply be one of the girls when at work. (Tobin Jones) 



Having already developed quite the reputation as a hairdresser in Nairobi, women come from all over to get their hair cut at Morine's hair salon. (Tobin Jones) #

The price of beauty can sometimes be painfull - a lesson that Morine knows all too well. (Tobin Jones) #

Morine still keeps up a close relationship with her community's residents - many who remember her as a child. (Tobin Jones) #

Despite being largely accepted by her community, there are of course still people who look down on Morine's lifestyle. (Tobin Jones) #


lthough her hair salon business has allowed Morine to move out of the poverty in which she was born, she still lives very close to the community in which she was born. (Tobin Jones) #

ภาพข่าว และข่าวจาก http://www.boston.com


วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ซอหอยไห้ กับแม่อุ๊ยช่างซอ



บ่อยครั้งที่ฉันมองลอดออกมาเห็นย่าฮำเพลงซอ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นนักดนตรีมาแต่ก่อนแรก ย่าฉันก็ยังชอบร้องลิเก เพลงซอสมัยก่อนในสมัยรุ่นสาวๆ  ยามเย็นโพล้เพล้ หลังจากวิ่งเล่นตามทุ่งนาเก็บดอกนู้นเม็ดนี่ใส่กระเป๋าเสื้อ แม่จะบ่นเสมอว่าฉันไม่ชอบรักษาเสื้อใส่ทิ้งใส่ขว้างไม่เห็นใจคนซัก แม่พูดพลางซักสองสามทีก็เอาเสื้อฉันโยนลงน้ำลวกๆ  ย่ามักจะมีโลกส่วนตัวสูงและชอบนั่งบริเวณขั้นบันใดนั่งคัดยาเบาหวานอย่างใส่ใจ พร้อมกินกล้วยกับข้าวเหนียวเพราะเห็นว่ามันเป็นยาชูกำลัง 

ย่าชอบใช้ฉันยกโถฉี่ไปทิ้งเสมอ เพราะคนที่เป็นโรคเบาหวานจะฉี่เยอะ บ้างย่าก็กรนจนฉันนอนไม่หลับ เสียงซอ เสียงร้องลิเกยังคงแว่วผ่านเข้าหูเสมอ บทซอที่ย่าร้องส่วนใหญ่ก็จำมาจากงานวัดสมัยสาวๆ  สมัยนั้นงานวัดเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่มากในสายตาหนุ่มสาว เพราะเป็นเทศกาลของการใส่เสื้อนุ่งผ้าสวย เที่ยวงานบุญ ย่าเล่าว่าสมัยสาวๆ นั้นชอบดูลิเกมาก ด้วยเรื่องราวในฝัน และเครื่องแต่งกายเมื่อต้องแสงเทียน แสงไฟนั้นมาบตาม เกินยั้งใจ ทั้งตื่นตาตื่นใจ 

ในงานวัดนั้นย่าได้เจอหนุ่มหมู่บ้านใกล้เคียง หนุ่มรูปหล่อ ขี้เล่น และอ่อนโยน ย่าเจอปู่ในงานวัด สองหนุ่มสาวซื้ออ้อยที่บรรจงเสียไม้ไผ่เป็นวงๆ รูปดอกไม้งามตา ตอนนั้นปู่หล่อมาก ย่าเล่าให้ฉันฟังก่อนยิ้มระรื่นกับคืนอันร้อนระอุเดือนเมษา -  เราพากันเอาเสื่อกกมาปูนอนกางมุ้งง่ายๆ มองดูแสงดาว รับลมทุ่งแบบบ้านนอก ย่าเล่าแล้วเล่าอีกพรางบอกว่ายังฝันถึงปู่อยู่เสมอ 

รอยยิ้มเหี่ยวๆ กับตาเยิ้มๆ ฉันยังจำได้ดี ฟันที่ร่วงหล่นจนหมดปาก ทานข้าวเหนียวกระเด็นกระดอน ฉันพร่ำบ่นถึงความสกปรกที่ไม่รักษาความสะอาด - ฉันไม่กล้าพาเพื่อนมาเยี่ยมบ้านฉันเลย เพราะบ้านฉันเป็นบ้านนอก ถนนลูกรัง มีเสียงล้อ เสียงกระดิ่ง เดงดังเพราะวัวมีควายผ่านหน้าบ้าน ในบ้านก็สปรกแอร์ก็ไม่มี โทรศัพท์บ้านก็ไม่มี รถโดยสารก็เข้าไม่ถึงต้องเดินทางออกไปรอรถตั้ง 3 กิโล ฉันบ่นเสมอ - จ่มอะหยัง มึงเขาใหญ่ได้กับปากกูนี่เนอะ ย่าสวนกลับถึงบุญคุณที่เคยเคี้ยวข้าวให้กิน 

