อยู่นี่แล้ว


วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

The Origin Of Love - Hedwig And The Angry Inch : แปล รักนั้นมาไง ?


When the earth was still flat,
And the clouds made of fire,
And mountains stretched up to the sky,
Sometimes higher,
Folks roamed the earth
Like big rolling kegs.
They had two sets of arms.
They had two sets of legs.
They had two faces peering
Out of one giant head
So they could watch all around them
As they talked; while they read.
And they never knew nothing of love.
It was before the origin of love.

The origin of love

And there were three sexes then,
One that looked like two men
Glued up back to back,
Called the children of the sun.
And similar in shape and girth
Were the children of the earth.
They looked like two girls
Rolled up in one.
And the children of the moon
Were like a fork shoved on a spoon.
They were part sun, part earth
Part daughter, part son.

The origin of love

Now the gods grew quite scared
Of our strength and defiance
And Thor said,
"I'm gonna kill them all
With my hammer,
Like I killed the giants."
And Zeus said, "No,
You better let me
Use my lightening, like scissors,
Like I cut the legs off the whales
And dinosaurs into lizards."
Then he grabbed up some bolts
And he let out a laugh,
Said, "I'll split them right down the middle.
Gonna cut them right up in half."
And then storm clouds gathered above
Into great balls of fire

And then fire shot down
From the sky in bolts
Like shining blades
Of a knife.
And it ripped
Right through the flesh
Of the children of the sun
And the moon
And the earth.
And some Indian god
Sewed the wound up into a hole,
Pulled it round to our belly
To remind us of the price we pay.
And Osiris and the gods of the Nile
Gathered up a big storm
To blow a hurricane,
To scatter us away,
In a flood of wind and rain,
And a sea of tidal waves,
To wash us all away,
And if we don't behave
They'll cut us down again
And we'll be hopping round on one foot
And looking through one eye.

Last time I saw you
We had just split in two.
You were looking at me.
I was looking at you.
You had a way so familiar,
But I could not recognize,
Cause you had blood on your face;
I had blood in my eyes.
But I could swear by your expression
That the pain down in your soul
Was the same as the one down in mine. 
That's the pain,
Cuts a straight line
Down through the heart;
We called it love.
So we wrapped our arms around each other,
Trying to shove ourselves back together.
We were making love,
Making love.
It was a cold dark evening,
Such a long time ago,
When by the mighty hand of Jove,
It was the sad story
How we became
Lonely two-legged creatures,
It's the story of
The origin of love.
That's the origin of love.

........................................................................

เมื่อครั้งเมื่อโลกยังแบน
เมฆหมอกเต็มไปด้วยไฟโขมง
ภูเขานั้นทอดยาวสูงเสียดฟ้า
หรืออาจสูงกว่านั้นนะ
มนุษย์เมื่อเริ่มต้นนั้น
รูปร่างก็คล้ายถังกลมๆ ใบหนึ่ง
มีแขน 4 แขน ขา 4 ขา 
มี 2 ใบหน้าอยู่ข้างๆ กัน 
แปะอยู่บนหัวเบ่อเร่อ
สามารถช่วยกันมองรอบๆ ได้
พูดคุย ขณะอีกด้านอ่านหนังสือ
แน่นนอนพวกเขาไม่รู้จักรัก
มันมีมาก่อนกำเนิดความรัก

ต้นกำเนิดความรัก 

พวกเขามีอยู่สามเพศอยู่แล้ว
หนึ่งละม้ายสองชาย หันหลังชนกัน
คือบุตรของอาทิตย์
คล้ายกันนั้นเหมือนว่าจะถูกรัดไว้เหมือนกัน
คือบุตรของโลก
คู่ละม้ายคล้ายสองสาว
ผนึกติดกันเป็นหนึ่งเดียว
และบุตรของพระจันทร์
ที่เกิดจากแรงผลักทั้งสองขั้ว
พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของอาทิตย์ และโลก
คู่บุตรชายหญิง

ต้นกำเนิดความรัก 

โอ เมื่อเมื่อพระผู้เป็นเจ้าพิโรธ
ด้วยความกล้าแกร่งซึ่งอำนาจของพวกเรา
เทพสายฟ้ากล่าว
"ฉันจะฆ่าพวกมันทั้งหมด ด้วยฆ้อนแห่งสายฟ้านี้"
ดังเช่นฉันฆ่ายักษา
ไม่ !!! ท่านมหาเทพปราม
ใช้วิธีของฉันดีกว่า
ผ่าอัสนีอันคมตัดมันคล้ายกรรไกร
เหมือนเมื่อครั้งตัดขาออกจากปลาวาฬ
เหมือนเปลี่ยนไดโนเสาร์มาเป็นจิ้งจกน้อย
พรางหยิบคมอัสนีอย่างพิถีบรรจง
พร้อมเสียงหัวเราะพิลึก
"กูจะแบ่งพวกมันจากบนลงล่าง"
ตัดมันออกมาเป็นสองท่อนซ้ายขวา
พายุมืดครึ้มทอประกายไฟประทุซ่าน
รอมตัวเป็นก้อนกลมด้วยอาคมกล้า

และแล้วดวงไฟพุ่งตกลงมา
ร่วงพุ่งทอแสงส่อง
คมอสุนีฝานฟาดเฉือน
บุตรแห่งอาทิตย์ โลก และจันทร์
เหมือนเทพอินเดียจะรับหน้าที่
ขึงตึงด้าย เย็บส่วนที่เราถูกตัดออกจากกัน
เย็บเข้าต่อติดไม่ให้ตาย กลายเป็นรูสะดือ
เพื่อย้ำถึงสิ่งที่เคยเสียไป

เมื่อนั้นโอซิริส และเทพแห่งแม่น้ำไนล์
ก่อมหันต์อมเอาพายุใหญ่ 
แล้วเป่าคู่เราให้แยกออกจากกัน
ท่ามกลางอุทกภัย พายุใหญ่โหมกระหน่ำ
ในเกลียวคลื่นมหาสมุทรพิโรธ
เพื่อจะลบล้างพวกเราออกไป
แม้หากไม่เชื่อขืนขัด
พวกเทพเจ้าจะลงมาตัดพวกเราอีกที
ตัดให้เต้นดาวดิ้นบนขาข้างเดียว
และมองดูด้วยตาที่้เหลืออยู่ 1ดวง

ครั้งที่แล้วฉันเห็นคุณ
เมื่อครั้งเราแยกเป็นสอง
คุณก็กำลังจ้องมาที่ฉัน
ในสายตาที่คุ้นเคยประหลาด
แต่ฉันไม่อาจรับรู้
หรือเพราะคุณมีเลือดฝาดที่ใบหน้า
มีสายตาที่ร้อนผ่าวเปี่ยมปรารถนา
สาบานเลยว่าอาการที่แสดงออกนี้
มันรวดร้าวลงไปถึงจิตวิญญาณ
สู่ขั้วหัวใจ ความเจ็บปวดนี้
ตัดออกมาเป็นเส้นตรง
ลากผ่านเข้าสู่หัวใจ
เราเรียกมันว่า "ความรัก"

ดังนั้นเราจึงพยายามห่อแขนเพื่อที่จะกอดกันอีกครั้ง
พยายามที่จะกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของกันอีกครั้ง
เราเสพสังวาส สุขสมเจตนารมณ์
ในค่ำคืนที่เย็นค่ำ เช่นเมื่อครั้งที่เคยเป็นมา
ก่อนที่จะถึงมือของมหาเทพ

มันเป็นเรื่องน่าเศร้า
ว่าทำไมเราถึงเป็นเช่นนี้
สิ่งมีชีวิตสองขาอันน่าเศร้า
มันคือเรื่องราวของความรัก
และกำเนิดความรัก 




The Origin Of Love ที่พูดถึงความรักโดยอ้างอิงเนื้อหาจาก Symposium ของเพลโต (แต่ก่อนมนุษย์ตัวติดกัน แต่ถูกเทพเจ้าจับแยก ทำให้เราต้องตามหาอีกครึ่งหนึ่งของเรา ซึ่งอาจเป็นเพศเดียวกันหรือเพศตรงข้าม)  ถ้าใครเคยอ่าน Symposium ของเพลโต ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในรากฐานความคิดแบบตะวันตก (ทั่วโลกในปัจจุบัน) เชื่อแน่ว่าคุณต้องผ่านตากับเรื่องกำเนิดมนุษย์ที่เพลโตเล่าไว้เป็นแน่
กำเนิดมนุษย์ของเพลโตบอกไว้ว่า แต่เดิมมนุษย์นั้นเป็นสิ่งมีชีวิตกลมๆอย่างหนึ่ง มี 4 แขน 4 ขา มีหลัง 2 หลัง และมีอวัยวะเพศสองชุดอยู่อย่างนี้ในตัวเดียวกัน มีทั้งชาย-หญิง และทั้งชายทั้งหญิงในร่างเดียว มนุษย์ที่ว่ามีอำนาจสูงส่งยิ่ง แถมยังกำแหงหาญเกินเหตุในสายตาของเทพด้วย


ในที่สุด เทพซุสก็เลยมีปัญหาให้เทพอพอลโลส่งสายฟ้ามาฟาดแบ่งมนุษย์ออกเป็น 2 ร่าง ก็เลยทำให้มนุษย์ต้องแยกจากกัน และวิธีเดียวที่มนุษย์จะกลับมาสมบูรณ์ได้อีกครั้งนั้นก็คือการตามหาอีกส่วนที่หายไปของตัวเองให้พบ เรื่องเหล่านี้ก่อให้เกิดตำนานรักRomance ฉบับข้ามเวลามาพบกัน
ในความเป็นจริงแล้ว soulmate หรือที่แปลได้ความรวมๆ ในภาษาไทย ว่าเนื้อคู่นั้น ไม่ได้หมายถึงคนเพียงคนเดียว ที่จะมาเป็นคู่กับเรา อย่างที่เราเคยเข้าใจกันมา หากเรามีความเชื่อในเรื่องของภพชาติ และการกลับชาติมาเกิดแล้ว ความหมายที่แท้จริง สำหรับ soulmate คือ วิญญาณที่เคยร่วมกรรมกัน ในชาติที่ผ่านๆ มา และมาพบกันอีกครั้ง เพื่อชดใช้กรรมกันในชาตินี้นอกจากนี้ เนื้อคู่ไม่ได้มีเพียงหนึ่ง ชาตินี้เราอาจพบเจอเนื้อคู่มากมาย แต่เขาอาจจะไม่ได้เกิดมา เพื่อเป็นคู่กับเรา หลายคนเกิดมา พร้อมกับความสัมพันธ์ในรูปแบบอื่นๆ อาจจะเป็นเพื่อน หรือคนในครอบครัวก็ได้

สาเหตุที่เราไม่ได้เป็นคู่กับคนคนเดียวทุกๆ ชาติไป เป็นเพราะแต่ละชาติที่เราเกิดมานั้น เราจะต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เราไม่ได้รับจากชาติที่ผ่านมา และเนื้อคู่แต่ละคน จะทำให้เราได้เรียนรู้การใช้ชีวิต ที่ต่างๆ กันออกไปดังนั้น "ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องขวนขวาย และค้นหาว่าคนคนนั้นเป็นใคร และเขาหรือเธอคนนั้นอยู่ที่ไหน" เพราะเมื่อถึงเวลา เขาจะมาเจอกับเราเอง เขาอาจจะกำลังเดินทางข้ามเวลา เพื่อมาพบกับเราอยู่ก็ได้ และหากว่าเขายังไม่มาสักที ก็จงรู้ไว้เถิดว่า หลายคนในโลกนี้เกิดมา เพื่อเรียนรู้ที่จะอยู่คนเดียว...

