อยู่นี่แล้ว


วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

สระแก้ว เมืองท่าค้าขาย 2000-3000 กว่าปี

สระแก้วเคยเป็นเมืองท่าค้าขายของชาวท้องถิ่นเมื่อ 2000 กว่าปีมาแล้ว โดยมีแหล่งอารยธรรมอยู่ที่ที่ราบลุ่ม ชุมชนหนองผักแว่น ตำบล ละลุ จังหวัดสระแก้ว คาดว่าชุมชนบริเวณนี้เคยเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่โบราณ มีความเชื่อหลังความตาย โดยการฝังเครื่องประดับจำพวกอเกต คาเนเลี่ยน ตลอตจนถึงชิ้ตส่วนเครื่องประดับที่ทำมาจากเปลือกหอย และกระดูกสัตว์  

แผ่นอเกต หรือที่เรียกว่าเฟิม ขุกค้นจากหมู่บ้านหนองผักแว่น สระแก้ว ภาพจาก http://www.taradpra.com

เครื่องประดับส่วนใหญ่ที่ทำการขุดค้น มักจะเป็นชิ้นส่วนเครื่องประดับที่ติดมากับชิ้นส่วนโครงกระดูกมุนษย์โบราณ ในความเชื่อชีวิตหลังความตาย ใกล้โครงกระดูกก่อนการขุดค้นอาจพบชิ้นส่วนของเครื่องปั้นดินเผาจำพวกหม้อโบราณลักษณะรูปทรงมีความร่วมสมัยกับหม้อบ้านเชียง บรรจุอาหารเพื่อเป็นเสบียงให้ผู้ตายใช้ในโลกหน้า รวมกันนั้นยังสวมใส่เครื่องประดับเต็มยศให้กับผู้ตายอีกด้วย

ยุคสมัยดังกล่าวเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงจากยารยะธรรมยุคเหล็กไปสู่อารยธรรมขอมที่มุ่งเน้นความเชื่อในด้านเทพเจ้าฮินดูจากอินเดีย เชื่อมต่อระบบความเชื่อโบราณของศิลปกรรมลูกปัดโบราณกับเมืองท่าอื่นๆ เช่น คลองท่อม สุราษฏร์ธานี (ภูเขาทอง)ระนอง (คลองท่อม)กระบี่ (เกาะคอเขา)พังงา ฯลฯ  

โดยเฉพาะที่บริเวณอำภอเขาฉกรรจ์ พบลูกปัดโบราณที่มีความวิจิตรทั้งกรรมวิธีการทำที่สามารถหลอมแก้วให้มีขนาดใหญ่ เช่นเฟิม อเกตใหญ่ รวมถึงยังมีการขุดค้นกระดิ่งสัมฤทธิ์ รอยพระพุทธบาท พระพุทธรูป และเครื่องมือในความเชื่อต่างๆ มากมายหลอมรวมระหว่างอารยธรรมใหม่และเก่าได้อย่างลงตัวก่อนที่ชุมชนพื้นถินจะสถาปนาตนในระบบความเชื่อฮินดู 

การเจริญของอุตสาหกรรมการผลิตลูกปัด ได้รับการส่งต่อถ่ายทอดกรรมวิธีการหลอม หรือเรียกว่าเลียนแบบทำกันตามๆ กันมาจากทั้งจีน อินเดีย กรีก โรมัน พบว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้ไม่ใช่ของชาวบ้าน แต่เป็นเครื่องหมายของการค้าขายทางเรือ การข้ามน้ำข้ามทะเลของแหล่งวัฒนธรรมอารยธรรมโบราณ 


1700 Carte des Costes L'Asie (Mortier) - จากhttp://www.mapcarte.com/world-maps.html




วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

鄧麗君 ~ 忘記他 Teresa Teng - Mong Gei Ta (Forget Him) ลืมเขาซะ


忘記他 等於忘掉了一切 
To forget him is the same as forgetting everything,
(Mong Gei Ta, Dun Yu Mong Dil Liu Yat Chai)


