อยู่นี่แล้ว


วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

Portishead - Roads ; แปลโดย เอมิลี่


Oh, can't anybody see,
We've got a war to fight,
Never found our way,
Regardless of what they say.

How can it feel, this wrong,
From this moment,
How can it feel, this wrong.

Storm,
In the morning light,
I feel,
No more can I say,
Frozen to myself.

I got nobody on my side,
And surely that ain't right,
Surely that ain't right.

Oh, can't anybody see,
We've got a war to fight,
Never found our way,
Regardless of what they say.

How can it feel, this wrong,
From this moment,
How can it feel, this wrong.

How can it feel this wrong,
From this moment,
How can it feel, this wrong.

Oh, can't anybody see,
We've got a war to fight,
Never found our way,
Regardless of what they say.

How can it feel, this wrong,
From this moment,
How can it feel, this wrong.


คงไม่มีใครสังเกต เห็น 
ว่าสงคราม การต่อสู้ที่เกิดขึ้น 
ปราศจากซึ่ง หนทาง
คะนึงถึง ถ้อยคำ อะไรที่เคยว่าไว้ 

จะรู้สึกได้อย่างไร  ว่าผิด 
จาก ณ ตอนนี้ 
จะรู้สึกได้อย่างไร  ว่าผิด 

พายุ  ณ เช้าตรู่สว่างใส
ฉันรู้
คงไม่มีอะไรที่ต้องพูด...
ตัวที่แข็งทื่อยังกะแช่เย็น 

ไม่มีใครในใจฉัน ไม่มี 
ใช่ ไม่มันไม่ควรเป็นอย่างนี้
ไม่มันไม่ควรเป็นอย่างนี้

โอววส์ ไม่มีใครเข้าใจฉัน
มันคือสงครามเย็นระหว่างความสัมพันธ์
สงครามที่ไม่มีข้อยุติ
ลืมซึ่ง ถ้อยคำ อะไรที่เคยว่าไว้ 

จะรู้สึกได้อย่างไร ว่าพลาด
ณ จากนี้ 
จะรู้สึกได้อย่างไร ว่าพลาด

(ดนตรี)

จะรู้สึกได้อย่างไร ว่าพลาด
ณ จากนี้ 
จะรู้สึกได้อย่างไร ว่าพลาด


ช่วยบอกฉันหน่อย 
ได้โปรด ช่วยบอกฉันที 

จะรู้สึกได้อย่างไร ว่าพลาด
ณ จากนี้ 
จะทำอย่างไร ?


วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

กลิ่นดนตรีล้านนาในงานปอยหลวง บนอดีตดินแดนล้านนา

กลิ่นดนตรีล้านนาในงานปอยหลวง บนอดีตดินแดนล้านนา


นักดนตรีวงกลองบูชา จากศรัทธาวัดปงชัย 

ดนตรีในงานปอยหลวงสันนิษฐานแรกเริ่มปรากฏจารึกเขาสุมนกูฏ ทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ทางด้านพุทธศาสนาระหว่างอาณาจักรในยุคนั้น การกระจัดกระจายของเมือง ดินแดนชาติพันธุ์ที่ยังเป็นรัฐอิสระได้พยายามเก็บเกี่ยวอารยะธรรม วัฒนธรรม ศาสนา จากรัฐที่เจริญ (คือ สุโขทัย) ฉะนั้นความร่วมสมัยของดนตรีในยุคนี้ถึงมีบทหน้าที่เป็นอย่างมากในการประโคม สรรเสริญให้เกิดศรัทธาแก่พระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับดนตรีประโคมต้อนรับสุมนเถระที่มาจากสุโขทัย ฉะนั้นนโยบายหลักทางการเมืองของพญาลิไทยจึงไม่ใช่เพียงแค่การใช้กำลังไพร่พล ทหาร มายึดครองแดนเพื่อผลประโยชน์ของตน แต่เป็นนโยบายการใช้ศาสนา วัฒนธรรมกระจายไปสู่เมืองต่างๆ ซึ่งหากนับรวมความเป็นดนตรีแล้วสุโขทัยได้ประสบความสำเร็จในการครองงำเมืองต่างๆ ด้วยศาสนาวัฒนธรรมไปแล้ว

