วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
แสงแห่งพระผู้เป็นเจ้า
แสงศักดิ์สิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าอยู่เหนือคุณ รอบตัวคุณ ในตัวคุณ ร่างการคุณเสมือนเครื่องดนตรีในการทอแสงส่องประกายให้โลกงามจากพระเจ้าสู่ความเป็นนิรันดร์ เป็นภาระกิจจาดเบื้องบนในการช่วยเหลือ เราต่างเป็นเครื่องมือของพระองค์ท่านในการสร้างสรรค์โลกงาม บนเส้นทางที่ถูกเลือก คือนักรบแห่งแสงสว่าง Rev. Ana Jones
วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
มายาคติของแสง สี เสียง
ในปี ค.ศ. 1802 นักเคมีชาวอังกฤษ วิลเลียม ไฮด์ วอลลาสตัน เป็นบุคคลแรกที่จดบันทึกรูปลักษณ์ของแถบมืดในสเปกตรัมดวงอาทิตย์ ในปี ค.ศ. 1814 ฟรอนโฮเฟอร์ค้นพบเส้นดังกล่าวแยกต่างหาก และเริ่มต้นการศึกษาอย่างเป็นระบบ และการวัดความยาวคลื่นของแถบเหล่านี้อย่างระมัดระวัง ทั้งหมดแล้ว เขาได้ทำแผนที่เส้นดังกล่าวมากกว่า 570 เส้น และให้ชื่อลักษณะสำคัญด้วยตัวอักษร A ถึง K และเส้นที่อ่อนกว่าด้วยตัวอักษรอื่น การสังเกตแสงอาทิตย์สมัยใหม่สามารถตรวจจับเส้นเหล่านี้ได้หลายพันเส้น
อีกราว 45 ปีให้หลัง กุสตาฟ เคอร์ชอฟฟ์และโรเบิร์ต บุนเซนสังเกตว่าเส้นฟรอนโฮเฟอร์หลายเส้นเกิดขึ้นพร้อมกับเส้นเปล่งแสงอันมีลักษณะเฉพาะที่สามารถบ่งชี้ธาตุเคมีที่ได้รับความร้อนในสเปกตรัมได้ ทั้งสองได้รับข้อสรุปที่ถูกต้องว่าเส้นมืดในสเปกตรัมดวงอาทิตย์นั้นเกิดจากการดูดกลืนโดยธาตุเคมีในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ลักษณะอื่นบางลักษณะที่สามารถสังเกตเห็นได้ถูกระบุว่าเป็นเส้นฐานพิภพซึ่งเกิดจากการดูดกลืนโมเลกุลออกซิเจนของชั้นบรรยากาศของโลก อ้างอิงจาก http://th.wikipedia.org/
ปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์นี้สามารถนำมาจัดแบ่งพื้นที่ของเสียงโดยให้นิยามแทนค่ามายาคติของตัวเลข และความสัมพันธ์กันของจักรวาลมาเป็นสิ่งชี้นำเพื่อประยุกต์ใช้ในองค์ความรู็ที่เกี่ยวข้อง เช่นสีของจักระในร่างกายมนุษย์ที่จัดแบ่งความความถี่ของคลื่นพลังงาน รวมถึงการสั่นสะเทือน
มายาคติของเสียงดนตรี
เสียงของเสียงดนตรี ไม่ว่าจะเป็นวงออเครสตา โทนเสียงนั้นเราเรียกกันว่าเสียงคอนเสิร์ต โดยปรกติแล้วนิยมใช้เสียง A ในการสั่นสะเทือนเท่ากับ 440 เฮิร์ต ที่ได้รับการสถาปนามาเมื่อ ค.ศ. 1939 และถูกใช้ต่อๆกันมาโดยถือเป็นกฏ ตั้งเป็นเกณฑ์สำคัญไม่ว่าวงคอนเสิร์ตนั้นจะบรรเลงที่อินเดีย หรือจีน
สรรเสียงเกิดขึ้นมาพร้อมกับจักรวาล ระดังเสียงมีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับจักรวาล การประสานเสียงของดนตรี เปรียบเสมือนการประสานสอดท่วงทำนองของจักรวาล ที่เกิดจากสรวงสวรรค์ ผสมกลมกลืนกันกับเรื่องราวท่วงทำนองของทางโลก
สรรเสียง สีสรรค์ของเสียง ย่อมเกี่ยวข้องกับดวงดาวและจักรวาล เสมือนการเด็ดดอกไม้ที่สะเทือนไปถึงดวงดาว โดยที่ไม่คาดคิดว่าสรรพสิ่งย่อมเชื่องโยงกันโดยธรรมชาติ เช่นเสียงเพลง กับการบำบัดรักษา ลูกปัด หินสี อัญมณี สู่ทางเลือกใหม่ มายาคติที่เกิดจากการตั้งชุดความหมายว่าเสียงเพลงนั้นสามารถบำบัดรักษาเยี่ยวยาจิตใจได้