ปลายร้อนต้นฝน ฉันตื่นเต้นกับเมนูยามกลับจากโรงเรียน - ทุกเช้าฉันจะปั่นจักรยานไปเรียน และกลับบ้านเสมอ พอกลับมาก็จะหิว หิ๊ว หิว ทุกครา และทุกครั้งแม่กับย่าก็จะทำเมนูพิศดารสร้างความประหลาดใจให้ฉันเสมอ เช่น แกงผักป้อก้ารสเข้มข้น แกงขนุนกล่มกล่อม แกงแคร้อนๆ กับข้าวเหนียวยามเย็นหนึบหนับ และสิ่งที่ฉันชอบมากที่สุดดูเหมือนจะเป็นแกงหอย 

หอย หนอหอย ตาก็ไม่มี พูดก็ไม่ได้ เอาหน้ามุดดิน ชีวิตมัวหมอง ช้ำชอกความฮัก หาคู่ก็ไม่ได้เห็นหน้ากัน คนหนอคน ช่างงมเราชาวหอย ตัดตูดล้างโคลน ดูดกินม่วนใจ ยายชอบฮำเพลงคร่าวซอหอยไห้ ที่ว่าด้วยความรันทดของหอยที่เกิดมาด้วยชีวิตน่าเศร้ายังไม่พอ ยังต้องมาเป็นอาหารของมนุษย์  และยังเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับหอยให้ฉันฟังมากมายจนบางครั้งฉันก็อยากมีหอยเป็นของตัวเองแต่งตัว ฟ้อนๆ รำๆ แต่งหน้าทาปากเหมือนย่าเขาบ้าง

30 กว่าปีก่อน เมื่อปู่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทุกคนร่ำไห้กับการจากไป ฉันร้องหาหน้าคนแปลกหน้าที่ชอบมาหยอกเล่นทุกเช้างาย ตอนนี้เด็กขวบครึ่งก็ยังจะคงรู้อะไรไม่มากมาย คอยแต่รอคนใจดีมาหยอกล้อเล่น  ฉันผูกพันธ์กับปู่มาก จวบจนวันที่ปู่หายไป ย่าร้องไห้ไม่หยุดจนสติหลุดกลายเป็นคนบ้า ร้องเพลงปีนต้นมะม่วง ต้นมะพร้าวร้องเพลงละครซอ ผูกผ้าสีแดง ดอกไม้ครัวทาน เต้นแร้งเต้นกาทั่วบ้าน ชาวบ้านพากันมามุงดูในความเปิ่นของย่าฉัน ตอนนั้นพ่ออาย และต้องพาย่าไปรักษาที่โรงพยาบาลประสาทจนหายแล้วจึงกลับมา 

ฉันถูกเลี้ยงมากับคนบ้า มีคนบ้าเคี้ยวข้าวให้กิน ร้องเล่นเต้นรำ ตีกะลา ต่อยปี๊บ แห่ดนตรีอันจะมีในบ้านเล่นกับย่าสองคนเช้า เย็น เช้า เย็น ความทรงจำนั้นมีความสุขมาก ในที่สุดย่าก็ค่อยๆ หายและอาการดีขึ้นตามลำดับ ฉันอยู่กับย่าเสมอ และทะเลาะกันประจำเพราะหลังจากอาการทางประสาทหาย ย่าก็ชอบด่า ต่อว่าอะไรสารพัด ซึ่งน้อยคนนักที่จะอยู่ได้     

ฉันถูกเลือกให้นอนกับย่า เพราะทนกันมานานที่สุด หน้าร้อน ฝนห่าเทลงมาพัดสังกะสีบ้านกระจัดกระจาย ฉันกับย่า วิ่งกระเสือกกระสนเข้าไปหลบในยุ้งข้าว เราร้องไห้เพราะกลัว ไม่มีคนอยู่บ้าน ย่ากอดฉันแน่นพึมพำสวดมนต์ขอเทวดาฟ้าดิน ผีแถน สารพัดเพื่อขอให้ปลอดภัย เราเปียกโชก และหนาวสั่น ฟ้าฝ่า ฟ้าร้องน่ากลัว ย่ายังบ่นเป็นห่วงพ่อกับแม่ที่ออกไปทำสวน ฉันร้องไห้ซิกๆ กอดย่าแน่น และน้ำตาไหลขี้มูกโป่ง 

ไม่นานพอฝนซาฟ้าใส แสงแดดอ่อนๆ ทอแสงลงมากระทบหลุ่มร่องน้ำชายคา ระเนืองนองตามข่วงบ้าน มะแลงนี้จะแกงหอย ย่ากล่าวพรางนำหอยที่แช่ไว้มาล้างและบรรจงตัดก้นจงอยออกให้เท่ากัน ไม่น้อยมากเกินไปเพราะไม่งั้นจะดูดไม่ออก ฉันมีหน้าที่ไปเก็บผักตามรั้ว ผักใบยอดเขียวอ่อนต้องแสงแดดยามแลง ฉันใช้นิ้วลิบยอดผักไม้อย่างเพลิดเพลินสนุกกับความเปราะของยอด ลำต้น และกลิ่นเหม็นเขียวชื่นใจ 