อีกหนึ่งความเห็นว่า
The Origin of Love เพลงช้าแต่หนักแน่น ที่เนื้อเพลงนำเอาแนวคิดเรื่องความรักของนักปราชญ์ชาวกรีกนามว่าอริสโตฟานิส จากบันทึก Symposium ของเพลโต ที่กล่าวว่าความรู้สึกที่คนเราต้องการใครซักคนก็เหมือนกับการตามหาส่วนหนึ่งของร่างกายที่ขาดหายไป เพราะแต่ก่อนสมัยที่โลกยังแบน(เพราะยังไม่รู้ว่ามันกลม) มนุษย์ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. ลูกของพระอาทิตย์ ที่มีลักษณะเป็นผู้ชายตัวติดกัน (เป็นตัวแทนของเกย์) 2. ลูกของพระจันทร์ ที่มีลักษณะเป็นผู้ชาย-ผู้หญิงตัวติดกัน และ 3. ลูกของพิภพ ที่มีลักษณะเป็นผู้หญิงตัวติดกัน (เป็นตัวแทนของเลสเบี้ยน) แต่ต่อมาเมื่อมนุษย์ทั้ง 3 กลุ่มลองดีกับพระเจ้า (ในที่นี้หมายถึงซูส แต่ในเพลงมีการนำเทพเจ้าจากศาสนาอื่นมายำรวมกันด้วย) พระเจ้าจึงลงโทษพวกเขาด้วยการผ่าครึ่งพวกเขาออกจากกัน จากนั้นก็เย็บแผลพวกเขาจนสนิท (มีร่องรอยเหลืออยู่ตรงสะดือ) และจับพวกเขาให้กระจัดกระจายออกจากกัน แล้วเตือนเป็นการทิ้งท้ายว่าถ้าขืนลองดีอีกจะผ่าอีกครึ่งที่เหลือ นั่นก็คือฆ่าให้ตายนั่นเอง หลังจากนั้นมนุษย์ที่เหลือแค่ 2 ขา 2 แขน ก็ต่างวิ่งและไขว่คว้าส่วนที่ขาดหายของตัวเองมาเติมเต็มกันให้วุ่นวาย โดยวิธีการที่จะกลับไปสู่ร่างปฐมภูมิอีกครั้งก็คือการเอาร่างมาแนบชิดกันหรือการร่วมรักนั่นเอง ซึ่งบางคนก็ลองผิดลองถูกไปเรื่อย บ้างก็โชคดีได้เจอเนื้อคู่ บ้างที่ยังหากันไม่เจอก็มีไม่น้อย

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

แนวทางปฏิบัติธรรมของหลวงปู่ดูลย์


"ถ้ามีเวลาสำหรับหายใจ ก็ต้องมีเวลาสำหรับภาวนา"

"ทุกข์ ต้องกำหนดรู้ เมื่อรู้แล้วให้ละเสีย ไปไว้มันทำไม"

"ขายอะไรก็ดีทั้งนั้นแหละ ถ้ามีคนซื้อ"

"ถ้ายังประมาทอยู่ ก็นับว่ายังไม่ได้รับรสชาติของพระศาสนาแต่ประการใดเลย เพราะสิ่งเหล่านี้ยังเป็นของภายนอกทั้งนั้น เมื่อพูดถึงประโยชน์ ก็เป็นประโยชน์ภายนอก คือเป็นไปเพื่อสงเคราะห์สังคม เพื่อสังเคราะห์ผู้อื่น เพื่อสงเคราะห์อนุชนรุ่นหลัง หรือเป็นสัญลักษณ์ของศาสนวัตถุ ส่วนประโยชน์ของตนที่แท้นั้น คือ ความพ้นทุกข์ "จะพ้นทุกข์ได้ก็ต่อเมื่อรู้ จิตหนึ่ง..."

"แค่นี้อดทนไม่ได้หรือ ถ้าแค่นี้อดทนไม่ได้ จะเอาชนะกิเลสตัณหาได้อย่างไร?"

"การเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสนาภาวนานั้น  จะเริ่มต้นโดยวิธีไหนก็ได้ เพราะผลมันเป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว ที่ท่านสอนแนวปฏิบัติไว้หลายแนวนั้น เพราะจริตของคนไม่เหมือนกัน จึงต้องมีวัตถุ สี แสง และคำสำหรับบริกรรม เช่น พุทโธ อรหัง เป็นต้น เพื่อหาจุดใด จุดหนึ่งให้จิตรวมอยู่ก่อน เมื่อจิตรวม สงบ แล้วคำบริกรรมนั้นก็หลุดหายไปเอง แบ้วก็รอยเดียวกัน รสเดียวกัน คือมี วิมุติ เป็นแก่น มีปัญญา เป็นยิ่ง" .

"การไม่กังวล การไม่ยึดถือ นั่นแหละคือวิหารธรรมของนักปฏิบัติ"

"ผู้ใดหลงใหลในตำราและอาจารย์ ผู้นั้นไม่อาจพ้นทุกข์ได้ แต่ผู้ที่จะพ้นทุกข์ได้ต้องอาศัยตำราและอาจารย์เหมือนกัน"

"ถ้าจิตไม่สงบก็ไม่ควรให้มันออกไปไกล ใช้สติระลึกไปแต่ในกายนี้ ดูให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา หาสารนะแก่นสารไม่ได้ เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว จิตก็เกิดความสลดสังเวช เกิดนิพพิทา ความหน่าย คลายกำหนัด ย่อมตัดอุปาทานขันธ์ได้เช่นเดียวกัน" 

"หลักธรรมที่แท้จริงนั้น คือ จิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้ว นั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม" 

"การกระทำของเราในสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงกิริยากายภายนอกที่เป็นไปในสังคม หาใช่เป็นกิริยาจิตที่นำไปสู่ภพ ภูมิ หรือมรรคผล นิพพานแต่ประการใดไม่"

"คำสอนทั้ง๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น เป็นเพียงอุบายให้คนทั้งหลายหันมาดูจิตนั่นเอง คำสอนของพระพุทธองค์มีมากมายก็เพราะมีกิเลสมากมาย แต่ทางที่ดับทุกข์ได้มีทางเดียว พระนิพพานการที่เรามีโอกาสปฏิบัติธรรมที่ถูกทางเช่นนี้มีน้อยมาก หากปล่อยโอกาสให้ผ่านไปเราจะหมดโอกาสพ้นทุกข์ได้ทันในชาตินี้ แล้วจะต้องหลงอยู่ในความเห็นผิดอีกนานแสนนาน เพื่อจะพบธรรมอันเดียวกันนี้ ดังนั้นเมื่อเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้ว รีบปฏิบัติให้หลุดพ้นเสีย มิฉะนั้นจะเสียโอกาสอันดีนี้ไป เพราะเมื่อสัจจธรรมถูกลืม ความมืดมนย่อมครอบงำปวงสัตว์ให้อยู่ในกองทุกข์สิ้นกาลนาน. 



“ปัญญาภายนอกคือปัญญาสมมติ ไม่ทำให้จิตแจ้งในพระนิพพานได้ ต้องอาศัยปัญญาอริยมรรคจึงจะเข้าถึงพระนิพพานได้ ความรู้ของนักวิทยาศาสตร์ เช่น ไอน์สไตน์ มีความรู้มาก มีความสามารถมาก แยกปรมาณูที่เล็กที่สุดจนเข้าถึงมิติที่ 4 แล้ว แต่ไอน์สไตน์ไม่รู้จักพระนิพพาน จึงเข้าพระนิพพานไม่ได้ จิตที่แจ้งในอริยมรรคเท่านั้น จึงเป็นไปเพื่อการตรัสรู้จริง ตรัสรู้ยิ่ง ตรัสรู้พร้อม เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ เป็นไปเพื่อนิพพาน” 

“บุคคลไม่ควรเศร้าโศกอาลัยอาวรณ์ถึงสิ่งนอกกายทั้งหลายที่มันผ่านพ้นไปแล้ว มันหมดไปแล้ว เพราะสิ่งเหล่านั้น มันได้ทำหน้าที่ของมันอย่างถูกต้องโดยสมบูรณ์ที่สุดแล้ว” 

“สัจธรรมทั้งหมดมีอยู่ประจำโลกอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าตรัสรู้สัจธรรมนั้นแล้ว ก็นำมาสั่งสอนสัตว์โลก เพราะอัธยาศัยของสัตว์ไม่เหมือนกัน หยาบบ้าง ประณีตบ้าง พระองค์จึงเปลืองคำสอนไว้มากถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เมื่อมีนักปราชญ์ฉลาดสรรหาคำพูดให้สมบูรณ์ที่สุดเพื่อจะอธิบายสัจธรรมนั้น นำมาตีแผ่เผยแจ้งแก่ผู้มุ่งสัจธรรมด้วยกัน เราย่อมจะต้องอาศัยแนวทางในสัจธรรมนั้นที่ตนเองไตร่ตรองเห็นแล้วว่าถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดนำแผ่ออกไปอีก โดยไม่ได้คำนึงถึงคำพูด หรือไม่ได้ยึดติดในอักขระพยัญชนะตัวใดเลยแม้แต่น้อยเดียว” 

