อยู่นี่แล้ว


วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

คนรวย รวยที่อะไร? บิลเกตส์


บิลเกตส์ มหาเศรษฐี อันดับสองของโลก ในปี ๒๕๕๔ เขาทานอาหารฟาสต์ฟูด ง่ายๆ ราคาถูกๆ เป็นประจำ เมื่อมีเวลาว่างก็ออกกำลังกาย เขาชอบไปเล่นกอล์ฟกับเพื่อนๆ โดยพนันกันหลุมละ ๑ เหรียญ เสื้อผ้าที่ใส่เป็นประจำก็เป็นเสื้อผ้าราคาถูกๆ เขามีเงินมากกว่า ๕๐,๐๐๐ ล้่านเหรียญ แต่เขาบอกว่าจะให้ลูกสามคน คนละ ๑๐ ล้านเหรียญ และให้ตัวเอง ๑๐ ล้านเหรียญ ที่เหลือก็ยกให้มูลนิธิที่ช่วยเหลือสังคม เขาให้เหตุผลว่าเงิน ๑๐ ล้านเหรียญนั้นเพียงพอที่ดำรงชีวิตอยู่เหลือเฟือเมื่อเทียบกับคนทั่วไปแล้ว แต่หากลูกๆของเขาไม่สามารถหาเงินเพิ่มได้อีก เขาเหล่านั้นก็คงจะรักษาเงินที่มากกว่านี้ไม่ได้


เอเอฟพี - บิลล์ เกตส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ และอภิมหาเศรษฐีผู้ใจบุญเผยวานนี้ (9) ว่า เขาอยากเพ่งความสนใจไปกับงานเพื่อการกุศล มากกว่าที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี      
       “ผมไม่เคยอยากจะเลือกลงเล่นการเมือง” เกตส์กล่าวในที่ประชุมสุดยอดด้านสื่อประจำปี ในกรุงอาบูดาบี เมืองหลวงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มหาเศรษฐีผู้ร่ำรวยที่สุดในสหรัฐฯ ระบุว่า ด้วยการดำเนินงานของมูลนิธิ บิลล์ แอนด์ เมลินดา เกตส์ เขาไม่จำเป็นต้องระดมเงินทุนทางการเมืองเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง และไม่ถูกจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งอยู่แค่ 8 ปี แต่เขาอาจจะให้คำแนะนำแก่ประธานาธิบดีเหมือนกับที่ให้แก่บริษัทไมโครซอฟท์
     
       เขายังกล่าวในสุนทรพจน์เปิดงานประชุมสื่อดังกล่าวว่าขณะนี้เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการหาทางยับยั้งโรคโปลิโอ เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกของทางมูลนิธิ เกตส์เผยว่า มูลนิธิซึ่งเขาเป็นประธานร่วมนั้น จะใช้เงิน 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อการวิจัย และพัฒนา รวมถึงส่งวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอให้แก่เด็กๆ ผู้ยากไร้ทั่วโลก โดยอ่าวเปอร์เซียอาจเป็นภูมิภาคที่มีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับความยากจน และโรคต่างๆ ได้
     
       ในวันจันทร์ (8) ที่ผ่านมามูลนิธิของเขาประกาศร่วมหุ้นส่วนใหม่กับธนาคารเพื่อการพัฒนาอิสลาม ในการสนับสนุนทางการเงินแก่ภาคการเกษตร ตลอดจนการร่วมกันต่อสู้กับโรคมาลาเรีย และโปลิโอ ทั้งนี้ มูลนิธิบิลล์ แอนด์ เมลินดา เกตส์ให้เงินสนับสนุนโครงการด้านสาธารณสุข และการต่อต้านความอดอยากในหลายประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงการสนับสนุนโครงการวิจัย และทำวัคซีนโรคมาลาเรีย
     
       ยิ่งไปกว่านั้น เกตส์ยังบริจาคเงินมากกว่า 2,500 ล้านดอลลาร์ให้แก่องค์กรเกี่ยวกับโรคเอดส์ทั่วโลกผ่านมูลนิธิของเขา ซึ่งตั้งขึ้นด้วยทรัพย์สินของบริษัทไมโครซอฟท์ สำหรับการประชุมซัมมิตสื่ออาบูดาบี ปี 2012 ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 3 วันนั้น เป็นการรวมตัวของผู้นำด้านอุตสาหกรรมสื่อทั่วโลกมากกว่า 400 คน