ขะใจ๋ๆๆๆ หอยจะสุกแล้ว ฉันวิ่งเอาผักไปล้างแล้วเทลงไปแกงหอยสูตรพิศดารคุณย่า หอมขะหนาด ฉันอุทาน จิมแล่ ย่าตักให้ฉัรชิมรสของแกงหอยหลังพายุ ฉันก็ว่ามันเฉยๆ นะไม่ค่อยอร่อยเท่าไหร่ เย็นวันนั้นพ่อกับแม่ เหนือยจากงานตรากตรำ อาบน้ำตัวหอมและพรั่งพร้อมกินแกงหอยฝีมือย่า ฉันกินลืมโลก  ซากเปลือกหอยเต็มกระบุง เรากินกับดังจุ๊บๆ จั๊บๆ จ๊อกๆ แจ๊กๆ จนหมดหม้อแล้วนอนแผ่หราฟังเสียงกบเขียดระงมร้องตามชายทุ่ง  ย่าจองที่นั่งเดิมประจำเป็นเวลาร้องคร่าวซอหอยไห้  แล้วกล่าวถึงความรันทดของชีวิตที่เกิดมาเป็นหอย     

ใค่กินอึ่งบ่ามงคล(พ่อฉันเอง) --- ย่าอุทานอยากกินอึ่ง  --- เสียดายไม่มีคร่าวซออึ่งไห้ (ฉันเพ้อในใจ)





ด้วยรักและคิดถึงย่า


วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กลองก้ามปู - วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ


วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 2350 เดิมพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียกกันว่า วัดพระโต วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้าบ้าง จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ การก่อสร้างวัด มาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2390 และพระราชทานนามว่า “วัดสุทัศนเทพวราราม” ปรากฏในจดหมายเหตุว่า “วัดสุทัศนเทพธาราม” และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ ให้คล้องกันว่า "พระศรีศากยมุนี" "พระพุทธตรีโลกเชษฐ์" และ "พระพุทธเสรฏฐมุนี"

ภายในวัดสุทัศนเทพวรารามเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และได้อัญเชิญ พระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ มาบรรจุที่ผ้าทิพย์ด้านหน้าพุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนีเมื่อ พ.ศ. 2493 และมีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรในวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี (ที่มา http://th.wikipedia.org)


กลองก้ามปู - อณิกมุทิงคะ และ อฬัมพรเภรี

สุวรรณกักกฏกชาดก
ว่าด้วยปูทอง

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ หญิงคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ดังนี้

ได้ยินว่า ในเมืองสาวัตถี มีกฎุมพีคนหนึ่งพาภรรยาของตนไปยังชนบท เพื่อต้องการชำระหนี้สินให้หมดไป ครั้นชำระหนี้สินหมดแล้วก็เดินทางมา ถูกพวกโจรจับในระหว่างทาง ภรรยาของกฎุมพี นั้นเป็นผู้มีรูปสวยงามน่าเลื่อมใสยินดี หัวหน้าโจรปรารภจะฆ่ากฎุมพีเสีย เพราะความเสน่หาในนาง แต่นางเป็นสตรีมีศีล สมบูรณ์ด้วย อาจารมารยาท เคารพสามีดุจเทวดา นางจึงหมอบลงแทบเท้าของหัวหน้าโจรอ้อนวอนว่า ข้าแต่นายโจรผู้เป็นเจ้า ถ้าท่านมีความเสน่หาดิฉัน ท่านอย่าฆ่าสามีของดิฉันเลย ถ้าท่านจักฆ่า ดิฉันจักกินยาพิษ หรือกลั้นลมหายใจตาย ก็ดิฉันจักไม่ไปกับท่าน ท่านอย่าฆ่าสามีของดิฉันโดยใช่เหตุเลย แล้วขอให้ปล่อยสามีนั้นไป พวกโจรก็ใจอ่อนยินยอมปล่อยสามีภรรยาคู่นั้นไป

ฝ่ายสามีภรรยา ทั้งสองนั้นถึงเมืองสาวัตถีโดยปลอดภัย เดินทางมาทางด้านหลังวิหารพระเชตวัน เข้าไปยังพระวิหารดื่มน้ำแล้วหารือกันว่าจักถวายบังคมพระศาสดา จึงเข้าไปยังบริเวณพระคันธกุฎี ถวายบังคมพระศาสดา แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระศาสดาตรัสถามสามีภรรยาทั้งสองนั้นว่า ไปไหนมา เขาทั้งสองจึงกราบทูลว่า ไปชำระหนี้สินมา พระเจ้าข้า เมื่อพระศาสดาตรัสว่า ก็ในระหว่างทาง พวกท่านมากันโดยไม่มีความป่วยไข้หรือ ? กฎุมพีจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในระหว่างทาง พวกโจรจับข้าพระองค์ทั้งสอง ในตอนนั้น ภรรยา ของข้าพระองค์คนนี้ได้อ้อนวอนนายโจรผู้จะฆ่าข้าพระองค์ ให้ปล่อยตัวมา เพราะอาศัยภรรยาผู้นี้ ข้าพระองค์ได้รอดชีวิตมา พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก มิใช่บัดนี้เท่านั้น ที่สตรีผู้นี้ได้ให้ชีวิตแก่ท่าน ถึงในกาลก่อน ก็ได้ให้แม้แก่บัณฑิตทั้งหลายอัน ครั้นกฎุมพีนั้นทูลอ้อนวอน จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้ :