มายาคติที่เชื่อมโยงนี้เปรียบเสมือนผลไม้ที่สุกปลั่งลอยแก้มอยู่ท่ามกลางน้ำหวานหอมหวล แด่ดนตรีเพื่อจิตวิญญาณแห่งดนตรี หาใช่เพื่อการประเทืองอารมณ์ อันห้าวหาญ สงบเยือกเย็น ปรีดา หรือเพื่อการรื่นเริง เต้นรำ ตามมายาคติของดนตรีที่โลกพึงให้เป็น
วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ว่าด้วยดนตรี และทางเดินใหม่
ใครหรือที่ศึกษาผู้คนโดยขาดการเชื่อมต่อกับความรัก ด้วยหัวใจ ก็เหมือนคนที่ปล่อยใช้วัชพืชเกาะเกี่ยวพืชผลรุงรัง
ใครก็ตามที่บอกว่ารัก จากใจ แต่ไร้ซึ่งความสงบ หัวใจไร้เสียงดนตรี ก็เหมือนกับคนที่เก็บพืชผล และไม่ได้กิน
ใครก็ตามที่ปลอบประโลมชาวโลกด้วยเสียงเพลง แต่ไม่มีรสแห่งธรรมชาติ ก็เหมือนกับบางคนที่กินของดีแต่ร่างกายไม่เติบโตสักที
Da Dai Li Gi
The Book Of Costoms!
วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
พระคาถาวาณี - พระคาถาเรียกธรรม
มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรี
ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า ขออาราธนานางฟ้า คือพระไตรปิฏก ผู้มีรูปอันงดงาม เกิดแต่ห้องปทุมชาติ คือพระโอฐ ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่กว่านักปราชญ์ทั้งหลาย มะนัง ขอจงมาสู่มโนของข้าเจ้า ข้าเจ้าจะปฏิบัติละเสียซึ่งอาสวะกิเลส ที่ดองอยู่ในขันธะสันดานของข้าพเจ้า ทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ให้สิ้นไป เสื่อมไป ข้าพเจ้าจะไม่ทำให้เป็น อัตตะกิละมัตถานุโยค ให้ลำบากแก่สังขารฯ
พุทธังชีวิตตัง ยาวนิพพานัง สระณัง คัจฉามิ ธัมมังชีวิตัง ยาวนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆังชีวิตตัง ยาวนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ข้าเจ้าขออาราธนา พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า จงมรารับเครื่องสักการะของข้าพเจ้า ในการบัดนี้เถิด
พระคาถานี้สำหรับอาราธนาพระธรรมเข้าสู่ตน เพื่อจะนั่งทางธรรมจะได้สำเร็จตามความมุ่งหมาย หลังจากอาราธนาพระธรรมเข้าสู่ตนแล้ว พึงประกอบกิจต่อไปตามมติของอาจารย์ ที่จะอบรมให้ปฏิบัติกรรมฐาน
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พระสุนทรีวาณี
ณ บัดนี้ จักแสดงเรื่องเรื่อง “พระคาถาสุนทรีวาณี” เป็น ๒ภาค คือ ๑.ภาควิชาการ ๒. ภาคตำนานอันเป็นการสืบค้นและเป็นเรื่องเล่าที่ได้สดับมาเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อท่านผู้ใคร่ศึกษาเรียนรู้ ทั้งยังจะเป็นความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์แก่ผู้เจริญพระคาถาแลบูชาพระสุนทรีวาณี
ภาควิชาการ