“แม้ที่ว่าปล่อยวางอารมณ์ได้ชั่วขณะหนึ่งนั้น ถ้าสังเกตจิตไม่ดี หรือสติไม่สมบูรณ์เต็มที่แล้ว ก็อาจเป็นได้ว่าละจากอารมณ์หยาบไปอยู่กับอารมณ์ละเอียดก็ได้ จึงต้องหยุดความคิดทั้งปวงเสีย แล้วปล่อยจิตให้ตั้งอยู่บนความไม่มีอะไรเลย”

อ้างอิงจากหนังสือ หลวงปู่ฝากไว้ -บันทึกคติธรรมและธรรมเทศนา ของ พระรชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

อนุภาคแห่งจิต


อนุภาคแห่งการเกิด ทั้งการวนเวียนของอิเล็กตรอนที่เป็นส่วนลบ ฉันนั้นความทุกข์จะวนเวียนความสุขเสมอ และคอยคุมความสุขให้เสถียร(อุุเบกขา) หากไม่สมดุลกันแล้ว พลังงานก็จะกระจายออกมาข้างนอก สามารถเป็นที่ + และ - ด้วยเรื่องของอนุภาค หากประจุใดประทุออกมา มนุษย์ก็จะแสดงส่วนของอานุภาคนั้นออกมา เกิดเป็นอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ออกมา ก่อนที่จะกลับสู่สภาพสมดุลเหมือนเดิม ไม่รู้ว่าคิดไปเองหรือเปล่านะ

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

สร้าง ความเป็นอาเซียน ด้วยดนตรี? นพ.อุดม เพชรสังหาร


สร้าง ความเป็นอาเซียน ด้วยดนตรี? 


ต้องยอมรับว่ากระแส “ประชาคมอาเซียน” กำลังมาแรง หลายองค์กรจัดเวทีประชุมสัมมนาอภิปรายเรื่องอาเซียนกันอย่างคึกคัก แต่น่าเสียดายที่มักจะเน้นไปที่ประเด็นทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนเป็นหลัก ประเด็นทางสังคม วัฒนธรรม ตลอดจนการอยู่ร่วมกันของผู้คนกว่า 500 ล้านคน ยังไม่ค่อยพูดถึงกันสักเท่าไรทการรวมตัวของประชาคมอาเซียนไม่ได้มีแค่ประเด็นทางเศรษฐกิจหรือการค้าขายเท่านั้น ยังมีเรื่องการศึกษาและวัฒนธรรม เรื่องความมั่นคงของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมอยู่ด้วย แต่ไม่รู้ด้วยเหตุใด เรื่องการค้าขาย เงินๆ ทองๆ จึงเด่นเสียจนกลบเรื่องอื่นๆไปเลย

เราสนใจกันแต่เรื่องเงิน สนใจแต่เรื่องใครจะได้เปรียบเสียเปรียบ สนใจแต่เรื่องจะแข่งขัน จะเอาชนะกันในทางธุรกิจ การค้าการขาย ก็น่าคิดเหมือนกันว่าสุดท้ายสังคมที่มองแต่เรื่องการแข่งขัน การแย่งชิงกัน หน้าตาจะออกมาอย่างไร  ผมว่าเรื่องการอยู่ร่วมกันของผู้คนที่มีความหลากหลายทางเผ่าพันธุ์ หลากหลายวัฒนธรรม หลากหลายความเชื่อ จำนวนกว่า 500 ล้านคนนี่แหละเรื่องใหญ่ ถ้าจัดการไม่ดีมีโอกาสที่จะเป็นชนวนของปัญหาและนำมาสู่ความขัดแย้งต่างๆได้มากทีเดียว

เราอาจมองว่าประชาคมยุโรปยังเดินหน้าไปได้ (แม้จะเริ่มเซเพราะปัญหาเศรษฐกิจและการเงิน) แต่เราต้องไม่ลืมว่าประชาคมอาเซียนกับประชาคมยุโรปมีความเป็นมาแตกต่างกัน คนยุโรปแม้จะอยู่กันคนละประเทศ แต่ก็มีวัฒนธรรมหลายๆอย่างที่เหมือนกัน หรือมีความยึดมั่นศรัทธาในวัฒนธรรมเดียวกันมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนา ดนตรี วรรณกรรม สถาปัตยกรรม ตลอดจนการเดินทางไปมาหาสู่กันของชนชาติต่างๆในยุโรปเป็นเรื่องปรกติที่เกิดขึ้นตั้งแต่โบร่ำโบราณแล้ว คนยุโรปจึงไม่ใช่คนแปลกหน้าของกันและกันแม้จะอยู่กันคนละประเทศก็ตาม ด้วยเหตุนี้การหลอมรวมกันเป็นประชาคมยุโรปจึงไม่ได้ก่อผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านมากมายนัก (ยกเว้นการใช้เงินสกุลเดียวกันที่มารู้ตัวเอาทีหลังว่าส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจอย่างรุนแรง) 

ประวัติศาสตร์ของอาเซียนต่างจากประวัติศาสตร์ของประชาคมยุโรปโดยสิ้นเชิง

เราต่างคนต่างอยู่กันมานานแล้ว มีหลายคนบอกว่าก็ตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมของบรรดาประเทศจักรวรรดินิยมทั้งหลายนั่นแหละที่ผู้คนในภูมิภาคแถบนี้เริ่มแยกตัวออกจากกัน เริ่มทะเลาะกันเรื่องพรมแดน เริ่มต่างคนต่างอยู่อีกอย่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเราเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากที่สุดภูมิภาคหนึ่งของโลก

เรามีทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดูเรามีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย มีภาษาพูด ภาษาเขียนเป็นของตนเอง มีชุดความเชื่อ ค่านิยม บรรทัดฐานมากมายนับไม่ถ้วน และนานมาแล้วที่เราไม่เคยนำความแตกต่างหลากหลายเหล่านี้ให้มามีปฏิสัมพันธ์กันเลย ตรงกันข้ามเราต่างพยายามใช้ความแตกต่างเหล่านี้สร้าง “อัตลักษณ์” ของตนเองขึ้นมาเพื่อความเป็นชาติของเราเอง

มาคราวนี้เราจะต้องรวมกันโดยที่ “ความแตกต่าง” หรือ “อัตลักษณ์” ที่แต่ละคนมีต้องไม่สูญหายไป เราต้องอยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างของแต่ละคน ซึ่งไม่ง่ายเลยสำหรับผู้คนที่ถูกปลูกฝังความเชื่อแบบชาตินิยมมาโดยตลอด แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะในความต่างนั้นผู้คนในแถบนี้ก็ยังมีอะไรที่เชื่อมโยงกันอยู่ เหมือนกับที่ผู้คนในทวีปยุโรปมีอะไรที่ยึดโยงกัน อย่างเช่นวัฒนธรรมดนตรี เป็นต้น

ผมขอเสนอให้เราใช้ดนตรีเป็นสะพานเชื่อม เพื่อเชื่อมคนในภูมิภาคนี้เข้าหากันเหมือนในอดีต แต่ไม่ใช่การจัดคอนเสิร์ตแล้วเอาร็อกสตาร์ของแต่ละประเทศมาประชันกันอย่างที่หลายๆหน่วยงานทำแล้วประกาศว่าเป็นคอนเสิร์ตเพื่อเชื่อมวัฒนธรรม ก็ไม่รู้ว่าวัฒนธรรมไหนเชื่อมกับวัฒนธรรมไหน เพราะในที่สุดก็คือการ “อวดของ” ของแต่ละฝ่ายแค่นั้นเอง

สิ่งที่ผมอยากเสนอก็คือการศึกษาค้นคว้าว่าวัฒนธรรมดนตรีของแต่ละประเทศ แต่ละชาติพันธุ์ในแถบนี้ มีอะไรบ้างที่มีรากเหง้า มีจุดกำเนิด มีประวัติศาสตร์ร่วมกัน และมีความเกี่ยวพันกันมาจวบจนปัจจุบัน ดนตรีไทยกับดนตรีลาวมีอะไรบ้างที่เชื่อมกัน คนไทยกับคนลาวมีใครบ้างที่ทำงานด้านดนตรีด้วยกัน ทำไปถึงไหนแล้ว และจะเดินไปข้างหน้าด้วยกันอย่างไร

เครื่องดนตรีของไทย ลาว พม่า ชวา มอญ มลายู มีอะไรบ้างที่คล้ายกัน ทำไมถึงคล้ายกัน จุดเริ่มต้นมาจากไหน แล้วเกิดการเคลื่อนย้ายถ่ายเทอย่างไรจึงทำให้กลายเป็นวัฒนธรรมร่วมของผู้คนในแถบนี้ การค้นคว้าหรือการสืบค้นแบบนี้คือสิ่งที่จะทำให้เราเห็นรากเหง้าของแต่ละประเทศว่าเชื่อมโยงกันอย่างไร จากนั้นก็เผยแพร่ให้ทุกๆคนได้รับรู้ว่าเราคนไทย ลาว พม่า เวียดนาม มีรากเหง้าเกี่ยวข้องกัน และผมอยากเห็นว่าความรู้แบบนี้ต้องมีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาไปเลย เพราะคือหัวใจที่จะทำให้เด็กๆของเรามองเห็นว่าตัวตนของเขานั้นเกี่ยวข้องกับผู้คนชาติอื่นอย่างไร

ที่ผ่านมาวิชาทำนองนี้มีการเรียนการสอนเฉพาะในหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาดนตรีเท่านั้น ซึ่งผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราต้องนำความรู้เหล่านี้มาสอนเด็กของเราตั้งแต่เล็กๆ เพื่อหล่อหลอมความเข้าใจในตนเองและผู้อื่นผ่านวัฒนธรรมดนตรี อีกเรื่องที่ผมอยากเห็นก็คือการค้นคว้าวิจัยเรื่องคุณประโยชน์ของดนตรีในแง่มุมอื่นๆ เช่น การแพทย์ การศึกษา การพัฒนาสังคมและมนุษย์ เพราะดนตรีไม่ได้เป็นแค่เรื่องของความบันเทิงเท่านั้น หากแต่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาโรคได้อีกด้วย