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชย์สมบัติในเมืองพาราณสี มีห้วงน้ำใหญ่อยู่ใกล้หิมวันตประเทศ ในห้วงน้ำใหญ่นั้น ได้มีปูทองตัวใหญ่อาศัยอยู่ในห้วงน้ำใหญ่นั้น ปรากฏชื่อว่า กุฬีรรหทะ แปลว่า หนองปู เพราะเป็นที่อยู่ของปูทองตัวนั้น ปูทองนั้นใหญ่โต ขนาดเท่าลานนวดข้าว จับช้างกิน ช้างทั้งหลายไม่อาจลงห้วงน้ำนั้นหาอาหารกินเพราะกลัวปูทองนั้น 

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในครรภ์นางช้างพัง เพราะอาศัยช้างจ่าฝูงในฝูงช้างที่อาศัย กุฬีรรหทะสระอยู่ ลำดับนั้น มารดาของพระโพธิสัตว์นั้นคิดว่า จักรักษาครรภ์จึงไปยังถิ่นภูเขาอื่นรักษาครรภ์อยู่ จนคลอดบุตร พระโพธิสัตว์นั้นรู้เดียงสาขึ้นโดยลำดับ มีบริวารมาก สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรงถึงความเป็นผู้เลิศด้วยความงาม เป็นคล้ายกับภูเขาอันชัน พระโพธิสัตว์นั้นอยู่ร่วมกับนางช้างพังเชือกหนึ่ง คิดว่าจักจับปู จึงพาภรรยาและมารดาของตนเข้าฝูงช้างนั้นพบกับบิดาจึงกล่าวว่า พ่อ ฉันจักจับปู 

ลำดับนั้นบิดาได้ห้ามเขาว่า เจ้าจักไม่สามารถนะลูก พระโพธิสัตว์พูดกะบิดาผู้กล่าวอยู่บ่อย ๆ ว่า ท่านจักรู้กำลังของข้าพเจ้า พระโพธิสัตว์นั้นจึงให้ประชุมช้างทั้งหมดที่เข้าไปอาศัยห้วงน้ำกุฬีระอยู่ เดินไปใกล้ห้วงน้ำพร้อมกับช้างทั้งปวงแล้วถามว่า ปูนั้นจับช้างในเวลาลง ในเวลาหาอาหาร หรือในเวลาขึ้น ได้ฟังว่า ในเวลาขึ้น จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น แม้พวกท่านจงลงห้วงน้ำกุฬีระ หาอาหาร กินจนเพียงพอแล้วขึ้นมาก่อน เราจักอยู่ข้างหลัง 

ช้างทั้งหลายได้กระทำอย่างนั้น ปูจึงเอาก้ามทั้งคู่หนีบสองเท้าพระโพธิสัตว์ซึ่งขึ้นภายหลังไว้แน่น เหมือนช่างทองเอาคีมใหญ่หนีบซี่เหล็กฉะนั้น นางช้างไม่ละทิ้งพระโพธิสัตว์ ได้ยืนอยู่ในที่ใกล้ๆ นั่นแหละ พระ โพธิสัตว์ดึงก็ไม่สามารถทำให้ปูเขยื้อน ส่วนปูลากพระโพธิสัตว์มาให้ตรงกับปากตน พระโพธิสัตว์ถูกมรณภัยคุกคาม จึงร้องว่าติดก้ามปู ช้างทั้งปวงกลัวมรณภัย ส่งเสียงร้องก้องโกญจนาท ขี้เยี่ยวราดหนีไป ฝ่ายนางช้างก็ไม่อาจดำรงตนอยู่ได้เริ่มจะหนีไป ลำดับนั้น พระ โพธิสัตว์ได้ทำให้นางเข้าใจว่าตนถูกหนีบไว้ เพื่อจะไม่ให้นางหนีไป จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :

"ปูทอง มีนัยน์ตาอันยาว มีหนังเป็นกระดูก เป็นสัตว์อยู่ในน้ำ ไม่มีขน ฉันถูกปูทองนั้นหนีบไว้แล้ว จึงร้องขอความช่วยเหลือ เจ้าอย่าทิ้งฉันผู้คู่ชีวิตเสียเลย"

ลำดับนั้น ช้างพังนั้นจึงหันกลับ เมื่อจะปลอบโยนพระโพธิสัตว์ นั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :

"ข้าแต่ท่านผู้เป็นลูกเจ้า  ดิฉันจักไม่ละทิ้งท่าน  ผู้เป็นช้างทรงกำลังถึง ๖๐ ปีเลย ท่านย่อมเป็นที่รักใคร่อย่างยิ่งของดิฉัน ยิ่งกว่าแผ่นดินซึ่งมีสมุทรสาครสี่เป็นขอบเขต"

ครั้นนางช้างทำพระโพธิสัตว์นั้นให้เข้มแข็ง แล้วจึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นเจ้า บัดนี้ ดิฉันเมื่อได้สนทนาปราศรัยกับปูทอง สักหน่อย จักให้ปล่อยท่าน เมื่อจะอ้อนวอนปูทองจึงกล่าวคาถา ที่ ๓ ว่า :

"ปูเหล่าใด อยู่ในมหาสมุทรก็ดี ในแม่น้ำคงคาก็ดี ในแม่น้ำยมุนาก็ดีท่านเกิดอยู่ในน้ำ ย่อมประเสริฐกว่าปูเหล่านั้น ขอท่านจงปล่อยสามีของดิฉันผู้ร้องไห้อยู่เถิด"

เมื่อนางช้างนั้นกำลังพูดอยู่ ปูได้ยินเสียงหญิง ก็ใจอ่อน จึงอ้าก้ามจากเท้าช้าง โดยหาได้รู้ไม่ว่า ช้างนี้เมื่อเราปล่อยแล้วจักกระทำอย่างนี้ เมื่อปูปล่อยช้างแล้ว ช้างจึงยกเท้าเหยียบหลังปูนั้น กระดองพังทลายไปในทันทีนั่นเอง ช้างนั้นจึงร้องขึ้นด้วยความยินดี 

ช้างทั้งปวงจึงประชุมกันนำเอาปูไปวางบนบก กระทืบให้ละเอียดเป็นจุรณวิจุรณไป ก้ามทั้งสองปูนั้นแตกออกจากร่างกระเด็นตกไปข้างหนึ่งของห้วงน้ำ ก็ห้วงน้ำที่มีปูอยู่นั้นต่อเนื่องเป็นอันเดียวกันกับแม่น้ำคงคา ในเวลาที่แม่น้ำคงคาเต็ม ก็เต็มไปด้วยน้ำในแม่น้ำคงคา เมื่อน้ำในแม่น้ำคงคาน้อย น้ำในห้วงก็ไหลลงสู่แม่น้ำคงคา ครั้งนั้น ก้ามปูทั้งสองก้ามนั้นก็ลอยไปในแม่น้ำคงคา ในก้ามปูสองก้ามนั้น ก้ามหนึ่งลอยเข้าไปยังมหาสมุทร พระราชาพี่น้อง ๑๐ องค์ เล่นน้ำอยู่ ได้ไปก้ามหนึ่งกระทำตระโพนชื่อว่าอณิกมุทิงคะ ส่วนอีกก้าม ที่ลอยเข้าไปยังมหาสมุทร พวกอสูรถือเอาไปแล้วให้กระทำเป็นกลอง ชื่ออฬัมพรเภรี ในกาลต่อมา พวกอสูรเหล่านั้นพ่ายแพ้ในสงครามกับท้าวสักกะ จึงทิ้งอฬัมพรเภรีนั้นหลบหนีไป ท้าวสักกะจึงให้ยึดเอาอฬัมพรเภรีนั้นมาเพื่อเป็นประโยชน์แก่พระองค์ อาจารย์บางพวกหมายเอากลองนั้นกล่าวว่า กลองอฬัมพระ ดังกระหึ่ม ดุจเมฆคำรามฉะนั้น

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประ กาศสัจจะในเวลาจบสัจจะ สามีภรรยาแม้ ทั้งสองก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วทรงประชุมชาดกว่า ช้างพังในกาลนั้น ได้เป็นอุบาสิกาผู้นี้ ส่วนช้าง คือเราตถาคต ฉะนี้แล จบ สุวรรณกักกฏกชาดก (อ้างอิงจาก http://www.dharma-gateway.com


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 135
๗. สุวรรณกักกฏกชาดก  ว่าด้วยปูทอง

[๔๐๐] ปูทองมีนัยตาอันยาว มีหนังเป็นกระดูกเป็นสัตว์อยู่ในน้ำ ไม่มีขน ฉันถูกปูทองนั้นหนีบไว้แล้ว จึงร้องขอความช่วยเหลือ เจ้าอย่าทิ้งฉันผู้คู่ชีวิตเสียเลย.

[๔๐๑] ข้าแต่ท่านผู้เป็นลูกเจ้า ดิฉันจักไม่ละทิ้งท่านผู้เป็นช้างทรงกำลังถึง ๖๐ ปีเลยท่านย่อมเป็นที่รักใคร่อย่างยิ่งของดิฉันยิ่งกว่าเป็นต้นซึ่งมีสมุทรสาครทั้งสี่เป็นขอบเขต.