พระสุนทรีวาณี แต่เดิมนั้นเป็นภาพพระสุนทรีวาณี(นางฟ้า)สถิตอยู่บนดอกบัว สมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศนเทพวราราม ทรงคิดแบบขึ้นจากพระสูตรสัททาวิเศษ แล้วทรงให้หมื่นศิริธัชสังกาศ-เจ้ากรม (แดง) จัดการเขียนขึ้นเอาไว้ในพระตำหนักของสมเด็จฯ ปรากฏว่าเป็นที่สนพระทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงได้ทรงมีพระราชวิจารณ์เรื่องภาพสุนทรีวาณีนี้ พระราชทานสมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ครั้นกาลต่อมาภายหลังพระองค์ได้ทรงเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ พิมพ์พระราชวิจารณ์สุนทรีวาณีนี้ พระราชทานในงานพระราชทานกุศลคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๗๑
พระสุนทรีวาณี แต่เดิมนั้นเป็นภาพพระสุนทรีวาณี(นางฟ้า)สถิตอยู่บนดอกบัว สมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศนเทพวราราม ทรงคิดแบบขึ้นจากพระสูตรสัททาวิเศษ แล้วทรงให้หมื่นศิริธัชสังกาศ-เจ้ากรม (แดง) จัดการเขียนขึ้นเอาไว้ในพระตำหนักของสมเด็จฯ ปรากฏว่าเป็นที่สนพระทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงได้ทรงมีพระราชวิจารณ์เรื่องภาพสุนทรีวาณีนี้ พระราชทานสมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ครั้นกาลต่อมาภายหลังพระองค์ได้ทรงเสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ พิมพ์พระราชวิจารณ์สุนทรีวาณีนี้ พระราชทานในงานพระราชทานกุศลคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๗๑
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวิจารณ์ภาพสุนทรีวาณี พระราชทานแด่สมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ที่ได้ทูลถามสาเหตุให้ทรงพระราชวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องลัทธิมหายาน กับหินยาน เป็นรูปดอกบัวขึ้นจากน้ำ ดอกกลางเป็นดอกบัวบาน มีรูปนางฟ้านั่งขัดสมาธิอยู่บนนั้น หัตถ์ซ้ายพาดตักอย่างพระมารวิชัย ในอุ้งหัตถ์มีดวงแก้ว หัตถ์ขวาทำอาการกวักดุจพระคันธารราษฎร์ ดอกริมเป็นดอกบัวโรย เบื้องขวามีรูปบุรุษ
เบื้องซ้ายมีรูปสตรีนั่งพับเพียบประนมมืออยู่บนนั้น เบื้องบนมีรูปเทวดาถือเครื่องสักการะดั้นเมฆสองแถวซ้อนกัน เบื้องล่างมีรูปนาคกับสัตว์ต่างๆ ตีความไม่ออกว่าเป็นรูปอะไร แต่มีท่วงทีคล้ายพระทางลัทธิมหายาน ซึ่งทำเป็นดอกบัวขึ้นจากน้ำ มีพระพุทธรูปนั่งบนนั้น องค์เดียวบ้าง สามองค์บ้าง ห้าองค์บ้าง จึงมีพระราชทานไปสอบถามกรมพระสมมติอมรพันธ์ แล้วพระราชทาน พระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัตติวงศ์
สมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ไม่ทราบลัทธิทางมหายาน มีใจใคร่จะทราบจึงเขียนหนังสือกราบทูลถามท้าวถึงความคาดคะเนตามที่สังเกตเห็นมาบ้าง จึงทรงมีพระราชวิจารณ์พระราชทาน
ส่วนทางที่พระสมมติอมรพันธ์ไปสืบนั้น ได้ความว่า เป็นแบบที่สมเด็จพระวันรัต (แดง) คิดออกมาจากคาถาบทหนึ่ง ซึ่งมาในหนังสือสัททาวิเศษ ให้เขียนกรอบไว้ ท่านเรียกว่า “รูปสุนทรีวาณี” กรมพระสมมติอมรพันธ์ ได้นำรูปแผ่นต้นนั้นมาถวายทอดพระเนตร รูปนั้นเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเป็นอันมากจนถึงพระราชดำริจะทำประกอบกับแผ่นศิลาจารึกประดิษฐานไว้ที่วัดเบญจมบพิตร ดูประหนึ่งทรงพระราชดำริให้เป็นที่ระลึกถึงสมเด็จพระวันรัต ด้วย