วัยรุ่นกำลังแห่ ส่าย ต้นครัวทาน ในเพลงกินตับ อันเปิดแห่ประโคมโดยรถเทค อย่างสนุกสุดเหวี่ยง 

เนื้อความดนตรีปรากฏตามจารึก “สาธุการบูชาอีกดุริยาพาทย์พิณฆ้องกลองเสียงดังสิพอดังดินจักหล่มอันไซร้ (เพียงดินจะถล่มนั้น)” ดนตรีมีหน้าที่ประโคมให้เกิดความศรัทธาบูชาในพระศาสนาปรากฏ พาทย์ พิณ ฆ้อง และกลอง ประโคมดังเสมือนฟ้าดินจะถล่ม เนื้อความทำให้ทราบได้ว่าดนตรีก็ถือเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของศาสนา ในการแผ่กระจายอำนาจซ่อนเร้นเพื่อเข้าสู่ความเชื่อ ศรัทธาที่แรงกล้าจนกระทั่งสามารถลบล้างความเชื่อพื้นถิ่นเดิมเสียจนเกือบหมดสิ้น เพราะฉะนั้นอำนาจทางเสียงจึงมาคู่กับอำนาจทางความเชื่อในศาสนาสู่การศรัทธา ด้วยเครื่องไทยทานฉลองพระพุทธบาทดังนี้


“สองขอก (ข้าง) หนทาง ย่อมตั้งกัลปพฤกษ์ใส่รมยวลดอกไม้” แปลว่า สองข้างทางเรียงรายไปด้วยต้น กัลปพฤกษ์ ประดับประดาด้วยดอกไม้ คล้ายต้นครัวทาน ดังเช่นประเพณีงานปอยหลวงในภาคเหนือปัจจุบัน ต้นครัวทาน หรือไทยทาน คือการจำลองต้นไม้ (กัลปพฤกษ์) ที่ชาวบ้านนำปัจจัยอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ ปัจจัย ถวายทานไว้ภายภาคหน้า (ยุคพระศรีอาริยเมตไตรย) และ“ปลูกธงปฎากทั้งสองปลาก (ฟาก) หนทาง ย่อมเรียงขัน” มีธงปลูกเรียงรายไปตามสองฟาก (ปัจจุบันมีตุง) พร้อมด้วยขันหมากพลูบูชาอภิรมย์ คือการต้อนรับโดยยินดีแสดงเรียงรายจนถึงงานเฉลิมฉลองที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ปรากฏซึ่งดนตรีเล่นประโคมอย่างสนั่นหวั่นไหว ประโคมอย่างครื้นเครง เล่าถึงบรรยากาศงานบุญที่ครื้นเครงไปด้วยเสียงดนตรีของเทศกาล ซึ่งโดยปกติแล้วสังคมสมัยนั้นเป็นสังคมแห่งความเงียบ ขาดด้วยมหรสพ รื่นเริง วัฒนธรรมเสียงเครื่องโลหะแห่ประโคมถือว่าศักดิ์สิทธิ์ 


คนล้านนาสมัยนั้นรับเอาวัฒนธรรมเหล่านี้จากสุโขทัย ดนตรีดังกล่าวคือดนตรีวัด สถานที่รวมศูนย์อำนาจจักรวาลตามคติความเชื่อเดิม งานปอยหลวงนิยมจัดขึ้นเพื่อสมโภชวัดวาอารามในเดือนหก (มีนาคม) เพราะเป็นช่วงเดือนสุดท้ายของปี โดยทั่วไปแล้วหมู่บ้านหรือชุมชนจะมีวัดประจำหมู่บ้านหนึ่งวัดเป็นอย่างน้อย ส่วนใหญ่เป็นวัดขนาดเล็ก เป็นที่สั่งสอนวิชา ศิลปะ ประเพณีและวัฒนธรรมล้านนา ในที่นี้รวมถึงวัฒนธรรมการดนตรีด้วย เมื่อมีการสร้างศาสนสถานหรือบูรณปฏิสังขรณ์อาคารหรือสิ่งก่อสร้าง จึงเกิดเป็นการเฉลิมฉลองซึ่งมักจะจัดเป็นงานมหรสพใหญ่โตนิยมจัด ๓ วัน ๓ คืน จัดโดยชุมชนซึ่งสมัยก่อนอาจมีเจ้าภาพเป็นกษัตริย์ ถวายข้าวัด ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องดนตรีแห่ประโคม ดังปรากฏในตำนานพระธาตุจอมทอง 