[๔๐๒] ปูเหล่าใดอยู่ในมหาสมุทรก็ดี ในแม่น้ำคงคาก็ดี ในแม่น้ำยมุนาก็ดี ท่านเกิดอยู่ในน้ำ ย่อมประเสริฐกว่าปูเหล่านั้น ขอท่านจงปล่อยสามีของดิฉันผู้ร้องไห้อยู่เถิด.  จบ สุวรรณกักกฏกชาดกที่ ๗

อรรถกถาสุวรรณกักกฏกชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภหญิงคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า สิงฺคี มิโค ดังนี้.พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 136ได้ยินว่า ในเมืองสาวัตถี มีกฎุมพีคนหนึ่งพาภรรยาของตนไปยังชนบท เพื่อต้องการชำระหนี้สินให้หมดไป ครั้นชำระหนี้สินหมดแล้วก็เดินทางมา ถูกพวกโจรจับในระหว่างทาง. 

 ก็ภรรยาของกฎุมพีนั้นเป็นคนมีรูปสวยงามน่าเลื่อมใสยินดี. หัวหน้าโจรปรารภจะฆ่ากฎุมพีเสีย เพราะความเสน่หาในนาง แต่นางเป็นสตรีมีศีล สมบูรณ์ด้วยอาจารมารยาท เคารพสามีดุจเทวดา. นางจึงหมอบลงแทบเท้าของหัวหน้าโจรอ้อนวอนว่า ข้าแต่นายโจรผู้เป็นเจ้า ถ้าท่านมีความเสน่หาดิฉัน ท่านอย่าฆ่าสามีของดิฉันเลย ถ้าท่านนักฆ่า ดิฉันจักกินยาพิษหรือกลั้นลมหายใจตาย ก็ดิฉันจักไม่ไปกับท่าน ท่านอย่าฆ่าสามีของดิฉันโดยใช่เหตุเลย แล้วขอให้ปล่อยสามีนั้นไป. 

 ฝ่ายสามีภรรยาทั้งสองนั้นถึงเมืองสาวัตถีโดยปลอดภัย เดินทางมาทางด้านหลังวิหารพระเชตวัน เข้าไปยังพระวิหารดื่มน้ำแล้วหารือกันว่าจักถวายบังคมพระศาสดา จึงเข้าไปยังบริเวณพระคันธกุฎี ถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาตรัสถามนสามีภรรยาทั้งสองนั้นว่าไปไหนมา เขาทั้งสองจึงกราบทูลว่า ไปชำระหนี้สินมา พระเจ้าข้า.เมื่อพระศาสดาตรัสว่า ก็ในระหว่างทาง พวกท่านมากันโดยไม่มีความป่วยไข้หรือ กฎุมพีจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในระหว่างทาง พวกโจรจับข้าพระองค์ทั้งสอง ในตอนนั้น ภรรยาของข้าพระองค์คนนี้ได้อ้อนวอนนายโจรผู้จะฆ่าข้าพระองค์ ให้ปล่อยตัวมา เพราะอาศัยภรรยาผู้นี้ ข้าพระองค์ได้รอดชีวิตมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 137

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก มิใช่บัดนี้เท่านั้น ที่สตรีผู้นี้ได้ให้ชีวิตแก่ท่าน ถึงในกาลก่อน ก็ได้ให้แม้แก่บัณฑิตทั้งหลายอันกฎุมพีนั้นทูลอ้อนวอน จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้ :-ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในเมืองพาราณสี มีห้วงน้ำใหญ่อยู่ใกล้หิมวันตประเทศ.

ในห้วงน้ำใหญ่นั้นได้มีปูทองตัวใหญ่อาศัยอยู่. ห้วงน้ำใหญ่นั้น ปรากฏชื่อว่า กุฬีรรหทะแปลว่า หนองปู เพราะเป็นที่อยู่ของปูทองตัวนั้น. ปูทองนั้นใหญ่โตขนาดเท่าลานนวดข้าว จับช้างกิน เพราะกลัวปูทองนั้น ช้างทั้งหลายไม่อาจลงห้วงน้ำนั้นหาอาหารกิน. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในครรภ์นางช้างพัง เพราะอาศัย ช้างจ่าฝูงในฝูงช้างที่อาศัยกุฬีรรหทะสระอยู่. 