等於將方和向拋掉 
Losing all senses of direction
(Dun Yu Cheun Fong Wo Heun Pow Dil)

遺失了自己 
And losing oneself.
(Wai Suc Liu Chi Gei)

忘記他 等於忘盡了歡喜 
To forget him, is the same as forgetting all happiness,
(Mong Gei Ta, Dun Yu Mong Chuen Liu Foon Hai)

等於將心靈也鎖住 
Locking heart and soul,
(Dun Yu Cheun Sum Ning Yea Saw Chu)

同苦痛一起 
Together with pain.
(Tun Fu Toon Yat Hey)

從來只有他 
It has always been only he
(Chung Loy Tze Yau Ta)

可以令我欣賞自己 
Whom can make me appreciate myself
(Ho Yi Ning Gho Yua sheun Chi Gei)

更能讓我去用愛 
And allow me to use love
(Gun Nun Yeun Gho Hui Yun Ai)

將一切平凡事 變得美麗 
To change common things into something beautiful.
(Chuen Yat Chai Ping Fan See Bin Duc Mei Lai)

忘記他 怎麼忘記得起 
To forget him. How can I do that ever?
(Mong Gei Ta, Chum Mo Mong Gei Duc Hey)

銘心刻骨來永久記住 
He has been engraved in my heart and inscribed in my bones to forever be remembered
(Ming Sum Huk Gwun Loi Wing Kow Gei Chui)

從此永無盡期 
From here to eternity.
(Chun Chi Wing Mo Jang Kay)


ให้ลืมเขานั้น ยากเหมือน ลืมทุกสิ่ง
ลืมความจริง ปราศจาก ซึ่งความฝัน
 ไร้ตัวตนความรู้สึก ที่เกี่ยวพัน
ไร้วานวันจะเดินก้าว เศร้าหัวใจ

ให้ลืมเขาเหมือนลืม ซึ่งความสุข
เปรียบเหมือนคุก ขังใจ ไร้จุดหมาย
มีแค่เพื่อนคนเดียว ไม่เดียวดาย
ความเจ็บช้ำระกำใจ รวดร้าว - ทรมาน

มีแต่เขาคนเดียว และเท่านั้น
สร้างพลัง อารมณ์ รักมั่นหมาย
ในชีวิตเธอคือหนึ่ง ในกายใจ
ให้ฉันรู้ความหมาย ของตัวเอง

เธอเท่านั้นคนเดียวที่จะเปลี่ยน
ระบายเขียนความสวย เติมความใส
จะลืมเขา ทิ้งเขา ออกจากใจ?
ใช่จะง่าย ลืมเขา เราลืมตน

เมื่อความรัก รักฝังปัก ตรึงดวงจิต
รักลิขิตฝังกระดูก เปรียบรักหมาย
รักนิรันดร์ รักเสมอ จนวันตาย
ตลอดไป รักเธอ ตลอดกาล




วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

Gary jules-The Old Days Are Gone แปล วันเก่าผ่านไป - เอมิลี่



Old days and memories are calling you now
To glories that you never knew
Some things are better remembered somehow
The old days are gone, hallelujah.

Out in the country, the fourth of July
Searching for something to save
Something to bury, something to fly
The old days are gone, hallelujah.

Way over the water
Tomorrow is coming to you
In the old days you held it in the palm of your hand
The old days are gone, hallelujah.

Way over the water
Way over the edge
In the old days we had it all figured out
The old days are gone, hallelujah.

Fixing your coffee and shining your shoes
Praying for somewhere to go
In the old days your somewheres were chosen for you
The old days are gone, hallelujah.

The old days are gone, hallelujah.
Hallelujah.