นักดนตรีวงกลองบูชา จากศรัทธาวัดปงชัย 

 งานปอยหลวงเป็นมหกรรมของงานมหรสพของชุมชนส่งให้เกิดการติดต่อแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม เกิดการว่าจ้างช่างซอ ช่างปี่ นักดนตรีพาทย์ฆ้อง ตามหมู่บ้านใกล้เคียง ช่วงนี้เป็นช่วงเวลางานของเหล่านักดนตรีภายหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว วัฒนธรรมดนตรีล้านนาส่วนใหญ่ถูกสืบทอดตามชุมชน ในแต่ละชุมชนจะมีศิลปินพื้นบ้านถืออาชีพนักดนตรีเป็นอาชีพรองจากเกษตรกรรม สืบทอดการดนตรีภายในครอบครัวและผู้สนใจ ดนตรีในงานปอยหลวงนั้นนอกจากจะมีดนตรีจากหมู่บ้านใกล้เคียงเข้ามามีส่วนร่วมแล้ว ยังมีวงดนตรีและต่างแสดงจากหัววัดในต่างตำบล อำเภอ ตลอดถึงต่างจังหวัดเข้ามาแสดงดนตรี ฟ้อนรำ เป็นพุทธบูชารวมถึงแห่ประโคมต้นครัวตาน (เครื่องไทยทาน) เพื่อร่วมทำบุญ ซึ่งเครื่องดนตรีส่วนใหญ่สมัยก่อนจะถูกเก็บรักษาไว้ที่วัด เป็นสมบัติส่วนกลางของชุมชน เช่น ฆ้อง กลอง และเครื่องแห่ประโคมต่างๆ ด้วยบทบาทหน้าที่ของดนตรีเหล่านี้มีความใกล้ชิดในพิธีกรรมทางศาสนาและชุมชน สิ่งเหล่านี้เกิดเป็นความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ระหว่างสถาบันวัด และชุมชนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

แหล่งมหรสพเหล่านี้ส่วนใหญ่จะอยู่ติดกำแพงวัด ลานหน้าวัดหรือเรียกกว่า “ข่วงวัด” ไม่สามารถเข้าไปบรรเลงในวัด เพราะบางมหรสพมีการหยอกล้อสัปดน บรรเลงแห่ประโคมตลอดทั้งวัน บ้างก็มีการละเล่นต่างๆ อยู่จนดึกดื่นตลอดทั้งคืน บางครั้งทางวัดก็มีการจัดข้าวปลาอาหารและที่หลับนอนให้กับคณะศรัทธาที่เดินทางมาไกลพักอาศัย อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับงานปอยหลวงก็คือ “การขับซอ” ส่วนมากเรื่องราวที่ขับจะเป็นพวกชาดกต่างๆ ในตำนานปกิณกะ มีเนื้อหาอิงธรรมะ สอนจริยธรรม ความกตัญญู ค่านิยมที่ถูกที่ควรในสังคมปัจจุบัน ตลอดจนนิทานสอนใจต่างๆ สอดแทรกไปด้วยมุขตลกไม่น่าเบื่อ เป็นการแสดงที่ชาวบ้านชอบมาก ถึงกับขนเสื่อมาปูรอตั้งแต่เช้ามืด โดยกรรมวิธีการจัดการมหรสพเหล่านี้จะผ่านการตัดสินใจโดยเสียงโหวตของชุมชนและกรรมการวัด ให้หาศิลปินพื้นบ้านมาอย่างเหมาะสมตามความต้องการชองชุมชนมาแสดงบนผามซอ หรือ “ค้างซอ” ที่เป็นจุดเด่นของงานมหรสพเป็นอีกกลไกสำคัญในการสืบทอดวรรณกรรมมุขปาฐะล้านนา ในอดีตบางวัดจะมีผามเปี๊ยะไว้ให้ชายหนุ่มบรรเลง แลกเปลี่ยนเทคนิควิทยาการเล่นเปี๊ยะ ส่วนมากจะจัดบริเวณทุ่งนาหน้าวัดเป็นที่สุมชุมนุมของชายหนุ่มสมัยก่อน ทั้งอวดเปี๊ยะ อวดลายเปี๊ยะ และอวดลายขา (ลายสักบริเวณขา) สูบบุหรี่ กินเหล้า เล่นการพนัน พร้อมแลกเปลี่ยนมิตรภาพกันของชายหนุ่มระหว่างหมู่บ้าน และชุมชนรอบข้าง