ผมเคยเขียนไปแล้วว่าปัจจุบันวงการแพทย์ในซีกโลกตะวันตกใช้ดนตรีในทางการแพทย์อย่างไรบ้าง ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ทำให้วิชาดนตรีมีที่ยืนอย่างมั่นคงในทางการแพทย์แล้วอย่างไร ซึ่งบ้านเราหรือแถบเอเชียอาคเนย์นี้ก็ใช่ว่าจะไร้ซึ่งวัฒนธรรมดนตรี หากแพทย์ นักวิชาการทางด้านดนตรี ครู นักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัด นักพัฒนาสังคม ฯลฯ ในภูมิภาคแถบนี้ได้จับมือศึกษาวิจัยร่วมกันเพื่อนำเอาภูมิปัญญาทางดนตรีของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ของเรามาใช้เพื่อการพัฒนาภูมิภาคนี้ก็น่าจะสร้างประโยชน์ได้มากทีเดียว

ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนจนถึงต้นเดือนกรกฎาคม 2555 สมาคมดนตรีและการแพทย์สากล (International Association for Music and Medicine) จะจัดให้มีการประชุมวิชาการด้านดนตรีและการแพทย์ขึ้นในประเทศไทย นักวิชาการที่สนใจเกี่ยวกับการใช้ดนตรีเพื่อการรักษาโรคและการพัฒนามนุษย์จากทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยของเราจะมาร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความรู้กันที่กรุงเทพฯ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการเปิดพรมแดนความรู้ว่าด้วยดนตรี การแพทย์ และการพัฒนามนุษย์ การพัฒนาสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรา

ท่านที่สนใจรายละเอียดของการประชุม หรืออยากเข้าร่วมประชุม ดูได้ใน www.iammthailand.com และนี่อาจเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสร้างประชาคมอาเซียนของเราให้มีความสมบูรณ์ สามารถที่จะเป็นคำตอบให้กับทุกๆชีวิตในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ได้

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 7 ฉบับที่ 358 วันที่ 5-11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 หน้า 52 คอลัมน์ สายใยครอบครัว โดย นายแพทย์อุดม เพชรสังหาร

Dream Theater - The Spirit Carries On วิญญาณอยู่ในไหน ?


Where did we come from?
Why are we here?
Where do we go when we die?
What lies beyond
And what lay before?
Is anything certain in life?

They say, life is too short,
The here and the now
And you’re only given one shot
But could there be more,
Have I lived before,
Or could this be all that we’ve got?

If I die tomorrow
I’d be allright
Because I believe
That after we’re gone
The spirit carries on

I used to be frightened of dying
I used to think death was the end
But that was before
I’m not scared anymore
I know that my soul will transcend

I may never find all the answers
I may never understand why
I may never prove
What I know to be true
But I know that I still have to try

If I die tomorrow
I’d be allright
Because I believe
That after were gone
The spirit carries on


Move on, be brave
Dont weep at my grave
Because I am no longer here
But please never let
Your memory of me disappear


Safe in the light that surrounds me
Free of the fear and the pain
My questioning mind
Has helped me to find
The meaning in my life again
Victorias real
I finally feel
At peace with the girl in my dreams
And now that I’m here
It’s perfectly clear
I found out what all of this means

If I die tomorrow
I’d be allright
Because I believe
That after were gone
The spirit carries on



นิโคลัส
ตัวฉันนั้นมาจากที่ใดหนอ
ทำไมเนอะจึงมาอยู่นี่หนา
เมื่อตายจากไปไหนที่ใดนา
เป็นปัญหาคำถามมาเนิ่นนาน

แล้วอะไรสิ่งใดอยู่เบื้อหน้า
อะไรนะรออยู่ ณ ฝั่งนู้น
หนึงชาตินี้เกิดมาในร่างกาย
อะไรไหม มีอะไรที่แท้จริง

ชอบพูดว่าเวลานั้นสั้นนัก
สั้นมากๆ สั้นจริง สั้นจุ๊ดจู๋
แต่โอกาสชีวิตลืมตาดู
ก็รู้อยู่อย่างน้อยก็เกิดมา

หากที่คิดไม่เป็นเช่นนั้นเล่า
หากว่าเราเคยเกิด มาก่อนหน้า
หรือว่าทุกชีวิตที่เกิดมา
มีชะตาให้คงชีพ เพียงชาติเดียว


แต่ต้องตกตึกตายในพรุ่งนี้
ดวงฤดี จะยังใสไม่มัวหมอง?
เพราะเชื่อว่าแม้ร่างกายไร้จิตครอง
วิญญาณจ้องยังท่องเที่ยวเที่ยวเรื่อยไป

เคยหวาดกลัวความตายเป็นนักหนา
เคยคิดว่าตายคือจบ สบสาบสูญ
ณ ตอนนี้ความกลัวและอาดูร
ค่อยๆ สูญหายไปไม่อาวรณ์

แม้ไม่ได้รู้ทุกคำเฉลย
แม้ไม่เคยได้เข้าใจทำไมหนอ
แม้ไม่ได้พิสูจน์ความจริงทุกข้อ
แต่ที่รู้ ต้องไม่ท้อ สู้ต่อไป

แต่แม้หากต้องตกตายในพรุ่งนี้
ดวงฤดี ก็จะยังคงแจ่มใส
เพราะเชื่อว่าแม้ชีพวายกายแหลกไป
จิตวิญญาณอันยิ่งใหญ่จะอยู่ยง

วิคตอเรีย
มีชีวิตต่อไปนะเพื่อนเอ๋ย
อย่าเศร้าเลย น้ำตาเพื่อนอย่าให้ไหล
บัดนี้แม้ถึงเวลาจากกันไกล
จงจำใจจะผูกจิตรไว้ด้วยกัน

นิโคลัส
ในวงล้อมแห่งแสงสว่างใส
อันห่างไกลความเจ็บปวดและเศร้าหมอง
ดวงใจอันล่องลอยและหมายปอง
ได้เข้าครองความหมายแห่งชีวิต

วิคทอเรีย
คือความจริงที่มีอยู่
นางในฝันที่รับรู้ไมตรีจิต
ณ ที่นี้ที่เราพบกันเยี่ยงมิตร
ข้อข้องจิตที่เคยมีก็ลี้ไป

แต่แม้หากต้องตกตายในพรุ่งนี้
ดวงฤดี ก็จะยังคงแจ่มใส
เพราะเชื่อว่าแม้ชีพวายกายแหลกไป
จิตวิญญาณอันยิ่งใหญ่จะอยู่ยง.....

(Credit to Blue Nile)

Scorpions - Life Is Too Short ชีวิตนั้นแสนสั้น


Have you ever seen the morning
When the sun comes up the shore
And the silence makes
A beautiful sound
Have you ever sat there waiting
For the time to stand still
For all the world to stop
From turning around

And you run
'Cause life is too short
And you run
'Cause life is too short

Have you ever seen the glowing
When the moon is on the rise
And the dreams are close
To the ones that we love
Have you ever sat there waiting
For heaven to give a sign
So we could find the place
Where angels come from

And you run
'Cause life is too short
And you run
'Cause life is too short
And you run
'Cause life is too short
And you run
'Cause life is too short

There's a time that turns
I'd turn back time
But I don't say I can
It only works if you believe in the truth
Well there's a time to live
And a time to cry
But if you're by my side
I will try to catch a star
I'll try to catch a star
Just for you

And I run
'Cause life is too short
And I run
'Cause life is too short
And I run
'Cause life is too short
And I run
'Cause life is too short

Too short
Too short
Life is too short

Too short
Too short
Life is too short

ดีใจหรือเปล่าเมื่อตื่นมาสัมผัสยามเช้า
อาทิตย์เจ้าโผล่แย้มจากขอบฟ้า
สรรเสียงเงียบไร้พรรณนา
ด้วยปรีดาสุขใจเวิ้งวังเวง

เคยนั่งแล้วรออะไรบ้างไหม?
สำหรับเวลาที่ยังเดินไม่หน่ายเหนื่อย
สำหรับโลกที่หมุนไม่เหนื่อยหน่าย

แต่มนุษย์กลับวิ่ง วิ่ง จนตาย 
เพราะชีวิตนั้นสุดแสนสั้นเกินไป
วิ่งเหนื่อยกายหน่ายใจ ไร้สุขจริง

เคยเห็นไหมแสงจันทร์นวลทอแสงส่อง
ศศิต้องละอองไอน้ำค้างหนาว
เพราะเพื่อใครสักคนที่รักแล้ว
เคยรอแคล้ว รอเก้อ รอ รอ รอ

หากยังรอต่อไป จะรอไหม
รอเปิดใจเปิดโลกเปิดความฝัน
รอบางสิ่งบางอย่างเป็นสัญญาณ
เพื่อพบพานฝั่งฝันหรือความจริง

และยังวิ่ง วิ่งไป วิ่งไปสู่
วิ่งเข้าสู้ วิ่งสู่ วิ่งไปฝัน
วิ่งต่อไป วิ่งไป ว่าสักวัน
เวลานั้นจะหวนย้อนคืนมา

ใช่จริงนั้นวิ่งไปไกลแสนเหนื่อย
ใจนั้นเฉยฝันนั้นจะจริงหมาย
นั่นสินะ ยังไงต้องดำเนินกาย
ต้องอาศัยกับความจริง และน้ำตา

ดวงดาวนั้นรออยู่จงอยู่เฉย
ฉัยจะลอยเลยผ่านเอื้อมคว้าฉวย
คว้าเท่าไหร่ คว้าไป ทั้งระทวย
หวังเพื่อช่วยให้เธอสุขสมใจ


และยังวิ่ง วิ่งไป วิ่งไปสู่
วิ่งเข้าสู้ วิ่งสู่ วิ่งไปฝัน
วิ่งต่อไป วิ่งไป ว่าสักวัน
เวลานั้นจะหวนย้อนคืนมา








วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

Heiner Goebbels - Heiner Goebbels


คู่หู  The Duo Goebbels/Harth (1975–1988)  นักประพันธ์ นักดนตรีคู่หูชาวเยอรมัน ผู้อำนวยเพลงละคร นักบรรเลงคีย์บอร์ด และดนตรีในรูปแบบของการผสมผสานมากมาย ในรูปแบบของการด้นทำนองโดยการผสมผสานในรูปแบบที่ลงตัว ก่อนที่จะมาดังในพื้นที่นอกยุโรป จากแนวดนตรีเชิงทดลองผสมผสาน ได้อารมณ์ ดิฉันคิดว่าเวลาที่ฝนตกนี้ ฟังเพลง At last I am free นี้ มันก็เพราะแบบปล่อยใจล่องลอยแบบประหลาด



วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

บทแนะนำ และวิจารณ์ หนังสือว่าด้วยเรื่องมานุษยดนตรีวิทยา




หนังสือเล่มนี้ให้ความสนใจไปที่วิธีคิด และการเก็บข้อมูลทางด้านมานุษยดนตรีวิทยาเป็นหลัก โดยผู้เขียน ได้บอกเล่าเรื่องราวบทเรียนผ่านประสบการณ์ตรง และแนวคิดที่ได้รับจากการเก็บข้อมูลภาคสนาม ผ่านหัวข้อ ประเด็นต่างๆ 31 ประเด็น ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาโดยมุ่งเน้นไปที่การเก็บข้อมูลภาคสนามด้านมานุษยดนตรีวิทยาเป็นหลัก ซึ่งสามารถนำไปเป็นแนวทางในการศึกษา และเก็บข้อมูลในทุกภาคสนาม วัฒนธรรมดนตรีได้เป็นอย่างดี เนื้อหาเพลงดนตรีเน้นในเรื่องของดนตรีโลก (World Music) ผสานเข้ากับวิธีคิดแบบนักมานุษยวิทยา เป็นสาขาวิชามานุษยดนตรีวิทยา ในหัวข้อสำคัญๆ 4 ภาคตอนใหญ่ ดังนี้ 

ภาคที่ 1 ดนตรีโลก ว่าด้วยเรื่องที่มาของมานุษยดนตรีวิทยา วิธีคิด และระบบเสียง ความแตกต่างระหว่างสาขาวิขา และจุดยืน แบ่งเป็น 9 ประเด็นได้แก่ 1.The Harmless Drudge : Defining Ethnomusicology 2. The Art of Combining Tone : The Music Concept 3. Inspiration and Perspiration : The Creative Process 4. The Universal Languge : Universals of Music 5. The Non-universal Language : Varieties of Music 6. Apples and Oranges : Comparative Study 7. I Can't Say a Thing until I've Seen the Score: Transcription and Notation 8.In the Speech Mode: Contemplating Repertories 9. The Most Indefatigable Tourists of the World: Tunes and Their Relationships 

ภาคที่ 2 ภาคสนาม ว่าด้วยเรื่องดารเก็บข้อมูลภาคสนาม กลวิธีในการเก็บข้อมูล การแฝงตัวเข้าไปเก็บข้อมูลภาคสนาม และแนวคิดในการสัมภาษณ์ต่างๆ 10. Come Back and See Me next Tuesday: essentials of Fieldwork 11.You Will Never Understand this Music: Insiders and Outsiders 12. Hanging on for Dear Life: Preservation and Archives 13. I Am the Greatest: Ordinary and Exceptional Musicians 14. You Call That Fieldwork? Redefining the 'Field' 15. What Do You Think You're Doing? The Host's Perspective 

ภาคที่ 3 มนุษย์และวัฒนธรรม ว่าด้วยเรื่องดนตรี และวัฒนธรรม ผ่านผู้คน แนวคิดของวัฒนธรรมดนตรีผ่านผู้คนการเปลี่ยนแปลงเชิงความคิด และขอบเขตของข้อมูล การตีความ และข้อจำกัดต่างๆ 16. Music and “That Complex Whole”: Music in Culture 17.The Meat-and-Potatoes Book: Musical Ethnography 18. Music Hath Charms: Uses and Functions of Music 19. In the Beginning: Origins of Music 20. The Continuity of Change: On People Changing Their Music 21. Recorded, Printed, Written, Oral: Traditions 22. The Basic Unit of All Human Behavior and Civilization: Signs and Symbols 23. Location, Location, Location! Interpreting Geographic Distribution 24. The Whys of Musical Style: Determinants 

ภาคที่ 4 หมวดเบ็ดเตล็ด ว่าด้วยเรื่องปลีกย่อยต่างๆ ที่น่าสนใน และน่าติดตาม กล่าวย่อยเป็นบทความดังนี้ 25. I've never heard a Horse Sing: Musical Stratification 26. The Creatures of Jubal: Organology 27. How Do You Get to Carnegie Hall? Teaching and Learning 28. I'm a Stranger here Myself: Women's Music, Women in Music 29. Diversity and Difference: Some Minorities 30. A New Era: The 1990s and Beyond และ 31. The Shape of the Story: Remarks On History

มานุษยดนตรีวิทยา (Ethnomusicology) มีพัฒนาการมาจากดนตรีวิทยา แต่เน้นศึกษาแตกแขนงออกมาเป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ เริ่มเป็นรูปเป็นร่างสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อนักมานุษยดนตรีวิทยาเริ่มเข้าไปศึกษาดนตรีในทวีปต่างๆ นอกยุโรปมากขึ้น เป็นการเริ่มต้นการศึกษาการดนตรีในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี และมนุษย์ คือ วัฒนธรรม วิถีชีวิต และสังคม ทำให้การศึกษาของมานุษยดนตรีวิทยา มีวิชาต่างๆ เกี่ยวข้องได้แก่มานุษยวิทยา สังคมวิทยา จิตวิทยา ปรัชญา เข้ามาเพื่ออธิบายความสัมพันธ์นี้อย่างลึกซึ้ง และมีเหตุผลมากยิ่งขึ้น 

จากเนื้อหา Nettl ยังพัฒนาความหลากหลายของแหล่งข้อมูล และวัฒนธรรมดนตรี ตลอดจนถึงวิธีคิดอยู่เสมอจากหนังสือรูปแบบเดิมที่มี 28 ประเด็นในฉบับเดิม มาสู่ 31 ประเด็น เพื่อให้เนื้อหาในหนังสือมีความหลากหลาย และครอบคลุมในสาขาวิชามากที่สุด มีหัวข้อหรือประเด็นตัวอย่างดังนี้ 1. ดนตรีโลก สามารถแตกประเด็นได้เป็นหัวข้อดังนี้ The Harmless Drudge : Defining Ethnomusicology ได้ขยายความถึงที่มาและปัญหาของคำจำกัดความ ว่าอะไรคือมานุษยดนตรีวิทยา รวมไปถึงขอบเขต แนวคิด กล่าวโดยสรุปการศึกษามานุษยดนตรีวิทยาคือ การศึกษาเก็บข้อมูลดนตรีที่ไม่ใช่ดนตรีตะวันตก ตลอดจนถึงดนตรีของชนกลุ่มนอก ชายขอบ หรือต่างวัฒนธรรม จากมุมมองของนักมานุษยดนตรีวิทยายุคเริ่ม มองดนตรีที่ไม่ใช่ดนตรีตะวันตกว่าเป็นดนตรีชายขอบ แปลกประหลาด โดยมุ่งเน้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางด้านดนตรีเน้นที่ประวัติทางด้านวัฒนธรรมที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนเป็นหลัก The Art of Combining Tones : The Music Concept กล่าวถึงวิธีคิด พิจารณาด้านเสียงในการเก็บข้อมูล ซึ่งไม่สามารถจัดแบ่งหรือใช้บรรทัดฐานของดนตรีตะวันตกเข้ามาเป็นเกณฑ์ ฉะนั้นเกณฑ์การพิจารณาดนตรีในการออกภาคสนามในสาขามานุษยดนตรีวิทยา ตัวดนตรีนั้นจึงเป็นวัฒนธรรมมากกว่า Inspiration and Perspiration The Creative Process อันเป็นบริบทของดนตรีตะวันตกเสียส่วนใหญ่ เน้นถึงการสร้างอัตลักษณ์ตัวตนของศิลปินในวัฒนธรรมดนตรีตะวันตก ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมดนตรีอื่น ในการสร้างสรรค์ผลงาน ตลอดจนถึงการเปลี่ยนแปลงผ่านนักประพันธ์ ที่เป็นแรงบันดานใจให้กับผู้เขียนในการศึกษาดนตรีที่หลากหลาย และลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น 

The Universal Language : Universals of Music ผู้เขียนพยายามเปรียบเทียบระหว่างดนตรีวิทยา (Musicology) กับ มานุษยดนตรีวิทยา (Ethnomusicology) ว่าดนตรีวิทยานั้นคือศาสตร์ของดนตรีตะวันตก หรือดนตรีชั้นสูง เน้นศึกษาตัวดนตรี หรือดนตรีที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน ตรงกันข้ามกับมานุษยดนตรีวิทยาที่เน้นศึกษาที่ตัวบุคคล การออกภาคสนาม ความเป็นพื้นบ้าน และนอกกรอบของนักดนตรีวิทยาที่ทำไว้ กล่าวคือนักมานุษยดนตรีวิทยาเริ่มที่จะขยายวงการศึกษาดนตรีที่กว้างขวางขึ้น เพราะดนตรีวิทยากำลังจะหมดความสำคัญลง ส่วนหัวข้อต่างๆ ในบทนี้เน้นกล่าวถึงแนวคิดหลักในการศึกษา และทัศนคติต่างๆ ที่ต้องทิ้ง อะไรที่ต้องเหลือก่อนที่จะเป็นนักมานุษยดนตรีวิทยา เช่นในหัวข้อ The Most Indefatigable Tourists of the World : Tune and Their Relationships ความสัมพันธ์ของระบบเสียง และมายาคติทางด้านวัฒนธรรม กล่าวถึงความสัมพันธ์ของรูปแบบตัวดนตรี ความเกี่ยวเนื่องทางระบบประวัติศาสตร์ผ่านสังคม ผู้คน และรูปแบบของดนตรีที่ปรากฏเป็นการจัดประเภทของเครื่องดนตรี วิธีการบรรเลง และวัฒนธรรมดนตรีโลกขึ้นมา 