วันเก่ากับความทรงจำจางๆ หวนรำลึก

ให้รู้สึกอิ่มปรีมิรู้หาย

กับบางสิ่งจดจำมิรู้คลาย

กับวันเก่าที่หายไป

"ฮาเลลูยา"


ออกจากอรัญเขต ล่วงสี่ กรกฏา

พาเสาะหาบางสิ่ง เพื่อบันทึก

ซึ่งก็ถูกสึกกลบ เหมือนบินหาย

วันเก่าๆ ล่วงเลยผ่านพาไป

"ฮาเลลูยา" 


เส้นทางน้ำตามกระแส วารีผ่าน

พัดวันวานผ่านรุ่ง พรุ่งสดใส

เก็บวันเก่ากำแน่น จำใส่ใจ

และผ่านไปเป็นวันเก่า 

"ฮาเลลูยา" 


สิ้นทางวารีล่อง  สิ้นส่องแล้วจุดหมาย

วันวานล่วงเลยไป  ระลึกได้ซึ่งบทเรียน 

และวันเวียนก็ล่วงผ่าน

"ฮาเลลูยา" 


ปรับแต่งรสกาแฟ ผลัดแพรรองเท้าใส

พร้อมเดินก้าวต่อไป

วันเก่าใหม่ ผ่านไป อนิจจัง

อดีตจะล่วงผ่าน กับวันวานที่เลือกสรร

สรรพสิ่งสารพัน จดจำจาร และผ่านไป

"ฮาเลลูยา" 


วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ( พระสูตรว่าด้วยปัญญาอันเป็นหัวใจพาไปถึงฝั่งพระนิพพาน )


ภาพ พระโพธิสัตว์กวนอิม วาดโดย  จักรพันธุ์ โปษยกฤต


สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ เขาคิชคูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ และพระโพธิสัตว์หมู่ใหญ่  สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงฝึกสมาธิชื่อว่าคัมภีร์ราวสังโฆแท้ และสมัยนั้น พระอริยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์  ทรงประพฤติจริยาในปรัชญาปารมิตาอันลึกซึ้ง พิจารณาอยู่อย่างนี้ คือพิจารณาขันธ์ ๕ และความสูญโดยสภาพ  ลำดับนั้น ท่านสารีบุตร ได้กล่าวต่อ พระอริยะอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ด้วยพุทธานุภาพว่า

กุลบุตร หรือ กุลธิดาใดๆ ใคร่จะประพฤติจริยาในปรัชญาปาระมิตาอันลึกซึ้งนั้นจะพึงศึกษาอย่างไร พระอริยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์อันท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้วได้กล่าวตอบท่านสารีบุตรว่า

ท่านสารีบุตร กุลบุตรหรือกุลธิดาใดๆ ใคร่จะประพฤติจริยาในปรัชญาปาระมิตาอันลึกซึ้ง เขาพึงพิจารณาอย่างนี้ คือพิจารณาขันธ์ ๕ และความสูญโดยสภาพ รูปคือความสูญ ความสูญนั่นแหละคือรูป ความสูญไม่อื่นไปจากรูป รูปไม่อื่นไปจากความสูญ รูปอันใดความสูญก็อันนั้น ความสูญอันใด รูปก็อันนั้น

อนึ่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็คือความสูญอย่างเดียวกัน ท่านสารีบุตร ธรรมทั้งปวง มีความสูญเป็นลักษณะ ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มัวหมอง ไม่ผ่องแผ้ว ไม่หย่อน ไม่เต็ม อย่างนี้ เพราะฉะนั้นแหละ ท่านสารีบุตร ในความสูญจึงไม่มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรม

ไม่มีจักษุธาตุ จนถึงมโนธาตุ ธรรมชาตินั้น วิญญาณธาตุ ไม่มีวิชชา ไม่มีอวิชชา ไม่มีความสิ้นไปแห่งวิชชา และอวิชชา จนถึงไม่มี ความแก่ ความตาย ไม่มีความสิ้นไปแห่ง ความแก่ ความตาย ไม่มีทุกข์ สมุห์ทัย นิโรธ มรรค ไม่มีญาณ ไม่มีการบรรลุ ไม่มีการไม่บรรลุ