"ในการทำอะไรก็ตาม ผมยึดหลักวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์ว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เกิดขึ้นทำไมและอย่างไร ผมไม่ทราบว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่ แต่ก็คิดว่าหลักการทางศาสนานั้นยังเป็นจริงอยู่มาก"
บิลล์ เกตส์  ให้สัมภาษณ์ทาง PBS กับ เดวิด ฟรอสต์ ในเดือนพฤศจิกายน

"ในการสร้างมาตรฐานใหม่ ต้องใช้กึ๋นยิ่งกว่าการสร้างอะไรที่แตกต่างจากเดิมเพียงเล็กน้อย ต้องเป็นอะไรที่แปลกใหม่และสามารถดึงดูดความสนใจของผู้คนไว้ได้ และในบรรดาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผมเคยเห็นมาทั้งหมด แมคอินทอชเป็นเครื่องรุ่นเดียวที่เข้าข่าย"
บิลล์ เกตส์ ในช่วงที่บิลล์ เกตส์ยังเขียนซอฟท์แวร์ให้แอปเปิล คอมพิวเตอร์


"ความสำเร็จคืออาจารย์ที่งี่เง่าที่ยั่วคนให้คนฉลาดคิดว่าห้ามผิดพลาด"
บิลล์ เกตส์



...คงไม่มีใครไม่รู้จักสตีฟ จ็อบส์ ซีอีโอของบริษัทแอปเปิล และก็คงไม่มีใครไม่รู้จักบิล เกตส์ อดีตซีอีโอของบริษัทไมโครซอฟท์ ทั้งสองคนเป็นผู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในวงการคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เป็นทั้งเพื่อนร่วมงานและคู่แข่งทางการค้าซึ่งกันและกัน แต่ช่วงนี้เรา ๆ ท่าน ๆ อาจจะได้ยินข่าวของ สตีฟ จ็อบส์  และ แอปเปิลบ่อยครั้งขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่สตีฟ จ็อบส์ เสียชีวิตลงและกลายเป็นตำนาน พร้อม ๆ กับที่แอปเปิลเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทยอยเปิดตัวอย่าง สม่ำเสมอ ในขณะที่บิล เกตส์ ซึ่งลาออกจากตำแหน่งซีอีโอของไมโครซอฟท์ไปตั้งแต่ปี 2551 กลับไม่ค่อยเป็นข่าว หรือมีเหตุการณ์ให้เรานึกถึงอยู่เท่าไร
แต่เชื่อหรือไม่ ณ วันนี้ มีคนผู้หนึ่งพูดอย่างมั่นใจว่า อีก 50 ปีข้างหน้า ผู้คนจะจดจำบิล เกตส์ ในขณะที่สตีฟ จ็อบส์ จะถูกลืมเลือนหลายคนคงคิดว่าเป็นการยากที่จะเชื่อ

คนที่พูดดังกล่าวคือ มัลคอล์ม เกลดเวลล์ นักเขียนจากวารสาร เดอะ นิว ยอร์กเกอร์ (The New Yorker) และผู้แต่งหนังสือระดับ Best Sellers หลายเล่ม เช่น The Tipping Point (ฉบับแปลไทยชื่อ จุดชนวนคิด พลิกสถานการณ์) และ Outliers (ฉบับแปลไทยชื่อ สัมฤทธิ์พิศวง) เกลดเวลล์แสดงความเห็นของเขาออกมาในงาน Appel Salon ณ ห้องสมุด Toronto Public Library ประมาณปลายเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งกลายเป็นเรื่องที่คนในวงการไอทีถกเถียงกันมากมาย เกลดเวลล์กล่าวว่า สิ่งที่ทำให้เขาเชื่อว่าผู้คนจะจดจำบิล เกตส์ได้จากงานการกุศลของเขา เขายังพูดด้วยว่าผู้คนก็จะลืมเลือนไปด้วยว่าไมโครซอฟท์คืออะไร ผู้คนจะลืมสตีฟ จ็อบส์แต่จะมีอนุสาวรีย์ของเบิล เกตส์ตามประเทศโลกที่สามเต็มไปหมด