มานุษยดนตรีวิทยาเป็นการศึกษาดนตรีที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ของสังคมใดสังคมหนึ่ง ผ่านมิติทางประวัติศาสตร์ โดยศึกษาตัวดนตรี สังคม และวัฒนธรรม รวมถึงแนวคิดทางดนตรีของผู้คน การสร้างเครื่องดนตรี รูปแบบของดนตรี บทเพลง การขับร้อง การบรรเลง บทบาทหน้าที่ และการใช้ดนตรีในโอกาสต่างๆ การดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงของดนตรีในสังคม การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับสังคม และวัฒนธรรมของมนุษย์ในท้องถิ่นต่างๆ (เน้นที่ดนตรีที่ไม่ใช่ดนตรีตะวันตก) เป็นการศึกษาดนตรีที่ไม่ตายตัว และไม่มีวันจบสิ้น เนื่องจากดนตรีมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสังคมอยู่เสมอ ฉะนั้นการศึกษาของมานุษยดนตรีวิทยา โดยมากเป็นการศึกษาดนตรีที่มีการสืบทอดแบบมุขปาฐะ (oral history) การศึกษาเก็บข้อมูลจึงเป็นการวิจัยภาคสนาม โดยการหาข้อเท็จจริงจากแหล่งต่างๆ ที่ปรากฏในขณะนั้น โดยไม่จำกัดเวลา สถานที่ และประเภทของดนตรี เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงความเชื่อมโยงต่างๆ ต่อไป ซึ่งดูเหมือนว่าการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีในการศึกษาต่างๆ จะเพิ่งความสำคัญในการศึกษาวิเคราะห์เป็นอย่างมาก 

In the Field ภาคสนาม มนุษยดนตรีวิทยาเป็นการศึกษาดนตรีพื้นเมือง ศิลปะดนตรีตะวันออก และดนตรีร่วมสมัยในวิธีการสืบทอดแบบมุขปาฐะ (Oral Tradition) โดยมีประเด็นในการศึกษา อาทิเช่น รากฐานการก่อเกิดดนตรี การพัฒนาและความเปลี่ยนแปลงทางดนตรี สัญลักษณ์และลักษณะดนตรี เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับดนตรีโดยรอบ (บริบท) บทบาทของหน้าที่ของดนตรีต่อสังคม โครงสร้างของดนตรี วิถีการดำรงอยู่ของดนตรี และดนตรีที่เกี่ยวข้องกับการเต้นรำ รวมถึงศิลปะดนตรีประจำท้องถิ่นหรือดนตรีพื้นเมือง (Folk Song) ของตะวันตกด้วย นักมานุษยดนตรีวิทยาจะมุ่งเน้นในการศึกษาดนตรีที่ยังคงอยู่ (Living Music) ของวัฒนธรรมที่ใช้การถ่ายทอดด้วยปากเปล่า ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร มุ่งศึกษาดนตรีของผู้ไม่รู้หนังสือ ดนตรีของชนกลุ่มน้อย ดนตรีที่ถ่ายทอดด้วยปากเปล่าของชาติที่มีวัฒนธรรมอันเก่าแก่ในซีกโลกตะวันออกและดนตรีพื้นเมือง ใช้การรวบรวมข้อมูลในแง่พฤติกรรมของมนุษย์เพื่ออธิบายว่า มนุษย์เล่นดนตรีเพื่ออะไร อย่างไร และวิเคราะห์บทบาทของดนตรีกับพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมนั้นๆ ดำเนินการศึกษาโดยการลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลและการบันทึกดนตรีที่พบเพื่อนำมาจดบันทึก วิเคราะห์ และเก็บเป็นหลักฐาน การจดบันทึกดังกล่าวทำได้ 2 วิธี คือ 1. การบันทึกโน้ตอย่างพอสังเขป (Prescriptive) เป็นการบันทึกโน้ตอย่างคร่าวๆ ใช้เก็บเป็นหลักฐานประกอบมากกว่านำมาวิเคราะห์ทางทฤษฎีดนตรี 2.การบันทึกโน้ตอย่างละเอียด (Descriptive) เป็นการบันทึกเสียงและจังหวะที่ได้ยินอย่างละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้

การวิเคราะห์ดนตรีทำได้ 2 แบบ คือ 1. ทำการศึกษาโครงสร้างโดยสังเขปของดนตรีชนิดนั้นๆ ทำการศึกษาโดยลงลึกในแต่ละวัฒนธรรมดนตรี ซึ่งการศึกษาลักษณะลงลึกนี้ ในบางครั้งผู้ศึกษาสามารถรวบรวมเป็นทฤษฎีดนตรีโดยเฉพาะของชนชนาตินั้นๆ ได้เลย การศึกษาดนตรีแล้วลงลึกถึงวัฒนธรรมถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการศึกษามานุษยดนตรีวิทยา เพราะจะทำให้ทราบถึงประวัติศาสตร์ของประเทศ ประวัติศาสตร์ดนตรี ความเปลี่ยนแปลงของดนตรีที่สอดคล้องกับสภาพสังคมและวัฒนธรรม สิ่งที่ยังคงอยู่ ที่กำลังพัฒนา และที่กำลังหมดสิ้นไป และคงไม่มีใครสามารถปฏิเสธถึงอำนาจของทุนนิยม และความเจริญ ทั้งนี้รวมไปถึงวัฒนธรรมสมัยนิยม (Pop - Culture) ที่ย่างกรายเข้าไปในย่านทุกวัฒนธรรม รวมถึงสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงให้บั่นทอนความอุดมสมบูรณ์ของวัฒนธรรมดนตรีให้หมดไป 

เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปไม่มีวันสิ้นสุดนี้ อะไรหรือ สำคัญที่สุด ในความเป็นประวัติศาสตร์ดนตรีอันแสนยาวนาน ในมุมมองที่ยังอ่อนด้อยต่อทัศนคติด้านประวัติศาสตร์ เพราะว่าบางส่วนมันคือ สภาพการณ์ยินยอมให้กับGeopolitical(การเมืองซึ่งอาศัยภูมิศาสตร์ เขตแดนเป็นหลัก) ถ้าหนึ่งในนิยามทางประวัติศาสตร์ เป็นดังเช่นการผูกมัดร้อยเรียงซึ่งเหตุการณ์สำคัญในอดีตเท่านั้น นั่นก็คือ ประวัติศาสตร์ดนตรีวิทยาแน่นอนอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ถ้าจะเกิดความคาดหวังต่อทัศนะคติในมุมมองทางประวัติศาสตร์นี้ คำตอบก็จะกลายสภาพเป็นข้อสงสัย เคลือบแคลงใจแทน อย่างไรก็ตาม ความเบื่อหน่ายในการลำดับความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของดนตรีวิทยา ผลจึงมีวิวัฒนาการใหม่เป็น Ethnomusicology มานุษยดนตรีวิทยา ซึ่งจากบทความต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้ Nettl พยายามทำตัวเป็นนักเก็บข้อมูลเชิงสนามมากกว่าการคิดวิเคราะห์ทางด้านดนตรี ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่า Nettl พยายามปฏิเสธองค์ความรู้เดิมทางดนตรีวิทยาอย่างไม่แยแส และหันมาซบอก กับเครื่องมือใหม่ (เทคโนโลยี เครื่องมือวิทยาศาสตร์) แทนซึ่งทั้งหมดนี้ไม่เพียงตอบคำถามความเป็นไปของวัฒนธรรมไม่ได้แล้ว ข้อมูลที่ได้มายังมีลักษะที่คล้ายกับการทำสารคดีอีกด้วย 

การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ความเป็นเทคโนโลยีที่กว้างไกล ทันสมัย สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยนักมานุษยดนตรีวิทยา กระเด็นออกจากเส้นทางที่ควรจะเป็น จากความช่วยเหลืออันมหาศาลของเทคโนโลยีชั้นสูง ผลให้ปัจจุบันนักมานุษยดนตรีวิทยาเชื่อมั่นว่าไม่มีสิ่งใดที่พวกเขาจะทำไม่ได้ ในวามเชื่อที่ยังแฝงไปด้วยแนวความคิดแบบจักรวรรดินิยม ปัจจุบันอำนาจทางเลือก ทางเทคโนโลยีก็ยังขยายไปอย่างกว้างขวาง จากม้วนวีดีโอ สู่การวิเคราะห์ ช่วยเหลือของมันสมองกล คอมพิวเตอร์ ไอโฟน และอาจสามารถกล่าวได้ว่า “อะไรหละที่เคยเป็นไปไม่ได้เมื่อวาน วันพรุ่งนี้แหละมันจะเป็นจริง!” ในภาคของมานุษยดนตรีวิทยาสนามอันแสนทันสมัยในปัจจุบันก็เช่นกัน เป็นธรรมชาติ ธรรมดาที่จะเห็น พวกนักมานุษยดนตรีวิทยามาพร้อมกับ ศาสตราวุธ ยุทธโทปกรณ์ทันสมัย หลายสตางค์ แต่ถึงอย่างไรรางวัลที่เป็นผลงาน หรือผลลัพธ์ออกที่มาก็ไม่ได้เป็นไปตามที่วาดฝันไว้? 