 วิถี พานิชพันธุ์ กล่าวว่า วันที่สามของงานปอยหลวงเป็นวันแห่ครัวตานเข้าวัดจากต่างหมู่บ้าน ต่างตำบล ต่างอำเภอ หรือแม้แต่ต่างจังหวัด ที่มีความคุ้นเคยหรือความสัมพันธ์กับวัดเจ้าภาพ ชาวบ้านศรัทธาต่างพื้นที่จะเดินทางมาเป็นกลุ่มใหญ่เพื่อนำครัวทานมาจัดตั้งเป็นขบวนที่ค่อนข้างเป็นทางการก่อนแห่เข้าภายในวัด ขบวนครัวทานหัววัดประกอบด้วย “ขันเชิญ” คือพานใส่ข้าวตอกดอกไม้ ธูปเทียน มีมัคนายกของวัดนั้นๆ หรือหนาน (ผู้ที่เคยบวชเรียน) ถือนำขบวนตามมาด้วยกลุ่มช่างฟ้อน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเมืองที่มักจะเป็นเด็กสาวสวย พร้อมวงดนตรีปี่แน กลองแอวที่บรรเลงจังหวะเนิบนาบ ส่วนพระสงฆ์จากหัววัดที่มีสัปทน (ร่ม) กั้นเดินนำคณะศรัทธา ปิดท้ายด้วยเครื่องครัวทานหรือต้นครัวทานที่จะถวายไว้กับวัดเจ้าภาพ เป็นริ้วบวนสวยงามวนมากช่วงท้ายของขบวนมักจะเป็นชายหนุ่มน้อยใหญ่เล่นตบมะผาบ ฟ้อนเจิง ฟ้อนดาบ ประกอบวงดนตรีกลองซิ่งมอง กลองปู่เจ่ก้นยาวสนุกสนานเฮฮา (วิถี พานิชพันธุ์ ๒๕๔๘) ซึ่งนับวันยิ่งหาดูได้ยากตามชุมชนรอบนอก หรือบางชุมชนที่มีการเข้ามาจัดตั้งชุมชนสมัยใหม่ เช่น บ้านจัดสรร เหล่านี้มีส่วนทำลายความเป็นชุมชนล้านนา สังคมชาวนา ชาวไร่เดิมทั้งสิ้น

 อานันท์ กาญจนพันธุ์ ได้กล่าวถึงความเป็นไปของวัฒนธรรมชุมชนล้านนาว่า ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมนั้นโหดร้ายต่อสังคมชาวนา ชาวไร่อย่างเหลือเกินนั้น ช่างเป็นความจริงแม้ในปัจจุบันเพราะพวกเขามักจะไม่ได้รับการยอมรับว่ามีบทบาทในการสร้างสรรค์ประวัติศาสตร์เสียเลย และนั่นก็หมายรวมถึงว่า ไม่มีบทบาทในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและประเพณีด้วย เพราะสิ่งที่เรียกกันว่าประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมประเพณีของสังคมนั้น ตลอดมามักจะถูกทำให้ดูเหมือนหนึ่งเป็นผลิตผลอยู่ในแวดวงของชนชั้นนำในสังคมเท่านั้น สำหรับสิ่งที่อาจเป็นประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมประเพณีของชาวนาชาวไร่ วีถีชีวิตชุมชนตลอดจนถึงวัดรอบนอกก็มักจะถูกมองเห็นว่าเป็นการตามกระแสวัฒนธรรมหลักหรือลอกเลียนจากวัฒนธรรมใหญ่ในสังคม ดังนั้นอะไรที่เป็นของชาวบ้าน ชุมชน จึงมักจะถือว่าเป็นเรื่องแปลกประหลาดสำหรับผู้ที่อยู่ในวัฒนธรรมใหญ่ และเห็นว่าวัฒนธรรมของชาวบ้านนั้นเป็นเพียงวัฒนธรรมเล็ก (อานันท์ กาญจนพันธุ์ ๒๕๒๗, ๑๙๕)