ท่านสารีบุตร เพราะฉะนั้น ผู้ดำเนินตามปรัชญาปาระมิตา ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายแล้วแต่ยังมีกิเลสห่อหุ้มจิตอยู่ ก็เพราะยังมิได้บรรลุ คืนนั้นจึงไม่สะดุ้งกลัว ก้าวล่วงความขัดข้องสำเร็จพระนิพพานได้ ก็เพราะความไม่มีกิเลสห่อหุ้มจิตพระพุทธเจ้าทั้งปวง ผู้ตั้งอยู่ในกาลทั้งสามทรงดำเนินตามปรัชญาปาระมิตาได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้น จึงทูลทราบมหามนต์

ในปรัชญาปาระมิตา อันเป็นมหาวิทยามนต์ อนุตตะระมนต์ อะสัมมะสมมนต์ สัพพะทุกข์ กับสมณมนต์ นี้เป็นสัจจะ เพราะไม่ผิดพลาดมนต์ที่ท่านกล่าวไว้ ในปรัชญาปาระมิตา คือดูก่อน ความรู้ ไป ไป ไปสู่ฝั่ง ไปให้ถึงฝั่งสวาหา

ท่านสารีบุตร สัตว์ผู้จะตรัสรู้ พึงศึกษาจริยาในปรัชญาปาระมิตาอย่างนี้ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงออกจากสมาธินั้นแล้วได้ประทานสาธุการ แก่พระอริยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ว่าถูกแล้ว ถูกแล้ว กุลบุตร ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น กุลบุตร จริยาในปรัชญาปาระมิตา อันลึกซึ้งนั้นอันบุคคลพึงประพฤติอย่างนี้ พระตถาคตอรหันต์เจ้าทั้งหลาย

ย่อมทรงอนุโมทนาอย่างที่ท่านยกขึ้นแสดงแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้จบลงแล้ว ท่านพระสารีบุตร พระอริยะอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์บริษัทอันมีประชุมชนทุกเหล่าและสัตว์โลกพร้อมทั้งเทวา มนุษย์ อสูร คนธรรพ์ ก็มีใจเบิกบานชื่นชมภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้  อ้างอิงจาก http://www.montradevi.org



ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

อายาวะโลกิ ติซัวรา โบดิสัตจัว กรรมบิรัม ปรัชญาปารมิตาจารัม จารา มาโน
วียาวะโลกิ ติสมา ปัญจะ สกันดา อะสัตตัสจา ซัวปาวะสูญนิยะ ปาสัตติสมา
อีฮา สารีบุทรา รูปังสูญญะ สูญนิยะตา อีวารูปา
รูปานา เวทะสูญนิยะตา สูญญา นายะนา เวทะ ซารูปัง 
ยารูปัง สา สูญนิยะตะยา สูญนียะตา ซารูปัง 
อี วา วีดานา สังญาสัง สการา วียานัม
อีฮา สารีบุทรา ซาวาดามา สูญนิยะตะ ลักษาณา 
อานุภานา อานิรูตา อะมะระ อะวิมะลา อานุนา อาปาริปุนา
ทัสมา ต สารีบุทรา สูญนิยะตายะ นารูปัง นาวิยานา นาสังญานา สังสการานา วียานัม 
นา จักษุ โสตรา กรรณนา ชิวหา กายา มะนา ซานะรูปัง 
สัพพะ กันดา รัสสัส สปัตตะ วียา ดามา
นาจักษุ ดาตุ ยาวะนา มะโนวีนยะนัม ดาตุ นาวิดียา นาวิดียา เจียโย 
ยาวัดนา จาระมา ระนัม นะจาระมา ระนัม เจียโย
นาตุขา สมุดา นิโรดา มาคา นายะนัม นาประติ
นาอะบิส สะมะยัง ตัสมาตนะ ปรัตติถา โพธิสัตวะนัม 
ปรัชญา ปารมิตา อาสริดะ วิหะรัชชะ จิตตา อะวะระนา 
จิตตา อะวะระนา จิตตา อะวะระนา นัสติ ตวะนะ ทรัสโส 
วิปาริ ยะซา อาติกันดา นิสทรา เนียวานัม
ทรียาวะ เรียววะ สิทธะ สาวา บุดดา ปรัชญา ปารมิตา
อาสวิชชะ อะนุตตะระ สัมยัก สัมโบดิม อะบิ สัมโบดา
ทัสมาต เนียทาวียา ปรัชญา ปารมิตา มหามันทรา 
มหาวิทยะ มันทรา อะนุตตะระ มันตรา อสมา สมาธิ มันทรา 
สาวา ตุขา ปรัชสา มานา สังญา อามิ เจียจัว
ปรัชญา ปารมิตา มุขา มันทรา ตะติติยะ
"คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โบดิซัวฮา"