นักมานุษยดนตรีวิทยา หรือนักข่าว? ในกรอบความคิดเดิมของนักมานุษยดนตรีวิทยา ที่ยังเน้นเรื่องการศึกษา เก็บข้อมูลทางด้านดนตรีเปรียบดังการทำสารคดี ทั้งนี้เนื้อหาสาระนั้นกลับเป็นมุมมองของคนในวัฒนธรรมใหญ่ เข้าไปสังเกต หรือการดนตรีในวัฒนธรรมเล็ก เช่นผลงานของ Steven Feld ที่ช่วยอธิบายให้เรารู้สึกประทับใจ ตราตรึงใจ ในทฤษฏี หลักการ ท่ามกลางดงคน Kaluli ใน ปาปัวนิวกีนี เรื่องเล่า นิทานปรัมปรา ของชาวT' boli of Mindanao ในฟิลิปปินส์ บรรยายบอกเล่าผ่าน Manoleta Mora หรือ Shimeda Takashi's ศึกษารายงานเรื่องเนื้อร้องเพลง และคำพูดดั้งเดิม ของชาวปีนัง ซาลาวัค ในมาเลเซีย ทั้งหมดนี่อาจเป็นรายงานการสำรวจทางมานุษยดนตรีวิทยา สำรวจโลก ที่น่าตื่นเต้น หรือผจญภัยไปกับชาติพันธุ์ ดุริยางค์ ที่น่าตื่นใจ บางครั้งสิ่งพวกนี้ก็ทำให้หวนคิดระหว่างความคล้ายคลึงที่ว่า ตกลงจะเป็นนักข่าวบนหน้ากระดาษหนังสือพิมพ์กันหรือไร? กับการส่งลูกน้องออกไปปฏิบัติงานโดยหัวหน้างานที่รับผิดชอบคิดปฏิบัติการ เพียงเพื่อสำรวจพื้นผิวโลกอย่างนั้นหรือ? ส่วนนักข่าว และผู้รายงานข่าว คอยรายงานสถานการณ์ปัจจุบัน เหมือนเด็กที่คอยจดสมุดบันทึกประจำวัน นี่หรือคือสิ่งที่พวกเขาทำกัน ออกภาคสนามกันเถอะ! นักมานุษยดนตรีวิทยา(เหล่านี้) ได้บรรจงเขียนสิ่งเหล่านี้ ส่งข่าวแก่พวกเขาท่านหัวหน้าหรือผู้ควบคุมอย่างขยันขันแข็ง ไม่ว่าจะอะไรก็ตามบทความที่กลั่นกรองออกมา อาจจะเรียกว่า วิทยานิพนธ์ฉบับรายวันอะไรก็เป็นไปได้

จากวิวัฒนาการมานุษยดนตรีวิทยาก่อนจะมาถึง Nettl พบว่าสาขาวิขานี้ เกิดขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 16 โดยเริ่มมีการศึกษาดนตรีต่างชาติ หรือดนตรีต่างถิ่น พบหลักฐานเมื่อ ค.ศ.1768 และยังพบหลักฐานทางวรรณคดีตะวันตกในศตวรรษที่ 18 โดยเป็นการศึกษาดนตรีพื้นเมืองของชาวจีน แคนนาดา อินเดีย และฟินแลนด์ด้วย ในศตวรรษที่ 19 กลุ่มนักดนตรีวิทยาเริ่มใช้การบันทึกเสียงลงกระบอกเสียงเพื่อเป็นตัวอย่างสั้นๆ และเก็บเป็นข้อมูลทางดนตรีขึ้น เพราะว่าข้อมูลทางด้านดนตรีวิทยานั้น นับวันเริ่มขาดแคลนไปจากสังคมนักดนตรี ในปีค.ศ.1901 คาร์ล สตุมปฟ์ (Carl Stumpf) ร่วมกับ ออตโต อับบราฮัม (Otto Abraham) ได้ศึกษาดนตรีไทยจากการบันทึกกระบอกเสียงที่ประเทศเยอรมัน และได้สรุประบบเสียงดนตรีไทยไว้ในหนังสือชื่อ Tonsystem and Musik der Siamese กล่าวได้ว่าวิวัฒนาการของมานุษยดนตรีวิทยามีจุดเริ่มต้นจุดเดียวกันกับธุรกิจดนตรี หรือ Music Business อย่างใกล้ชิดจนบางครั้งก็แยกไม่ออกเลยว่า หากไม่มีเทคโนโลยีเหล่านี้แล้ว นักมานุษยดนตรีวิทยาจะดำรงอยู่ได้อย่างไร 

ในปีค.ศ.1955 ได้มีการศึกษาทางมานุษยดนตรีวิทยาอย่างจริงจัง โดยการตั้งเป็นสมาคมด้านมานุษยดนตรีวิทยาขึ้น (Society for Ethnomusicology) มีการจัดประชุมกันของผู้เชี่ยวชาญดนตรีพื้นเมืองและนักมานุษยดนตรีวิทยา โดยมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนางานดนตรีของซีกโลกตะวันออกอย่างมาก ปรากฏการณ์ดังกล่าวตอกย้ำปรากฏการณ์ Musical Colony Viewpoint จากการศึกษาโดยนักวิจัยในวัฒนธรรมใหญ่ มองวัฒนธรรมดนตรีเล็ก หรือวัฒนธรรมดนตรีที่ใกล้จะหายไปจากสังคมโลก แต่อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการมองตัวดนตรีโดยเฉพาะเครื่องดนตรีในโลกนี้อย่างเชื่อมโยง และมีเหตุผลมากยิ่งขึ้น 

"The way in which the world of music divided into musics, and the criteria for the divisions," as Bruno Nettl put it, "are major issues that have perhaps not been given sufficient explicit recognition" (Nettl 1983:51).

ในช่วงปี ค.ศ.1970-1980 มีการสร้างทฤษฎีด้านมานุษยดนตรีวิทยาและระเบียบวิธีวิจัยขึ้น ในช่วงนี้ความสนใจในการศึกษาเปลี่ยนจากส่วนต่างๆ ของดนตรีไปยังกรรมวิธีการสร้างดนตรีและการปฏิบัติดนตรี โดยเฉพาะในด้านการประพันธ์และแนวคิดทางดนตรี ทั้งนี้ได้เกิดการเปรียบเทียบองค์ความรู้ระหว่างวัฒนธรรมดนตรี 2 วัฒนธรรมอย่างเป็นระบบ และมีการใช้หลักการและเหตุผลในเชิงวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามรูปแบบของการศึกษามานุษยดนตรีวิทยาดูเหมือนว่าจะแผ่กิ่งก้านสาขาไปไกลกว่ายุคล่าอาณานิคมทางดนตรี กล่าวคือในยุคหลังมานี้เกิดการประยุกต์สาขาวิชานี้เข้ากับการศึกษาเชิงมานุษยวิทยามากยิ่งขึ้น จากชุดคำตอบที่หลากหลาย สามารถอธิบายคำตอบของดนตรีได้มากกว่าเดิม ทั้งขอบเขตการศึกษายังมีความเชื่อมโยงเข้ากับศาสตร์แขนงอื่นๆ ทั้งนี้เรื่องของการศึกษาภาคสนามตามแบบของ Nettl ยังมีความจำเป็นในการจัดกระทำข้อมูล ด้วยเทคนิคต่างๆ กลวิธีซึ่งการเข้าถึงข้อมูลแล้วนับได้ว่า Nettl ผ่านประสบการณ์ของตนเองโดยหลอมเข้ากับองค์ความรู้สมัยใหม่ได้อย่างแนบเนียน ซึ่งต่างกับหลักวิธีคิดแบบดนตรีวิทยาที่เน้นเรื่องการลำดับเหตุการณ์เป็นหลัก แต่หลักมานุษยดนตรีวิทยาของ Nettl กลับเปิดกว้าง พร้อมรับและปรับเปลี่ยนเข้าสู่สังคมสมัยได้อย่างลงตัว

ในที่นี้ Nettl ได้ยกตัวอย่างจากประสบการณ์ส่วนตัวในการออกภาคสนามมาพูดได้อย่างน่าสนใจ เช่น ดนตรีโลกตะวันออกกลาง ดนตรีสังคมเมืองตะวันตก และดนตรีอินเดียแดงในภาคพื้นอเมริกาเหนือ รวมถึงการศึกษาเรื่องดนตรีและเพศ การบ่มเพาะนักมานุษยดนตรีวิทยาจากคนในให้เป็นคนเขียนเรื่องราวของตนเองเป็นต้น รูปแบบของงานเขียนถึงแม้ว่าจะไม่อิงเนื้อหาเชิงวิชาการมาก แต่ผู้เขียนก็ได้บรรยายเรื่องราวของตนผ่านประสบการณ์ด้านมานุษยดนตรีวิทยาอย่างดี ตรงไปตรงมา และไม่มีอคติในการบรรยาย ซึ่งภาษาที่ใช้ในการถ่ายทอดนั้นจัดว่าอ่านได้เข้าใจง่าย และตรงไปตรงมาดีไม่เยิ่นเย้อ บรรยายจนมากความเสียกระบวน 

อย่างไรก็ตามการเก็บข้อมูลภาคสนามนั้นควรที่จะพกทฤษฎีที่ตนเลือกใช้ติดเข้าไปด้วย ในที่นี้อานันท์ กาญจนพันธุ์ได้เสนอแนวคิดการเก็บข้อมูลภาคสนามตามต้องพกทฤษฎีไว้อย่างน่าสนใจว่า ถ้ามองว่าการทำงานภาคสนามเหมือนกับการด้นแล้ว การสั่งสมความรู้ติดตัวไปก็มีความสำคัญมากเลยทีเดียว และคงไม่มีใครสามารถทิ้งความรู้ทั้งหมดไว้ข้างนอกเพื่อทำใจให้ว่างเปล่าก่อนจะลงภาคสนามได้เช่นกัน ถ้าเช่นนั้นประเด็นก็ไม่น่าจะใช่คำถามที่ว่า จะพกทฤษฎีติดตัวไปทำงานภาคสนามได้ด้วยหรือไม่ แต่อยู่ที่เรามองทฤษฏีอย่างไรมากกว่า ถ้ามองเพียงว่าทฤษฎีจะให้คำตอบแก่ข้อมูลจากภาคสนามแล้ว ทฤษฎีก็อาจกลายเป็นข้อจำกัดของการออกภาคสนามเลยก็เป็นไปได้ ดังนั้นทฤษฎีจึงเปรียบเสมือนคำถามตั้งในการออกเก็บข้อมูลมากกว่ากฎที่จำต้องยึดถือจนเป็นกรอบความคิดขึ้นมา ดังนั้นผู้วิจัยยิ่งมีคำถามมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี ยิ่งได้ข้อมูลมากเท่านั้น ในทางตรงกันข้ามถ้าไม่มีคำถามก็มองไม่เห็นข้อมูลเช่นกัน