 เพราะฉะนั้นการศึกษาวัฒนธรรมการดนตรีส่วนมากในสถานศึกษาจึงเข้ามาศึกษาวัฒนธรรมใหญ่เป็นหลัก ทอดทิ้งวัฒนธรรมรากหญ้า ชุมชนล้านนาไปเกือบหมดสิ้น พร้อมการศึกษาวิจัยในมุมมองของผู้อยู่ในวัฒนธรรมใหญ่ มองวัฒนธรรมเล็กในบริบทของความแปลกประหลาด และสิ่งเหล่านี้ค่อยๆ ก่อตัวมาเป็นการศึกษาเชิงชาตินิยม ตลอดจนถึงการครอบงำทางด้านวัฒนธรรมจากวัฒนธรรมใหญ่ ส่งผลให้สังคมชุมชนวัฒนธรรมเล็ก ดิ้นรนและปรับตัวให้เป็นเหมือนวัฒนธรรมใหญ่มากขึ้นเพื่อต้องการลดความประหลาดตลอดจนสร้างความเป็นชาตินิยม ทับถมความเป็นท้องถิ่นนิยมตนเสียสิ้น

ส่งผลให้การศึกษาวิจัยภาษา วัฒนธรรม ดนตรี รวมถึงคติชนวิทยา ขาดข้อมูลซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาและต่อยอดความรู้ ตลอดไปจนถึงการพัฒนาประเทศอย่างมีแก่นสารต่อไป ถึงแม้บางชุมชนล้านนาจะไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมากนักเพราะยังห่างจากศูนย์กลางทางวัฒนธรรม ส่งผลให้วัฒนธรรมดนตรีท้องถิ่นดังกล่าวขาดความแข็งแรงสืบเนื่องเพราะสถาบันเจ้านายที่ล่มสลายไปแล้ว และสถาบันปกครองรัฐชาติ ไม่มีจุดยืนที่มั่นคงต่อกัน เกิดวัฒนธรรมดนตรีที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนเดิมระหว่างรั้วโรงเรียนกับชุมชนหมู่บ้าน เป็นวัฒนธรรมดนตรีสมัยนิยมจากวัฒนธรรมใหญ่ เกิดนิยามความเป็นไทยตามคติชนชั้นนำสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยการสถาปนาพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์เป็นรัฐชาติสมัยใหม่เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตามมาด้วยการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ร่วมกันในประเทศ คือจะต้องมีภาษา วัฒนธรรม และวิถีชีวิตเหมือนกัน ในวัฒนธรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่เป็นวัฒนธรรมแห่งชาติ 

วงกลองมองเซิงกำลังบรรเลงให้หญิงสาวในหมู่บ้านฟ้อนก๋ายลายอย่างสนุกสนาน

สิ่งเหล่านี้กำลังบ่อนทำลายวัฒนธรรมรากหญ้า ชุมชนไปทีละนิด ทีละน้อย ด้วยเรื่องวัฒนธรรมเป็นเรื่องของการผสมผสาน การปรับใช้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ฉะนั้นวัฒนธรรมประดิษฐกรรมสร้างใหม่ไร้ประโยชน์ ตลอดจนไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตวิถีชุมชนหรือเพื่อการหลอมรวมอำนาจสู่รากฐานการพัฒนาระบอบทุนนิยม อย่างไม่จริงใจ กำลังเข้ามาครอบงำวัฒนธรรมชุนชน ลบเลือนความเป็นท้องถิ่นด้วยความเมินเฉย เพราะรัฐถือว่าวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นวัฒนธรรมเล็ก วัฒนธรรมชายขอบ และด้วยมายาคติที่ต้องเพิกเฉยกับความจริงแบบรวมศูนย์อำนาจที่วัฒนธรรมใหญ่ ส่งผลให้วัฒนธรรมเหล่านี้กลายเป็นภาพเหมารวมของวิถีชุมชนแบบพอเพียงที่ไม่ต้องการสิ่งใดในการดำรงอยู่ ท่ามกลางกระแสรัฐบาลทุนนิยมผลประโยชน์ 