คำแปล ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร



พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผู้ประกอบด้วยโลกุตรปัญญาอันลึกซึ้ง 

ได้มองเห็นว่า โดยธรรมชาติแท้แล้ว ขันธ์ทั้งห้านั้นว่างเปล่า 

และด้วยเหตุที่เห็นเช่นนั้น จึงได้ก้าวล่วง พ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้

สารีบุตร รูปไม่ต่างจากความว่าง ความว่าง ก็ไม่ต่างไปจากรูป 

รูปคือความว่างนั่นเอง และความว่างก็คือรูปนั่นเอง 

เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็เป็นดังนี้ด้วย 

สารีบุตร ธรรมทั้งหลาย มีธรรมชาติแห่งความว่าง ไม่ได้เกิดขึ้น
และไม่ได้ดับลง

ไม่ได้สะอาดและไม่ ได้สกปรก ไม่ได้เพิ่มขึ้นไม่ได้ลดลง 

ดังนั้น ในความว่างจึงไม่มีรูป ไม่มีเวทนา หรือสัญญา ไม่มีสังขาร 
หรือวิญญาณ

ไม่มีตาหรือหู ไม่มีจมูกหรือลิ้น ไม่มีกายหรือจิต ไม่มีรูปหรือเสียง ไม่มีกลิ่นหรือรส 

ไม่ มีโผฏฐัพพะหรือธรรมารมณ์ ไม่มีโลกแห่งผัสสะ หรือวิญญาณ 

ไม่มีอวิชชา และไม่มีความดับลงแห่งอวิชชา ไม่มีความแก่
และความตาย

และไม่มีความดับลงซึ่งความแก่ และความตาย ไม่มีความทุกข์ 

และไม่มีต้น เหตุแห่งความทุกข์ ไม่มีความดับลงแห่งความทุกข์ 

และไม่มีมรรคทางให้ถึง ซึ่งความดับลงแห่งความทุกข์ 

ไม่มีการประจักษ์แจ้งและไม่มีการลุถึง เพราะไม่มีอะไรที่จะต้องลุถึง 

พระโพธิสัตว์ผู้วางใจในโลกุตรปัญญา 
จะมีจิตที่เป็นอิสระจากอุปสรรคสิ่งกีดกั้น 

เพราะจิตของพระองค์เป็นอิสระ จาก อุปสรรคสิ่งกีดกั้น

พระองค์จึงไม่มีความกลัวใดๆ ก้าวล่วงพ้นไปจากมายาหรือสิ่งลวงตา

ลุถึงพระนิพพานได้ในที่สุด พระพุทธในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

ผู้ทรงวางใจในโลกุตรปัญญา ได้ประจักษ์แจ้งแล้วซึ่งภาวะอันตื่นขึ้น 

อันเป็นภาวะที่สมบูรณ์และไม่มี ใดอื่นยิ่ง ดังนั้น จงรู้ได้เถิดว่า 
โลกุตรปัญญา 

เป็นมหามนต์อัน ศักดิ์สิทธิ์ เป็นมนต์แห่งความรู้อันยิ่งใหญ่ 

เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่น ยิ่งกว่า เป็นมนต์อัน
ไม่มีมนต์อื่นใดมาเทียบได้

