อยู่นี่แล้ว


วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ดนตรีไทยในอาเซียน


ดนตรีไทยในอาเซียน

เป็นที่ทราบกันดีว่า “อาเซียน” นั้นประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 10 ประเทศได้แก่ 1. กัมพูชา 2. ไทย 3. บรูไนดารุสซาลาม 4. พม่า 5. ฟิลิปปินส์ 6. มาเลเซีย 7. ลาว 8. สิงคโปร์ 9. เวียดนาม และ 10. อินโดนีเซีย หากจัดแบ่งกลุ่มวัฒนธรรมดนตรีตามภูมิภาคแล้วมารถแบ่งออกได้ กลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม 1. กัมพูชา 2. ไทย 3.ลาว 4 พม่า 5. เวียดนาม กลุ่มที่ 2 ได้แก่ 6. บรูไนดารุสซาลาม 7.มาเลเซีย 8. อินโดนีเซีย กลุ่มที่ 3 ได้แก่ 9. ฟิลิปปินส์ 10 สิงคโปร์

ดนตรีไทยในสังคมอาเซียนสู่การเปิดประเทศเข้าสู่การเชื่อมต่อระหว่างวัฒนธรรมทั้งนี้นโยบายหลักของประชาคมนั้นยัง ไม่ชัดเจนเรื่องจุดยืนระหว่างวัฒนธรรม เท่าที่ทราบปรากฏว่าเป็นเรื่องของเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่วัฒนธรรมแล้วดูคล้ายการประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศในกีฬาเอเซียนเกมส์มากกว่าการเรียนรู้ซึ่งวัฒนธรรมแบบวิชาการที่มีเนื้อหาทางประวัติศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องโยงใย ซึ่งยังคงอ่อนต่อข้อขัดแย้งต่างๆ ทางวัฒนธรรมเดิม ฉะนั้นเราอาจพูดได้ว่าประวัติศาสตร์ของชาติอาเซียนนั้นอ่อนโยนต่อกรณีพิพาทนานับประการ ดังเช่นกรณีของเขาพระวิหาร และวัฒนธรรมที่ยังยั้งเส้นโดยเส้นรอยต่อของแผนที่ทางการทหาร หรือความเป็นเอกราช รวมทั้งอธิปไตยในการรักชาติ สิ่งเหล่านี้ยังเป็นตัวแบ่งแยกความเป็นบ้านพี่เมืองน้องที่ควรจะรักกัน แต่หันมาหักล้างกันเอง

            ดนตรีไทยและความขัดแย้งเหลื่อมล้ำกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังเช่นกรณีของหนังไทย ซึ่งยังเป็นข้อโต้แย้งทางวัฒนธรรมระหว่างไทย กัมพูชา ยังเป็นอีกแขนงหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างขอเขตอำนาจของอธิปไตยทางวัฒนธรรม และความมั่นทางชาติพันธุ์ ทั้งนี้ยังไม่นับรวมข้อพิพาททางวัฒนธรรมกรณีพระแก้วมรกต และเพลงชาติของลาว ปัญหาทางวัฒนธรรมเลื่อมล้ำนั้นเห็นได้ชัดเจนเป็นอย่างยิ่งในวัฒนธรรมดนตรี ซึ่งถ้าเปรียบเทียบเคียงแล้วยังมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมากเช่น เครื่องดนตรี ระนาด ฆ้องวง ซออู้ ซอด้วง และอาจพูดได้ว่าวงปี่พาทย์ และเครื่องสายมโหรี เป็นวงดนตรีของอาเซียนแหล่งวัฒนธรรม ไทย กัมพูชา ลาว ทั้งนี้หากต้องการเข้าไปเป็นสมาคมอาเซียนแล้วคงต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้อีกยาว ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงแหล่งกำเนิดของคนไทยที่มาจากเทือกเขาอัลไต



                        พื้นที่ทางด้านวัฒนธรรมยังถูกตีกรอบเข้าไปด้วยกันการเมืองเชิงประวัติศาสตร์ สงครามระหว่างชนชาติ และอาณาจักรเดิม ถึงแม้โลกจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัฒนธรรมโลกสมัยใหม่แล้วก็ตาม รากของความขัดแย้งนั้นยังคงดำรงอยู่ในสมาคมอาเซียนไม่เสื่อมคลาย ดังเช่นกรณีการขโมยวัฒนธรรมระหว่างประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่ยังคงขัดแย้งชิงดีชิงเด่นเรื่องวัฒนธรรมประจำชาติ สิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนมายาคติของการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมขึ้นไม่รู้จบ และความขัดแย้งทางด้านประวัติศาสตร์วัฒนธรรม รวมไปถึงวัฒนธรรมดนตรีนั้น คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเริ่มต้นมาจากการสังคายนาวัฒนธรรมประจำชาติ และเอกลักษณ์ประจำชาติขึ้น

                        วัฒนธรรมประจำชาติ ดนตรีประจำชาติ จุดเริ่มต้นแห่งความขัดแย้ง หากจะกล่าวถึงวัฒนธรรมประจำชาติ ก็คงต้องนับรวมเอาวัฒนธรรมดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้กรอบความคิดเรื่องเอกลักษณ์วัฒนธรรมประจำชาตินั้นยังคงตั้งอยู่บนความเป็นเอกลักษณ์ และเอกราช กล่าวคือไม่มีความซ้ำหรือเหมือนกันระหว่างวัฒนธรรมบ้านใกล้เรือนเคียง หากไม่แล้วถือว่าความเป็นวัฒนธรรมนั้น หรือวัฒนธรรมดนตรีนั้นไม่ยังคงเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ หรือไม่สามารถเป็นเอกราชทางวัฒนธรรมได้ สิ่งเหล่านี้ยังคงต้องได้รับการสนับสนุนให้ประชาคาอาเชี่ยนมีความเข้าใจ รัก และหวงแหนวัฒนธรรมของตนอย่างมีเหตุผล บนความร่วมมืออย่างแท้จริง ไม่เพียงแค่ว่าเป็นอริ ศตรู กันทางความคิดเหมือนสมัยก่อน

            บางครั้งความคล้ายกันระหว่างวัฒนธรรมดนตรี ก็ถูกปิดกั้นซึ่งอำนาจรัฐ ชาตินิยมสุดโต่ง ดังนั้นปัญหานี้ไม่ได้เกิดเฉพาะนอกประเทศเท่านั้น ในประเทศกก็ประสบปัญหาวัฒนธรรมประจำชาติด้วยเช่นกัน ดังเช่นวัฒนธรรมใหญ่ และวัฒนธรรมภูมิภาค สิ่งเหล่านี้พยายามหาซึ่งพื้นที่ทางสังคม การแสดงออกซึ่งอำนาจอธิปไตย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีวัฒนธรรมดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และด้วยประการทั้งปวงสิ่งเหล่านี้มีส่วนผลักดันให้เกิดวัฒนธรรมชายขอบขึ้นมา ตลอดจนถึงการดูถูกเหยียดหยาม แบ่งชนชั้นทางด้านวัฒนธรรมขึ้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นอีกแนวความคิดหนึ่งในการศึกษาวัฒนธรรมดนตรีไทยไปอาเซียนที่ทุกภาค ทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญ ด้วยเพราะยังเป็นระเบิดเวลา และทุกประเทศไม่สามารถปฏิเสธได้นอกจากร่วมกันศึกษาทำความเข้าใจกันให้มากกว่านี้ 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น