ในที่นี้ผู้เขียนได้เข้าไปเก็บข้อมูลภาคสนามงานปอยหลวงวัดฉางข้าวน้อยเหนือ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน มีโอกาสพูดคุยกับสล่าสม หรือนาย ไชยวัฒน์ บุญสม หัวหน้าวงแห่พาทย์ฆ้องพื้นเมือง คณะสวรรค์ชาวยอง เรื่องการดำรงอยู่ สืบทอดและจัดการองค์ความรู้ว่า ปัจจุบันดนตรีพื้นเมืองล้านนากำลังเสื่อมความนิยม ทางวงรับงานเทศกาลในพื้นที่หมู่บ้าน ตำบลและอำเภอรอบข้างลดน้อยลง เพราะความนิยมของวัยรุ่นสมัยใหม่นิยมชมชอบรถเทคเปิดเพลงดังๆ เต้นบนท้องถนนมากกว่าการฟ้อนร่วมวงแห่พาทย์ฆ้องเหมือนสมัยก่อน เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนนักดนตรีพื้นบ้านเดิมที่รับงานแห่เป็นอาชีพรองจากเกษตรกรก็อยู่ไม่ได้ จึงมีการรวมตัวกันขึ้น ตั้งชื่อกลุ่มว่าคณะกลองบูชาบ้านดอนหลวง มีวัดเป็นศูนย์กลางนัดพบคนเฒ่าคนแก่ที่ยังมีองค์ความรู้เรื่องดนตรีล้านนา มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และสืบทอดแก่ผู้สนใจ เริ่มแรกสอนให้กับเหล่าเพื่อนพ้องอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน รับงานแถวชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียง ก่อนที่จะเป็นที่รู้จักและรับงานเพิ่มในต่างอำเภอ ตลอดจนถึงต่างจังหวัดเช่นจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นต้น 

 ปัจจุบัน สล่าสม (นายช่าง, นักดนตรี, ศิลปิน) ยังเป็นครูพิเศษสอนดนตรีพื้นบ้านล้านนาที่โรงเรียนในอำเภอป่าซาง เช่นโรงเรียนนครเจดีย์ เป็นต้น และผลจากการขาดแคลนความอุดมสมบูรณ์ด้านวัฒนธรรมชุมชน ส่งผลให้สล่าสมต้องออกรับงานอีเว้นท์ทางวัฒนธรรมในระบอบทุนนิยมมากขึ้น เช่น งานแสดงทางด้านวัฒนธรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว งานบรรเลงให้แก่ช่างฟ้อนอีเว้นท์ในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ประทินโฉม งานพืชสวนโลก บรรเลงแก่นักท่องเที่ยวบนถนนคนเดิน ประโคมเปิดตัวเครือข่ายโทรศัพท์ภาคเหนือ ตลอดจนถึงเผยแพร่วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว ณ ต่างประเทศเป็นต้น 