ซึ่งจะตัดเสียซึ่งความทุกข์ทั้งปวง

นี่เป็นสัจจะ เป็นอิสระจากความเท็จทั้งมวล ดังนั้น 
จงท่องมนต์แห่งโลกุตรปัญญา

คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหา 

ไป ไป ไปยังฟากฝั่งโน้น ไปให้พ้นอย่างสิ้นเชิง 
ลุถึง การรู้แจ้ง ความเบิกบาน




อานิสงส์ ที่จากการสวดมนต์ภาวนา ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร 

1.เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา ให้สามารถเห็นแจ้งในธรรมะ
2.เพื่อการบรรลุภาวะการเป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรม
3.เพื่อ การตรัสรู้และการบรรลุนิพพานโลกธาตุในที่สุด 

สำหรับผู้ที่มีเวลา น้อย เดินทางเสี่ยงต่ออันตราย หรือ เผชิญภาวะฉุกเฉิน 
และ ต้องการตั้งสติขจัดความตื่นกลัวออกไปโดยเร็ว ควรบริกรรม โดยใช้บทสวดมนต์ย่อว่า 
"คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิสวาหา"
ซ้ำ หลาย ๆ ครั้ง ท่านหลวงจีนเฮียงจั๋ง (พระถังซำจั๋ง) ท่านกล่าวว่า
ท่านสวด บทนี้เมื่อท่านอยู่ในภาวะคับขันในการเดินทางข้ามทะเลทราย 
ท่านเชื่อว่า ทำให้มีสติตั้งมั่น เกิดปัญญา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง

อ้างอิงจาก - http://www.oknation.net/blog/buddhamantra/2007/06/30/entry-1



Heart Sutra



The Heart Sūtra (Sanskrit: प्रज्ञापारमिताहृदय Prajñāpāramitā Hṛdaya; Chinese: 般若波羅蜜多心經; pinyin: Bōrěbōluómìduō Xīnjīng)

The Heart Sūtra is a member of the Perfection of Wisdom (Prajñāpāramitā) group of Mahāyāna Buddhist literature, and along with the Diamond Sūtra, is perhaps the most prominent representative of the genre.

The Heart Sūtra is made up of 14 shlokas in Sanskrit; a shloka is composed of 32 syllables. In Chinese, it is 260 Chinese characters, while in English it is composed of sixteen sentences. This makes it one of the shortest of the Perfection of Wisdom texts, which exist in various lengths up to 100,000 shlokas. According to Buddhist scholar and author Geshe Kelsang Gyatso in his commentary to the Heart Sūtra:

The Essence of Wisdom Sutra (Heart Sūtra) is much shorter than the other Perfection of Wisdom sūtras but it contains explicitly or implicitly the entire meaning of the longer Sutras.

This sutra is classified by Edward Conze as belonging to the third of four periods in the development of the Perfection of Wisdom canon, although because it contains amantra (sometimes called a dharani), it does overlap with the final, tantric phase of development according to this scheme, and is included in the tantra section of at least some editions of the Kangyur. Conze estimates the sutra's date of origin to be 350 CE; some others consider it to be two centuries older than that. Recent scholarship is unable to verify any date earlier than the 7th century CE.

The Chinese version is frequently chanted (in the local pronunciation) by the Chan (Zen/Seon/Thiền) school during ceremonies in China, Japan, Korea, and Vietnamrespectively. It is also significant to the Shingon Buddhist school in Japan, whose founder Kūkai wrote a commentary on it, and to the various Tibetan Buddhist schools, where it is studied extensively.

The sūtra is in a small class of sūtras not attributed to the Buddha. In some versions of the text, starting with that of Fayue dating to about 735 the Buddha confirms and praises the words of Avalokiteśvara, although this is not included in the preeminent Chinese version translated by Xuanzang. The Tibetan canon uses the longer version, although Tibetan translations without the framing text have been found at Dunhuang. The Chinese Buddhist canon includes both long and short versions, and both versions exist in Sanskrit.