ยกตัวอย่างของทฤษฎีซึ่ง Nettl ไม่ได้กล่าวไว้ในหนังสืออย่างชัดเจนทฤษฎีสำนักโครงสร้าง หน้าที่นิยม อาทิ ทฤษฎีของนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันชื่อคลิฟฟอร์ด เกียตซ์ (Clifford Geertz) เกี่ยวกับการตีความวัฒนธรรมจากความหมายของคนในวัฒนธรรม และทฤษฎีโครงสร้างนิยมของนักมานุษยวิทยาชาวฝรั่งเศษ โกล๊ด เลวี สเตราส์ (Glaude Levi-Strauss) เป็นต้น (อานันท์ กาญจนพันธ์, 2548,147.) อย่างไรก็ตามดูเหมือนหลักการเก็บข้อมูลของ Nettl ยังขาดซึ่งกระบวนการวิจัยตามหลักวิทยาศาสตร์ที่นิยมในปัจจุบัน ตามหลักของเหตุผล จึงส่งผลให้หนังสือเล่มนี้เป็นเพียงวรรณกรรมพรรณนาเรื่องของประสบการณ์ส่วนตนมากกว่าขบวนการศึกษามานุษยดนตรีวิทยาอย่างมีระบบแบบวิทยาศาสตร์ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผนในการวิจัยได้อย่างมีระบบ ทั้งนี้การเก็บข้อมูลบางอย่างทางด้านมานุษยดนตรีวิทยานั้น ยังคงวัดกันในเชิงปริมาณด้วย ดังนั้นจากประสบการและมุมมองของ Nettl ในหนังสือเล่มนี้กำลังจะบอกถึงรูปแบบของการศึกษาของดนตรีวิทยา และมานุษยดนตรีวิทยาที่ปรากฏอยู่ในวารสารนานาชาติในปัจจุบัน อันว่าด้วยเรื่องการศึกษาดนตรีวิทยา หรือมานุษยดนตรีวิทยานั้นไม่มีคำถามวิจัย และระเบียบวิธีการวิจัยชัดเจน ไม่เหมือนภาคสนามของดนตรีศึกษาที่ปรากฏเบียบวิธีการวิจัย ตลอดจนคำถามการวิจัยได้อย่างมีระบบ และเป็นระบบวิธีคิดเชิงเหตุผลแบบวิทยาศาสตร์ ไม่ล้นออกนอกกรอบ หรือมีตัวแปลที่ไม่สามารถควบคุมได้จนมากเกินไปเหมือนสาขามานุษยดนตรีวิทยาที่ปรากฏในปัจจุบัน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อน่ากังขาระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิม กับวัฒนธรรมของนักมานุษยดนตรีวิทยาที่ศึกษานั้นเป็นอันเดียวกันหรือไม่ หรือว่าถูกหล่อหลอมสร้างขึ้นมาจากตัวนักมานุษยดนตรีวิทยาเอง ก่อเกิดเป็นงานวิจัยประเภท (reflexivuty) หรือวิพากษ์ตนเองขึ้นมาเป็นวัฒนธรรมดนตรีเชิงสัญลักษณ์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นกลไกแห่งการต่อรองของสังคม


Bruno Nettl ศาสตราจารย์ด้านดนตรี และมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เริ่มเป็นนักดนตรีวิทยาที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ อดีตประธานสมาคมนักมานุษยดนตรีวิทยา และเป็นนักเขียน นักวิชาการเกี่ยวกับดนตรีหลายเล่ม


เอกสารอ้างอิง
Nettl Bruno. (2005). The Study of Ethnomusicology Thirty-
                one Issues and Concepts.
Illinois. University of  
                Illinois.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2548). ทฤษฎี และวิธีวิทยา การวิจัยของ
            วัฒนธรรม การทะลุกรอบและกับดักของความคิดแบบ
            คู่ตรงกันข้าม
. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์อมรินทร์.

ดนตรีไทยในอาเซียน


ดนตรีไทยในอาเซียน

เป็นที่ทราบกันดีว่า “อาเซียน” นั้นประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 10 ประเทศได้แก่ 1. กัมพูชา 2. ไทย 3. บรูไนดารุสซาลาม 4. พม่า 5. ฟิลิปปินส์ 6. มาเลเซีย 7. ลาว 8. สิงคโปร์ 9. เวียดนาม และ 10. อินโดนีเซีย หากจัดแบ่งกลุ่มวัฒนธรรมดนตรีตามภูมิภาคแล้วมารถแบ่งออกได้ กลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม 1. กัมพูชา 2. ไทย 3.ลาว 4 พม่า 5. เวียดนาม กลุ่มที่ 2 ได้แก่ 6. บรูไนดารุสซาลาม 7.มาเลเซีย 8. อินโดนีเซีย กลุ่มที่ 3 ได้แก่ 9. ฟิลิปปินส์ 10 สิงคโปร์

ดนตรีไทยในสังคมอาเซียนสู่การเปิดประเทศเข้าสู่การเชื่อมต่อระหว่างวัฒนธรรมทั้งนี้นโยบายหลักของประชาคมนั้นยัง ไม่ชัดเจนเรื่องจุดยืนระหว่างวัฒนธรรม เท่าที่ทราบปรากฏว่าเป็นเรื่องของเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่วัฒนธรรมแล้วดูคล้ายการประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศในกีฬาเอเซียนเกมส์มากกว่าการเรียนรู้ซึ่งวัฒนธรรมแบบวิชาการที่มีเนื้อหาทางประวัติศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องโยงใย ซึ่งยังคงอ่อนต่อข้อขัดแย้งต่างๆ ทางวัฒนธรรมเดิม ฉะนั้นเราอาจพูดได้ว่าประวัติศาสตร์ของชาติอาเซียนนั้นอ่อนโยนต่อกรณีพิพาทนานับประการ ดังเช่นกรณีของเขาพระวิหาร และวัฒนธรรมที่ยังยั้งเส้นโดยเส้นรอยต่อของแผนที่ทางการทหาร หรือความเป็นเอกราช รวมทั้งอธิปไตยในการรักชาติ สิ่งเหล่านี้ยังเป็นตัวแบ่งแยกความเป็นบ้านพี่เมืองน้องที่ควรจะรักกัน แต่หันมาหักล้างกันเอง

            ดนตรีไทยและความขัดแย้งเหลื่อมล้ำกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังเช่นกรณีของหนังไทย ซึ่งยังเป็นข้อโต้แย้งทางวัฒนธรรมระหว่างไทย กัมพูชา ยังเป็นอีกแขนงหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างขอเขตอำนาจของอธิปไตยทางวัฒนธรรม และความมั่นทางชาติพันธุ์ ทั้งนี้ยังไม่นับรวมข้อพิพาททางวัฒนธรรมกรณีพระแก้วมรกต และเพลงชาติของลาว ปัญหาทางวัฒนธรรมเลื่อมล้ำนั้นเห็นได้ชัดเจนเป็นอย่างยิ่งในวัฒนธรรมดนตรี ซึ่งถ้าเปรียบเทียบเคียงแล้วยังมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมากเช่น เครื่องดนตรี ระนาด ฆ้องวง ซออู้ ซอด้วง และอาจพูดได้ว่าวงปี่พาทย์ และเครื่องสายมโหรี เป็นวงดนตรีของอาเซียนแหล่งวัฒนธรรม ไทย กัมพูชา ลาว ทั้งนี้หากต้องการเข้าไปเป็นสมาคมอาเซียนแล้วคงต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้อีกยาว ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงแหล่งกำเนิดของคนไทยที่มาจากเทือกเขาอัลไต



                        พื้นที่ทางด้านวัฒนธรรมยังถูกตีกรอบเข้าไปด้วยกันการเมืองเชิงประวัติศาสตร์ สงครามระหว่างชนชาติ และอาณาจักรเดิม ถึงแม้โลกจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัฒนธรรมโลกสมัยใหม่แล้วก็ตาม รากของความขัดแย้งนั้นยังคงดำรงอยู่ในสมาคมอาเซียนไม่เสื่อมคลาย ดังเช่นกรณีการขโมยวัฒนธรรมระหว่างประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่ยังคงขัดแย้งชิงดีชิงเด่นเรื่องวัฒนธรรมประจำชาติ สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนมายาคติของการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมขึ้นไม่รู้จบ และความขัดแย้งทางด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรม รวมไปถึงวัฒนธรรมดนตรีนั้น คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเริ่มต้นมาจากการสังคายนาวัฒนธรรมประจำชาติ และเอกลักษณ์ประจำชาติขึ้น

                        วัฒนธรรมประจำชาติ ดนตรีประจำชาติ จุดเริ่มต้นแห่งความขัดแย้ง หากจะกล่าวถึงวัฒนธรรมประจำชาติ ก็คงต้องนับรวมเอาวัฒนธรรมดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้กรอบความคิดเรื่องเอกลักษณ์วัฒนธรรมประจำชาตินั้นยังคงตั้งอยู่บนความเป็นเอกลักษณ์ และเอกราช กล่าวคือไม่มีความซ้ำหรือเหมือนกันระหว่างวัฒนธรรมบ้านใกล้เรือนเคียง หากไม่แล้วถือว่าความเป็นวัฒนธรรมนั้น หรือวัฒนธรรมดนตรีนั้นไม่ยังคงเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ หรือไม่สามารถเป็นเอกราชทางวัฒนธรรมได้ สิ่งเหล่านี้ยังคงต้องได้รับการสนับสนุนให้ประชาคาอาเชี่ยนมีความเข้าใจ รัก และหวงแหนวัฒนธรรมของตนอย่างมีเหตุผล บนความร่วมมืออย่างแท้จริง ไม่เพียงแค่ว่าเป็นอริ ศตรู กันทางความคิดเหมือนสมัยก่อน

            บางครั้งความคล้ายกันระหว่างวัฒนธรรมดนตรี ก็ถูกปิดกั้นซึ่งอำนาจรัฐ ชาตินิยมสุดโต่ง ดังนั้นปัญหานี้ไม่ได้เกิดเฉพาะนอกประเทศเท่านั้น ในประเทศกก็ประสบปัญหาวัฒนธรรมประจำชาติด้วยเช่นกัน ดังเช่นวัฒนธรรมใหญ่ และวัฒนธรรมภูมิภาค สิ่งเหล่านี้พยายามหาซึ่งพื้นที่ทางสังคม การแสดงออกซึ่งอำนาจอธิปไตย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีวัฒนธรรมดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และด้วยประการทั้งปวงสิ่งเหล่านี้มีส่วนผลักดันให้เกิดวัฒนธรรมชายขอบขึ้นมา ตลอดจนถึงการดูถูกเหยียดหยาม แบ่งชนชั้นทางด้านวัฒนธรรมขึ้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นอีกแนวความคิดหนึ่งในการศึกษาวัฒนธรรมดนตรีไทยไปอาเซียนที่ทุกภาค ทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญ ด้วยเพราะยังเป็นระเบิดเวลา และทุกประเทศไม่สามารถปฏิเสธได้นอกจากร่วมกันศึกษาทำความเข้าใจกันให้มากกว่านี้