สมเด็จพระวันรัต (แดง) ได้อธิบายว่า “รูปสุนทรีวาณี” นั้น หมายถึง พระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ตามที่มาในพระคาถานี้ เป็นหลัก
สมเด็จพระวันรัต (แดง) ได้อธิบายว่า “รูปสุนทรีวาณี” นั้น หมายถึง พระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ตามที่มาในพระคาถานี้ เป็นหลัก
มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรี
ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง ฯ
วาณี หมายถึง นางฟ้า คือพระไตรปิฎก มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะสัมภะวะ สุนทะรี
มีรูปอันงดงาม เกิดแต่ท้องแห่งดอกบัว คือพระโอษฐ์แห่งพระพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมปราชญ์ทั้งหลาย
ปาณีนัง สะระณัง เป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ผู้มีปรารถนาทั้งหลาย มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง จงยังใจแห่งข้าพเจ้าทั้งหลายให้ยินดี
มีรูปอันงดงาม เกิดแต่ท้องแห่งดอกบัว คือพระโอษฐ์แห่งพระพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมปราชญ์ทั้งหลาย
ปาณีนัง สะระณัง เป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ผู้มีปรารถนาทั้งหลาย มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง จงยังใจแห่งข้าพเจ้าทั้งหลายให้ยินดี
สมเด็จพระวันรัต (แดง) กล่าวว่า อาจารย์ของท่านทางคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ สอนให้บริกรรมคาถานี้ ก่อนจะเริ่มเรียนพระปริยัติ และเข้าที่ภาวนาทุกคราวไป ท่านผู้ใหญ่ทั้งหลายมีสมเด็จพระสังฆราช (วัดราชสิทธาราม) เป็นต้น ล้วนนับถือคาถานี้อยู่ทั่วกัน จนกระทั่งอาราธนากัมมัฏฐานก็ใช้คาถานี้ ท่านจึงคิดเอาคาถานี้อยู่ทั่วไป จนถึงอาราธนาก็ใช้คาถานี้ ท่านจึงคิดเอามาผูกเป็นรูปปรุงเปรียบเข้าอีกหลายอย่าง หัตถ์ขวาแห่งสุนทรีวาณี
ซึ่งทำเพียงดังอาการกวักนั้นเพื่อจะให้ได้กับคำว่า “เอหิ ปัสสิโก โอปะนะยิโก” ซึ่งถือเอาความหมายว่า เรียกให้มาดูดวงแก้วในหัตถ์ซ้าย เปรียบเป็น อมตะ รูปบุรุษเบื้องขวานั้น เปรียบเป็นภิกษุสงฆ์สาวก รูปสตรีเบื้องซ้ายนั้นเป็นพระภิกษุณีสงฆ์สาวิกา เทวดาแถวล่างนั้นหมายถึงเทวโลก พรหมแถวบน หมายถึงพรหมโลก ต่างมาทำสักการบูชา น่านน้ำภายใต้นั้นเปรียบด้วยสังสารวัฏ นาค และสัตว์น้ำ เปรียบเป็นพุทธบริษัท ท่านหมื่นศิริธัชสังกาศเจ้ากรม (แดง) มาเขียนแล้วเข้ากรอบลับแลตั้งไว้บูชา ภายหลังได้ทำเป็นรูปหล่อขึ้นด้วย
ในสมัยต่อมาสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม หล่อพระกริ่ง ท่านเจ้าคุณมงลราชมุนี ผู้เป็นศิษย์ ก็ได้สร้างพระสุนทรีวาณีขึ้นด้วยโลหะชนวนที่เหลือจากการหล่อพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เป็นรูปลอยนูนออกมางดงามมากทำเป็นแบบเหรียญ มีรูปทั้งหมดทรงกลีบบัว ด้านหลังมีอักษร ม.ค. ๑ อีกทั้งให้บรรดาเยาวชน และนิสิตนักศึกษาทั้งหลาย ผู้เริ่มแรกจะเข้าศึกษา ให้ภาวนาคาถาดังกล่าวนี้ก่อน จะเป็นผู้เจริญด้วยการศึกษาเป็นอย่างดี