 ลำดับนั้น มาราดาของพระโพธิสัตว์นั้นคิดว่าจักรักษาครรภ์จึงไปยังถิ่นภูเขาอื่นรักษาครรภ์อยู่จนคลอดบุตร. พระ-โพธิสัตว์นั้นรู้เดียงสาขึ้นโดยลำดับ มีบริวารมาก สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรงถึงความเป็นผู้เลิศด้วยความงาม เป็นคล้ายกับภูเขาอันชัน. พระ-โพธิสัตว์นั้นอยู่ร่วมกับนางช้างพังเชือกหนึ่ง คิดว่าจักจับปู จึงพาภรรยาและมารดาของตนเข้าฝูงช้างนั้นพบกับบิดาจึงกล่าวว่า พ่อฉันจักจับปู. ลำดับนั้นบิดาได้ห้ามเขาว่า เจ้าจักไม่สามารถนะลูก.พระโพธิสัตว์พูดกะบิดาผู้กล่าวอยู่บ่อย ๆ ว่า ท่านจักรู้กำลังของข้าพเจ้า.พระโพธิสัตว์นั้นจึงให้ประชุมช้างทั้งหมดที่เข้าไปอาศัยห้วงน้ำกุฬีระอยู่เดินไปใกล้ห้วงน้ำพร้อมกับช้างทั้งปวงแล้วถามว่า ปูนั้นจับช้างใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 138

เวลาลง ในเวลาหาอาหาร หรือในเวลาขึ้น ได้ฟังว่า ในเวลาขึ้นจึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น แม้พวกท่านจงลงห้วงน้ำกุฬีระ. หาอาหารกินจนเพียงพอแล้วขึ้นมาก่อน เราจักอยู่ข้างหลัง. ช้างทั้งหลายได้การทำอย่างนั้น. ปูจึงเอาก้ามทั้งคู่หนีบสองเท้าพระโพธิสัตว์ซึ่งขึ้นภายหลังไว้แน่น เหมือนช่างทองเอาคีมใหญ่หนีบซี่เหล็กฉะนั้น.นางช้างไม่ละทิ้งพระโพธิสัตว์ ได้ยืนอยู่ในที่ใกล้ ๆ นั่นแหละ. พระโพธิสัตว์ดังก็ไม่สามารถทำให้ปูเขยื้อน. ส่วนปูลากพระโพธิสัตว์มาให้ตรงปากตน. พระโพธิสัตว์ถูกมรณภัยคุกคาม จึงร้องว่าติดก้ามปู.

ช้างทั้งปวงกลัวมรณภัย ส่งเสียงร้องก้องโกญจนาทขี้เยี่ยวราดหนีไป.ฝ่ายนางช้างก็ไม่อาจดำรงตนอยู่ได้เริ่มจะหนีไป. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้ทำให้นางเข้าใจว่าตนถูกหนีบไว้ เพื่อจะไม่ให้นางหนีไป

จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-ปูทองมีนัยน์ตายาว มีหนังเป็นกระดูกอาศัยขอยู่ในน้ำ ไม่มีขน ฉันถูกปูทองนั้นหนีบไว้แล้ว จึงร้องขอความช่วยเหลือ เจ้าอย่าทิ้งฉันผู้คู่ชีวิตเสียเลย.บรรดาบทเหล่านั้น ทว่า สิงฺคี มิโค ได้แก่ มฤคมีสีเหมือนสีทอง มีเขา อธิบายว่า ชื่อว่ามีเขา เพราะประกอบด้วยก้ามทั้งสองอันยังกิจที่จะพึงทำด้วยเขาให้สำเร็จ. ส่วนกุฬีระคือปู ท่านเรียกว่ามิคะคือมฤคในที่นี้โดยถือเอาอย่างรวบยอด. 

ในบทว่า อายตพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 139

จกฺขุเนตฺโต นี้ที่ชื่อว่าจักษุ เพราะอรรถว่าเห็น, ที่ชื่อว่าเนตรเพราะอรรถว่านำไป, เนตรกล่าวคือจักษุของปูนั้นยาว เพราะเหตุนั้นชื่อว่ามีเนตรคือจักษุยาว อธิบายว่ามีนัยน์ตายาว. ชื่อว่ามีหนังเป็นกระดูก เพราะกระดูกเท่านั้นทำกิจคือหน้าที่ของหนังให้สำเร็จแก่ปูนั้น. บทว่า เตนาภิภูโต ความว่า ถูกมฤคนั้นนั่นแหละครอบงำคือท่วมทับ ได้แก่จับไว้เคลื่อนไหวไม่ได้. 

 บทว่า กปณรุทามิความว่า เราเป็นผู้ถึงความเป็นผู้น่ากรุณาร้องคร่ำครวญอยู่. บทว่ามา เหว ม ความว่า ท่านอย่าได้ทอดทิ้งข้าพเจ้าผู้เป็นสามที่รักผู้เสมอกับลมปราณของตน ผู้ถึงความพินาศเห็นปานนี้.ลำดับนั้น ช้างพังนั้นจึงหันกลับ เมื่อจะปลอบโยนพระโพธิสัตว์