ถึงแม้ว่าการดนตรีล้านนาในสถานศึกษาและองค์กรจะมีความเจริญเนื่องมาจากการสนับสนุนจากภาครัฐในช่วงหลัง แต่การดนตรีล้านนารอบนอก ดนตรีที่ยังรับใช้สถาบันชุมชนของสังคมล้านนากลับถูกมองข้าม จะมีเพียงแต่การส่งนักศึกษาเข้าไปสืบทอดองค์ความรู้เพื่อสนององค์กรภาครัฐเท่านั้น เป็นระบบการเรียนรู้แบบ Artificial Intelligence แบบการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า “ปัญญาประดิษฐ์” ไม่ได้เกิดการพัฒนาระยะยาวหรือปลูกฝังค่านิยมรักและหวงแหนในวัฒนธรรมล้านนาแต่เพียงใด หากเป็นการย้ายภูมิปัญญาเข้าสู่ตัวเมืองเพื่อรับใช้องค์กร และระบอบทุนนิยมเพียงเท่านั้น เกิดปัญหาวัฒนธรรมดนตรีเดิมในวิถีชีวิตคนล้านนาขาดดุลอำนาจในการต่อรองกับสังคมใหญ่ ต้องถอนตัวเองออกจากรากวัฒนธรรมเดิมเข้าสู่การแข่งขันแย่งชิงทรัพยากรทางวัฒนธรรมเพื่อแปรรูปเข้าสู่การตลาด ด้วยขาดการศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างเข้าใจถ่องแท้ และผลจากระบอบการรวมศูนย์อำนาจนี้ส่งผลให้วัฒนธรรมท้องถิ่นอ่อนแอ ขาดผู้นำท้องถิ่นในการจัดการ บริหารวัฒนธรรมอย่างถูกต้อง เพราะปัจจุบันระบบการบริหารจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ยังอยู่ในมือของข้าราชการซึ่งล้วนมาจากการแต่งตั้งบนพื้นฐานของการพัฒนาไร้ทิศทาง


เอกสารอ้างอิง
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (๒๕๔๘). ประชุมจารึกภาคที่
                   ๘ สุโขทัย
. จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกในโอกาสที่วันพระบรมราชสมภพครบ ๒๐๐ ปี วันที่ ๑๘ ตุลาคม
                         พุทธศักราช ๒๕๔๗. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ
: พิมพ์ที่ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด มหาชน.
คมเนตร  เชษฐพัฒนวนิช. (๒๕๔๖). ความเชื่อพื้นบ้านล้านนา : ถ่ายทอดจากประสบการณ์ของท่าน ผู้รู้ในท้องถิ่น.
                         เชียงใหม่
: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.
ธเนศวร์  เจริญเมือง. (๒๕๔๒). ๑๐๐ ปี สายสัมพันธ์ สยาม – ล้านนา (พ.ศ. ๒๔๔๒ – ๒๕๔๒). เอกสารชุดท้องถิ่นของ
                         เราชุดที  ๑ ในโครงการการศึกษาการปกครองท้องถิ่น. เชียงใหม่
: สถาบันมังรายและกลุ่มชินวัตร.
                    . (๒๕๓๖). มาจากล้านนา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ผู้จัดการ.
วิถี  พานิชพันธุ์ . (๒๕๔๘). วิถีล้านนา. เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์ซิลค์เวอร์ม.
อานันท์  กาญจนพันธุ์. (๒๕๒๗). พัฒนาการของชีวิตและวัฒนธรรมล้านนา. พิมพ์ครั้งแรก. เชียงใหม่ : สำนักหอสมุด
                         มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.





วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

Adele - Make You Feel My Love (Live on Letterman) --เพราะเพื่อที่รัก ...



When the rain is blowing in your face,
and the whole world is on your case,
I could offer you a warm embrace
to make you feel my love.

When the evening shadows and the stars appear,
and there is no one there to dry your tears,
I could hold you for a million years
to make you feel my love.

I know you haven't made your mind up yet,
but I would never do you wrong.
I've known it from the moment that we met,
no doubt in my mind where you belong.

I'd go hungry; I'd go black and blue,
I'd go crawling down the avenue.
No, there's nothing that I wouldn't do
to make you feel my love.

The storms are raging on the rolling sea
and on the highway of regret.
Though winds of change are throwing wild and free,
you ain't seen nothing like me yet.

I could make you happy, make your dreams come true.
Nothing that I wouldn't do.
Go to the ends of the Earth for you,
to make you feel my love


เมื่อละอองฝนโปรยปรายบนหน้าเธอ
โลกมันก็เป็นอย่างนี้แหละ
ขอฉันได้ไหมที่อยากสวมกอดเพิ่มไออุ่น
เพราะเพื่อที่รัก ...

อาทิตย์อัสดง ดาวน้อยต่างกระพริบแสง
ไร้ซึ่งคนที่จะคอยซับหยาดน้ำตาเธอ
ขอฉันโอบกอดเธอสักล้านปีได้ไหม ?
เพราะเพื่อที่รัก ...