อนึ่ง พระสุนทรีวาณี เป็นพระที่ทรงไว้ด้วยความเมตตาอย่างสูง เป็นพระที่เป็นสิริมงคลมหาลาภต่างๆ จึงเหมาะแก่ห้างร้าน บริษัท และร้านค้าทั่วจะมีไว้บูชาเพื่อเจริญด้วยลาภ ยศ ความสุข สรรเสริญ ตลอดจนการเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงานของตน
ภาคตำนานเล่าขาน
อันที่จริงที่กล่าวว่าสมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ ๓ วัดสุทัศน-เทพวราราม (พ.ศ.๒๔๒๐- ๒๔๔๓) ท่านถอดคาถานี้เป็นองค์เทพนารีนั้น ยังคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง แต่ในความเป็นจริงแล้วท่านเจริญพระคาถานี้ดังกล่าวข้างต้นจนกระทั่งวันหนึ่งท่านนิมิตในฝัน ครั้นตื่นจำวัดแล้วจึงเชิญจิตกรหลวงมาเขียนภาพนี้ ดังความหมายข้างต้นในภาควิชาการและชะรอยว่าจิตกรผู้จำลองเขียนความฝันของท่านจะเป็นจิตกรซึ่งมีเชื้อสายจีนที่เขียนภาพจิตรกรรมปลายสมัยรัชกาลที่ ๔ พระรูปแห่งพระสุนทรีวาณีจึงออกมาในลักษณะแบบกึ่งจีน-กึ่งไทย สังเกตได้จากเครื่องสักการะที่เทวาและพระพรหมบูชาโดยถือโคมจีนอันสื่อว่าเป็นเครื่องบูชาชั้นสูงของจีน
ในบันทึกหอสมุดแห่งชาติ ข้าพเจ้าได้รับมาจากการถ่ายไมโครฟีล์ม เล่าเอาไว้ว่า คราวครั้งหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ จะเสด็จไปเจริญสัมพันธไมตรียังต่างประเทศ (ข้าพเจ้าจำไม่ได้ว่าประเทศใด เพราะเอกสารกร่อนสลายไปแล้ว จึงควรที่จะสืบสวนค้นคว้ากันมาประดับความรู้) ด้วยความที่พระองค์มีพระราชศรัทธาในสมเด็จพระวันรัต (แดง) อย่างยิ่งทั้งโดยศีลาจารวัตร ความเชี่ยวชาญในต้นศาสนา ความสามารถในการบริหารการศึกษา และความเชี่ยวชาญเรื่องการบูรณะพระอาราม
จนถึงวางพระราชหฤทัยให้ดูแลงานช่างในการที่ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม จึงเสด็จไปกราบสมเด็จพระวันรัต (แดง) แล้วออกพระโอษฐ์ ว่า... “โยมจะไปเจริญสัมพันธไมตรีต่างประเทศ มิเช่นนั้นชาวต่างชาติจะล่าอาณานิคม โยมมีความกังวลใจ ๒ เรื่อง คือ การฝ่าอันตรายในการเดินทาง และเกรงว่าการเจริญสัมพันธไมตรีจักไม่สำเร็จ พระคุณท่านมีอะไรให้โยมติดตัวไปบ้าง” (ขอวิจารณ์เพิ่มเล็กน้อยว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง คงได้ศึกษาเรื่องเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) สมัยพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานี ที่ใช้อาคมแสดงฤทธิ์จนฝรั่งเศสใช้อาวุธยิงแทงแล้วไม่เป็นอันตราย ฝรั่งเศสจึงยอมเจริญสัมพันธไมตรีด้วย เรื่องนี้ควรศึกษาบันทึกพงศาวดารเอง ข้าพเข้าเป็นเพียงจำได้คร่าวๆ)
เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงตรัสอย่างนี้แล้ว สมเด็จพระวันรัต (แดง) เข้ากุฏิแล้วเขียนพระคาถาสุนทรีวาณีถวาย ทั้งได้ถวายพระพรว่า “ถ้ามหาบพิตรเกิดความกังวลพระทัยในสองประการ ขอจงจำเริญบริกรรมคาถาด้วยศรัทธา สติ สมาธิ ก็จะเกิดองค์ฌาน สมาบัติ พระราชกิจจะสำเร็จดังพระราชฤทัย”
เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกลับสยามประเทศ ได้เสด็จไปนมัสการสมเด็จพระวันรัต (แดง)
เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกลับสยามประเทศ ได้เสด็จไปนมัสการสมเด็จพระวันรัต (แดง)
แล้วตรัสเล่าว่า “พระคาถาสุนทรีวาณีนี้ศักดิ์สิทธิ์ โยมบริกรรม เวลาเหยียบเรือรบฝรั่งขนาดใหญ่ ก็บริกรรม พอเท้าแตะเรือรบ เกิดสะเทือนยาบยวบทั้งลำเรือ พวกฝรั่งตกใจมาก ต่อมาฝรั่งเอาม้าเทศมาให้ขี่ รู้ทีเดียวว่าม้ากับคนไม่คุ้นกันก็จะพยศและสะบัด ฝรั่งจะทำให้อับอายขายหน้า โยมจึงขอหญ้าหนึ่งกำมือ บริกรรมคาถาแล้วให้ม้ากิน ม้ามันเชื่อง บังคับง่าย เป็นที่อัศจรรย์ใจของฝรั่ง (ม้าตัวนั้นก็คือม้าตัวที่ทรงที่บรมราชานุสาวรีย์ หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมนี้เอง จึงเป็นม้าที่ยืนด้วยความเชื่อง มิใช่เลียนอนุสาวรีย์แบบฝรั่งสร้างทั่วไป)
เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงตรัสแล้ว จึงถามประวัติพระคาถา สมเด็จพระวันรัต (แดง) ถวายพระพรเล่าที่มาแล้ว จึงอัญเชิญเสด็จเข้าในกุฏิให้ทอดพระเนตรภาพจิตรกรรมพระสุนทรีวาณี พระพุทธเจ้าหลวงทรงเลื่อมใสยิ่ง จึงออกพระโอษฐ์ยืมไปบูชาเป็นเวลา ๕ ปี กาลต่อมาเมื่อสมเด็จพระวันรัต (แดง) อาพาธใกล้มรณภาพ พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมอาการที่วัดโพธินิมิต-สถิตมหาสีมาราม สมเด็จพระวันรัต (แดง) ได้ถวายพระพรขอคืนภาพพระสุนทรีวาณีแก่วัด ซึ่งก็ได้โปรดฯให้อัญเชิญคืนวัด
พระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระราชศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของพระสุนทรีวาณี เมื่อทรงโปรดให้สร้างโรงเรียนวัดเบญจมบพิตรจึงให้ออกแบบพระสุนทรีวาณี เพื่อเป็นสิริมงคลและเพื่อให้ครูอาจารย์นักเรียนได้บริกรรมคาถานี้ ซึ่งสามารถสืบค้นได้จากประวัติวัดเบญจม์ฯ และประวัติโรงเรียน แต่ปัจจุบันนี้ไม่ทราบว่าท่านผู้บริหารจะให้ความสำคัญหรือไม่อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบนั้นถอดจากจิตรกรรมมาเป็นประติมากรรม ซึ่งข้าพเจ้าเสียดายยิ่งนักที่ไม่มีผู้ใดถอดสร้างรูปเหมือนและเหรียญเพื่อแจกครูอาจารย์ และนักเรียนให้บริกรรม กราบไหว้และห้อยคอ
ข้าพเจ้ามาพบความอัศจรรย์แห่งพระคาถานี้ตอนเมื่ออายุ ๒๗-๒๘ ปี ซึ่งมีความอัศจรรย์มากมายและตั้งใจว่าจะเล่าบันทึกเก็บไว้เป็นตำนาน แต่จะขอบอกเล่าเพิ่มเติมจากประวัติข้างต้นว่า เฉพาะพระสงฆ์ที่บริกรรมพระคาถานี้ในยุครัตนโกสินทร์ คือสมเด็จพระสังฆราช (สุก) เสกข้าวให้ไก่ป่ากินไก่ป่ายังเชื่อง สมเด็จพระวันรัต (แดง) สมเด็จพระสังฆราช (แพ) สมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศฯ พระวิสุทธาธิบดี (ไสว) วัดไตรมิตรวิทยาราม พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดไร่ขิง ท่านเขียนจิตรกรรมไว้ที่วัดไร่ขิงด้วย พระเทพสุวรรณโมลี (สอิ้ง) เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี รูปปัจจุบัน