นั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-ข้าแต่เจ้า ดิฉันจักไม่ละทิ้งท่านผู้เป็นช้างทรงกำลังถึง ๖๐ ปี ท่านย่อมเป็นที่รักใคร่อย่างยิ่งของดิฉัน ยิ่งกว่าปฐพีอันมีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต.บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฏิหายน ความว่า ก็ในเวลามีอายุ ๖๐ ปี โดยกำเนิด ช้างทั้งหลายย่อมเสื่อมถอยกำลัง ดิฉันนั้นจักไม่ละทิ้งท่านผู้สมบูรณ์ด้วยกำลังอย่างนี้ ผู้ถึงความพินาศ ท่านอย่ากลัว เพราะว่าท่านเป็นที่รักยิ่งของดิฉัน กว่าปฐพีนี้อันตั้งจรดมหาสมุทรในทิศทั้ง ๔ ชื่อว่ามีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นแดนสุด.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 140


ครั้นนางช้างทำพระโพธิสัตว์นั้นให้เข้มแข็ง แล้วจึงกล่าวว่าข้าแต่ท่านผู้เป็นเจ้า บัดนี้ ดิฉันเมื่อได้สนทนาปราศรัยกับปูทองสักหน่อย จักให้ปล่อยท่าน เมื่อจะอ้อนวอนปูทองจึงกล่าวคาถา

ที่ ๓ ว่า :-ปูเหล่าใด อยู่ในมหาสมุทรก็ดี ในแม่น้ำคงคาก็ดี ในแม่น้ำยมุนาก็ดี ท่านเป็นสัตว์น้ำผู้ประเสริฐกว่าปูเหล่านั้น ขอท่านจงปล่อยสามีของดิฉันผู้ร้องไห้อยู่เถิด.เนื้อความของคำที่เป็นคาถานั้นว่า ปูเหล่าใดในมหาสมุทรก็ดีในแม่น้ำคงคาหรือยมุนาก็ดี ท่านเท่านั้นเป็นผู้ประเสริฐกว่าปูเหล่านั้นทั้งหมด โดยความถึงพร้อมด้วยวรรณะและโดยความเป็นใหญ่ด้วยเหตุนั้น ดิฉันจึงขออ้อนวอนท่าน ขอท่านโปรดปล่อยสามีของดิฉันผู้กำลังร้องไห้อยู่เถิด.

เมื่อนางช้างนั้นกำลังพูดอยู่ ปูได้ถือนิมิตในเสียงหญิง เป็นผู้มีใจถูกดึงลง จึงอ้าก้ามจากเท้าช้างหาได้รู้อะไรบ้างว่า ช้างนี้เราปล่อยแล้วจักกระทำชื่อสิ่งนี้. ลำดับนั้น ช้างจึงยกเท้าเหยียบหลังนั้นกระดองพังทลายไปในทันทีนั่นเอง ช้างร้องขึ้นด้วยความยินดี.ช้างทั้งปวงจึงประชุมกันนำเอาปูไปวางบนบก กระทืบให้ละเอียดเป็นจุรณวิจุรณไป. ก้ามทั้งสองปูนั้นแตกออกจากร่างกระเด็นตกไปยัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 141


ส่วนข้างหนึ่ง. ก็ห้วงน้ำที่มีปูอยู่นั้นเนื่องเป็นอันเดียวกันกับแม่น้ำคงคา ในเวลาที่แม่น้ำคงคาเต็ม ก็เต็มไปด้วยน้ำในแม่น้ำคงคาเมื่อน้ำแม่น้ำคงคาน้อย น้ำในห้วงก็ไหลลงสู่แม่น้ำคงคา. ครั้งนั้นก้ามปูแม้ทั้งสองก้ามนั้นก็ลอยไปในแม่น้ำคงคา. ในก้ามปูสองก้ามนั้นก้ามหนึ่งลอยเข้าไปยังมหาสมุทร พระราชาพี่น้อง ๑๐ องค์ เล่นน้ำอยู่ ได้ไปก้ามหนึ่งกระทำตระโพนชื่อว่าอณิกมุทิงคะ ส่วนอีกก้ามที่ลอยเข้าไปยังมหาสมุทร พวกอสูรถือเอาไปแล้วให้กระทำเป็นกลองชื่ออฬัมพรเภรี. ในกาลต่อมา พวกอสูรเหล่านั้นถูกท้าวสักกะให้พ่ายแพ้ในสงคราม จึงทิ้งอฬัมพรเภรีนั้นหลบหนีไป. ลำดับนั้นท้าวสักกะให้ยึดเอาอฬัมพรเภรีนั้นมาเพื่อเป็นประโยชน์แก่พระองค์.

อาจารย์บางพวกหมายเอากลองนั้นกล่าวว่า กลองอฬัมพระดังกระหึ่มดุจเมฆคำรามฉะนั้นพระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประ-กาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ สามีภรรยาแม้ทั้งสองก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ช้างพังในกาลนั้น ได้เป็นอุบาสิกาผู้นี้ ส่วนช้าง คือเราตถาคต ฉะนี้แล.  จบ อรรถกถาสุวรรณกักกฏกชาดกที่ ๗ (อ้างอิงจาก http://www.thepalicanon.com)