ก่อนอื่นเราต้องมาดูกันว่างานการกุศลของบิล เกตส์คืออะไร และมีความแตกต่างจากงานการกุศลอื่น ๆ อย่างไร บิล เกตส์ลาออกจากตำแหน่งซีอีโอเพื่ออุทิศเวลาของตัวเองให้กับมูลนิธิ Bill & Melinda Gates Foundation ซึ่งเป็นมูลนิธิที่บิล เกตส์และภรรยาตั้งขึ้น โดยเกตส์และภรรยาได้บริจาคเงินเกือบเก้าแสนล้านบาท (ถ้านึกไม่ออกว่าเยอะขนาดไหนก็ขอให้ลองนึกว่าสหประชาชาติมีงบประมาณซึ่งได้รับจากเงินบริจาคจากประเทศสมาชิกทั่วโลกปีละแสนสามหมื่นล้านบาท แปลว่าเงินที่บิล เกตส์บริจาคนั้นเท่ากับที่แต่ละประเทศทั่วโลกจ่ายกันประมาณ 7 ปี) และสิ่งที่แตกต่างคือบิล เกตส์ได้ใช้ความเป็นนักธุรกิจตัวยงของเขาในการบริหารมูลนิธิ บิล เกตส์ใช้หลักการของการลงทุนเพื่อที่จะให้เงินที่ใช้ไปนั้นให้ผลลัพธ์ได้ดีที่สุด ซึ่งก็คือเกิดผลกระทบต่อผู้คนมากที่สุด มูลนิธิมีโครงการช่วยเหลือที่เน้นไปในปัญหายาก ๆ ทางด้านสุขภาพ ความยากจน และการศึกษา

ถึงแม้จำนวนเงินและวิธีการที่บิล เกตส์บริหารเงินการกุศลจะน่าสนใจ แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือบิล เกตส์ได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งในการชักชวนให้คนอื่น ๆ โดยเฉพาะบรรดาเศรษฐีร่วมบริจาคเงินเพื่อการกุศลเช่นกัน โดยไม่จำเป็นว่าต้องบริจาคให้มูลนิธิของเขา ในบรรดาคนที่บิล เกตส์ร่วมชักชวนให้บริจาคนั้นมีวอร์เรน บัฟเฟตต์ เจ้าพ่อตลาดหุ้นซึ่งถูกจัดว่าเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกอีกคนหนึ่ง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ตกลงที่จะบริจาคเงินให้กับมูลนิธิของบิล เกตส์โดยมีเงื่อนไขคือมูลนิธิจะต้องใช้เงินเท่า ๆ กับเงินที่เขาบริจาคไปในแต่ละปี ซึ่งมีผลเท่ากับทำให้งบประมาณในแต่ละปีของมูลนิธินั้นเพิ่มเป็นสองเท่านั่นเอง

 บิล เกตส์และภรรยาได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือชื่อ The Power of Half ซึ่งเล่าเรื่องราวของครอบครัว Salven ที่ขายบ้านของเขาทิ้งและนำเงินครึ่งหนึ่งที่ได้จากการขายบ้านมาบริจาคให้กับการกุศล

 บิล เกตส์ได้ร่วมก่อตั้งโครงการ The Giving Pledge โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เศรษฐีต่าง ๆ ให้คำมั่นสัญญาว่าจะบริจาคเงินอย่างน้อย “ครึ่งหนึ่ง” ของเงินที่มีอยู่กับโครงการการกุศล

โครงการนี้มีผู้สนใจเป็นอย่างมาก และมีผู้ร่วมโครงการให้คำสัญญาว่าจะบริจาคเงินรวมกันแล้วเกือบสี่ล้านล้านบาท ผู้ร่วมโครงการที่สำคัญที่เรารู้จักกันดีได้แก่ตัวบิล เกตส์เอง วอร์เรน บัฟเฟตต์ และ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของเฟซบุ๊กก็จะเห็นได้ว่าสิ่งที่บิล เกตส์ทำนั้นมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อคนทั่วโลก สิ่งที่เกลดเวลล์พยายามชี้ให้เห็นคือ ถึงแม้ว่า ณ วันนี้ผู้คนจะจดจำสตีฟ จ็อบส์ในฐานะนักคิด นักธุรกิจที่ยอดเยี่ยม ในระยะยาวแล้วสิ่งที่คนจะจดจำก็คือผลกระทบที่คนผู้นั้นจะมีต่อโลกนั่นเอง และในแง่ดังกล่าว เกลดเวลล์เชื่อว่าคนจะจดจำบิล เกตส์ได้อย่างไม่ต้องสงสัย

ผู้เขียน : นัทที นิภานันท์ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น