ข้าพเจ้าเคยเดินทางไปที่จังหวัดสงขลา ไปพบวัดหนึ่งอดีตเจ้าอาวาสชื่อหลวงพ่อทอง (ตอนนั้นท่านมรณภาพแล้ว)ท่านเขียนปั้นพระสุนทรีวาณีไว้ที่หน้าบันอุโบสถ ข้าพเจ้าจึงไม่สงสัยว่าทำไมท่านจึงขลัง
หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรี ท่านเล่าเป็นบันทึกของวัดว่า ท่านบริกรรมคาถาพระสุนทรีวาณี เสกพระปิดตาของท่าน อีกทั้งหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ท่านก็เสกพระปิดตาและวัตถุมงคลของท่านด้วยพระคาถาสุนทรีวาณี
พระคณาจารย์สายวัดสุทัศน์ฯ เมื่อจะเข้าสู่การบริกรรมเสกวัตถุมงคลและลงอักขระ เลขยันต์ ก็บริกรรมคาถาพระสุนทรีวาณี ทุกรูปไป
เรื่องการสร้างพระสุนทรีวาณีในรูปแบบต่างๆ เช่นพระบูชาครอบน้ำพระพุทธมนต์ (ขันน้ำมนต์) ก็มักจะหล่อพระสุนทรีวาณีประดิษฐานยอดครบน้ำมนต์ จวบจนถึงท่านเจ้าคุณพระพิพัฒน์สังวรคุณ (เจ้าคุณถนอม) ซึ่งเป็นศิษย์สืบสายตรงจากเจ้าคุณพระศรีสัจจญาณเถระ (เจ้าคุณประหยัด) เจ้าคุณประหยัดเป็นศิษย์สายตรงสมเด็จพระสังฆราช (แพ) รุ่นน้องของเจ้าคุณพระมงคลราชมุนี (เจ้าคุณศรีฯ สนธิ์) ที่หน้าบันพระวิหารวัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) สะพานพุทธก็มีรูปปั้นพระสุนทรีวาณี
ข้าพเจ้าเมื่อได้รับพระคาถานี้บริกรรมจึงพบความอัศจรรย์ว่า “ผู้ใดปัญญาดี จะสามารถเรียนวิชาทุกประการ และจำได้แม่นยำ ผู้ใดปัญญาไม่ดีนัก บริกรรมแล้วจะเป็นวาสนามหานิยม” ข้าพเจ้าซึ่งนำมาเป็นต้นบทพระกัมมัฏฐานให้ญาติโยมวัดสุทัศน์ฯ และนักเรียนโรงเรียนเบญจมราชาลัยได้บริกรรมก่อนเข้ากัมมัฏฐาน
เรื่องการพิมพ์ภาพพระสุนทรีวาณี เพื่อแจกในบทต้นนั้นเนื่องจากคงเกรงไปว่ารูปพระสุนทรีวาณีตามแบบเดิม มีภูษาพัสตราภรณ์น้อยไป พิมพ์ครั้งที่ ๒ จึงเพิ่มภูษาพัสตราภรณ์ลงไป แต่พระพักตร์ออกจะดูดุๆ อยู่บ้าง
ข้าพเจ้าได้มอบหมายให้พระครูธรรมธร (สุภาพ) ซึ่งทำหน้าที่เป็นพระเลขานุการดำเนินการพิจารณาแบบ ปั้นหล่อขนาดเกือบเท่าตัวคนและขอให้มีรูปพัสตราภรณ์ เพื่อจะได้ประดับเพชรพลอย ยุคแรกสร้าง ๙ องค์ ยุคที่ ๒ อีก ๙ องค์ อัญเชิญไว้วัดสุทัศน์ฯ ๒ องค์ วัดบ้านเกิดข้าพเจ้า ที่อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๓ องค์ วัดพรหมสุวรรณฯ อำเภอตาพระยา ๑ องค์ และทางภาคใต้ รวมทั้งถวายวัดไร่ขิง ๑ องค์ ส่วน ๙ องค์ ที่สร้างใหม่นี้ได้ขอให้ประชาชนเขียนแผ่นชะตาลงในยันต์มหาพิชัยสงคราม แล้วนำแผ่นยันต์มาหล่อ เพื่อประมวลกระแสจิตของคนเป็นหมื่นเป็นแสน กับทั้งลงยันต์ตามตำรับพระกริ่งวัดสุทัศน์ฯ อย่างสมบูรณ์
ข้าพเจ้าได้จำลองภาพพระสุนทรีวาณีไว้ที่วัดคลองเตยใน กรุงเทพฯ จำลองฉากลับแลไว้ศาลาลอยวัดสุทัศน์ฯ สร้างพระผง พระเหรียญนับเป็นสิบรุ่น เป็นพระของขวัญปีใหม่สลับกับพระศรีศากยมุนี เชพเว่น-อีเลฟเว่น สร้างพระสุนทรีวาณีลอยองค์มอบแก่ผู้สวดมนต์ตามแบบที่ท่านพระครูธรรมธร (สุภาพ) ย่อจากองค์บูชาหน้ารถได้ เลี่ยมห้อยคอได้