ฉันรู้และอาจทำได้ไม่ดีเท่าไหร่
แต่จะไม่ทำให้ผิดหวังแน่นอน
แรกรักพบแรกแรกเจอ
ไม่แปรผันเปลี่ยนไปไหน

ฉันโหยหา ฉันเหงากาย ฉันเศร้าใจ
มันทรมานดั่งไฟอเวจี
ไม่มีสิ่งอื่นใดที่ฉันจะไม่ทำ 
เพราะเพื่อที่รัก ...

ถึงพายุโหมกระหน่ำ ม้วนเกลียวคลื่นซัด สาดกระเซ็น
บนถนนสายทุกข์ตรม
ยามเมื่อลมเปลี่ยนทิศ ไร้จุดหมาย
และยังไม่เห็นใครเหมือนฉัน

ฉันจะทำให้ฝันของเธอเป็นจริง และมีความสุข
ไม่มีอะไรที่ฉันจะไม่ทำ
และ จับมือเธอตราบชั่วฟ้าดินสลาย

เพราะเพื่อที่รัก ...








วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555

I'm No Angel - ฉันไม่ใช่พระโพธิสัตว์




"I'm No Angel"


If you gave me just a coin for every time we say goodbye
Well I'd be rich beyond my dreams, I'm sorry for my weary life
I know I'm not perfect but I can smile
and I hope that you see this heart behind my tired eyes
If you tell me that I can't, I will, I will, I'll try all night
and if I say I'm coming home, I'll probably be out all night
I know I can be afraid but I'm alive
and I hope that you trust this heart behind my tired eyes

'cause I'm no angel, but please don't think that I won't try and try
I'm no angel, but does that mean that I can't live my life?
I'm no angel, but please don't think that I can't cry
I'm no angel, but does that mean that I won't fly?

I know I'm not around each night
and I know I always think I'm right
And I can believe that you might look around

'cause I'm no angel, but please don't think that I won't try and try
I'm no angel, but does that mean that I can't live my life?
I'm no angel, but please don't think that I can't cry
I'm no angel, but does that mean that I won't fly?

เธอยังให้เศษเหรียญ ทุกครั้ง เมื่อจากลา
ใช่ ฉันคงรวยเหมือนฝันกลางวัน 
โทษทีสำหรับชีวิตอันน่าเบื่อ
รู้ ฉันไม่ได้พร้อมพรั่ง อย่างน้อยก็ฉีกยิ้มเป็น
และหวังยิ่งว่าจะเห็นดวงใจฉันหลังม่านตาเหนื่อยล้า

ถ้าบอกฉันว่าฉันไม่สามารถ ฉันจะ ฉันจะ ฉันจะพยายามทั้งคืน
รู้ บ้างอาจรู้สึกกลัว - ฉันยังไม่ตาย
และหวังยิ่งว่าจะเห็นดวงใจฉันหลังม่านตาเหนื่อยล้า

เพราะไม่มีเธอ โอว ไม่ต้องคิดเยี่ยงนั้น ฉันจะไม่พยายาม
ฉันไม่ใช่พระโพธิสัตว์ โปรดอย่าคิดว่าฉันอยู่ไม่ได้
ฉันไม่ใช่พระโพธิสัตว์ โปรดอย่าคิดว่าฉันร้องไห้ไม่เป็น
ฉันไม่ใช่พระโพธิสัตว์ โปรดอย่าคิดว่าฉันจะโบยบินอย่างเสรีไม่ได้

รู้ดีว่าสิ่่งที่ให้ไปบางครั้งก็ไม่สมกับผลตอบแทน
และฉันก็รู้ว่า ฉันคิดถูกเสมอ 
และฉันจะเชื่อว่าคุณอาจมองไปรอบๆ บ้าง

ฉันไม่ใช่พระโพธิสัตว์  ไม่ต้องคิดเยี่ยงนั้น ฉันจะไม่พยายาม
ฉันไม่ใช่พระโพธิสัตว์ โปรดอย่าคิดว่าฉันอยู่ไม่ได้
ฉันไม่ใช่พระโพธิสัตว์ โปรดอย่าคิดว่าฉันร้องไห้ไม่เป็น
ฉันไม่ใช่พระโพธิสัตว์ โปรดอย่าคิดว่าฉันจะโบยบินอย่างเสรีไม่ได้