อนึ่ง ข้าพเจ้าได้ขอให้อาจารย์กฤษณะ สุริยกานต์ ซึ่งเป็นจิตกรเขียนภาพพุทธประวัติ ๓ มิติ(พิมพ์ที่สำนักพิมพ์ธรรมสภา) ได้บริกรรมคาถาพระสุนทรีวาณีแล้วเขียนภาพโดยยึดแบบตั้งเดิมของสมเด็จพระวันรัต (แดง) แต่ขอให้จัดสัดส่วนตามลักษณะงานปั้นซึ่งก็สำเร็จแล้ว จึงขอนำภาพพระสุนทรีวาณีทั้ง ๓ แบบมาแสดงเป็นหลักฐานไว้
ข้าพเจ้าดีใจปิติเป็นอย่างยิ่ง ที่โรงเรียนสาธิตประสานมิตรมัธยม (มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ)โดยผู้อำนวยการและคณะครูอาจารย์ กรรมการสถานศึกษา และศิษย์เก่า จะปรารภสร้าง โดยกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จเพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จในพิธีการหล่อและพุทธาภิเษกจัดเป็นตำนานที่บันทึก และโดยพระบารมีอันเปี่ยมล้นด้วยพรหมวิหารธรรมของพระองค์ จะเป็นกระแสแห่งเมตตา ปัญญา วาสนา บารมี ทุกประการ
ท้ายนี้ ต้องขอประทานอภัยที่การเขียนเล่าเรื่องนี้ มีคำว่า “ข้าพเจ้า” แทนคำว่า “อาตมา” อาจจะดูไม่สุภาพนักหรืออาจดูว่าเป็นคำเขื่อง แต่เพราะเป็นเรื่องเล่า จึงขออนุญาตและขออภัยที่ใช้ คำว่า “ข้าพเจ้า” มา ณ โอกาสนี้
(พระราชวิจิตรปฏิภาณ)
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม
วัดสุทัศนเทพวราราม
กรุงเทพมหานคร
อ้างอิงจาก
คำอาราธนาพระกรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน
ข้าฯ ขอภาวนาพระคุณเจ้า เพื่อจะขอเอายังพระลักษณะ (พระรัศมี) พระขุททะกาปีติธรรมเจ้า นี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้า นี้เถิดฯ
ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ นี้เถิดฯ ขอพระอริยะสงฆ์เจ้า ตั้งแรกแต่พระมหาอัญญาโกญฑัญญะเถรเจ้าโพ้นมา ตราบเท่าถึงพระสงฆ์สมมุติในกาลบัดนี้ จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ นี้เถิดฯ
ขอพระอริยะสงฆ์องค์ต้น อันสอนพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวล จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ นี้เถิดฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวล จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ นี้เถิดฯ
อุกาสะ อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯ จะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคตมะเจ้า เพื่อจะขอเอายังพระลักษณะ (พระรัศมี) พระขุททกาปีติธรรมเจ้า นี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาปรากฏบังเกิดในจุกขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แก่ข้าฯ ในขณะเมื่อข้า นั่งภาวนาอยู่นี้เถิดฯ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร
ปุริสะทัมมะสารถิ สัตถา เทวมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง
อะระหัง อะระหัง อะระหัง
องค์ภาวนา พุท - โธ
ให้ตั้งจิตคิด นึก รู้ อยู่ใต้นาภี คือใต้สะดือ ๒ นิ้วมือ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)