Origin and early translations


The Heart Sūtra, it is generally thought, is likely to have been composed in the 1st century CE in Kushan Empire territory, by a Sarvastivadin or ex-Sarvastivadin monk. The earliest record of a copy of the sūtra is a 200-250CE Chinese version attributed to the Yuezhi monk Zhi Qian. It was supposedly translated again byKumarajiva around 400CE, although John McRae and Jan Nattier have argued that this translation was created by someone else, much later, based on Kumarajiva'sLarge Sūtra. Zhi Qian's version, if it ever existed, was lost before the time of Xuanzang, who produced his own version in 649CE, which closely matches the one attributed to Kumarajiva. Xuanzang's version is the first record of the title "Heart Sūtra" (心經 xīnjīng) being used for the text, and Fukui Fumimasa has argued thatxinjing actually means dharani scripture. According to Huili's biography, Xuanzang learned the sutra from an inhabitant of Sichuan, and subsequently chanted it during times of danger in his journey to the West.
[edit]Nattier hypothesis


However, based on textual patterns in the Sanskrit and Chinese versions of the Heart Sūtra and the Mahaprajnaparamita Sutra, scholar Jan Nattier has suggested that the earliest (shortest) version of the Heart Sūtra was probably first composed in China in the Chinese language from a mixture of Indian-derived material and new composition, and that this assemblage was later translated into Sanskrit (or back-translated, in the case of most of the sūtra). She argues that the majority of the text was redacted from a Larger Sutra on the Perfection of Wisdom, which had originated with a Sanskrit Indian original, but that the "framing" passages (the introduction and concluding passages) were new compositions in Chinese by a Chinese author, and that the text was intended as a dharani rather than a sūtra. The Chinese version of the core (i.e. the short version) of the Heart Sūtra matches a passage from the Large Sutra almost exactly, character by character; but the corresponding Sanskrit texts, while agreeing in meaning, differ in virtually every word. Furthermore, Nattier argues that there is no evidence (such as a commentary) of a Sanskrit version before the 8th century CE, and she dates the first evidence (in the form of commentaries by Xuanzang's disciples Kuiji and Wonch'uk, and Dunhuang manuscripts) of Chinese versions to the 7th century CE. She considers attributions to earlier dates "extremely problematic". In any case, the corroborating evidence supports a Chinese version at least a century before a Sanskrit version. This theory has gained support amongst some other prominent scholars of Buddhism, but is by no means universally accepted.

The Zhi Qian version is titled Po-jo po-lo-mi shen-chou i chuan or Prajnaparamita Dharani; the Kumarajiva version is titled Mo-ho po-jo po-lo-mi shen-chou i chuan or Maha Prajnaparamita Mahavidya Dharani. Xuanzang's was the first version to use Hrdaya or "Heart" in the title.

Despite the common name Heart Sūtra, the word sūtra is not present in known Sanskrit manuscripts. Xuanzang's was also the first version to call the text a sutra. No extant Sanskrit copies use this word, though it has become standard usage in Chinese and Tibetan, as well as English.

Some citations of Zhi Qian's and Kumarajiva's versions prepend moho (which would be maha in Sanskrit) to the title. Some Tibetan editions add bhagavatī, meaning "Victorious One" or "Conqueror", an epithet of Prajnaparamita as goddess.

In the Tibetan text the title is given first in Sanskrit and then in Tibetan:
Sanskrit: Bhagavatīprajñāpāramitāhṛdaya
Tibetan: བཅོམ་ལྡན་འདས་མ་ཤེས་རབ་ཀྱི་ཕ་རོལ་ཏུ་ཕྱིན་པའི་སྙིང་པོ, 
Wylie: bcom ldan 'das ma shes rab kyi pha rol tu phyin pa'i snying po
English: Heart of Perfect Wisdom

Various commentators divide this text into different numbers of sections. Briefly, the sutra describes the experience of liberation of the ''bodhisattva'' of compassion,Avalokiteśvara, as a result of insight gained while engaged in deep meditation to awaken the faculty of prajña (wisdom). The insight refers to apprehension of the fundamental emptiness of all phenomena, known through and as the five aggregates of human existence (skandhas): form (rūpa), feeling (vedanā), volitions (samskārā), perceptions (saṁjñā), and consciousness (vijñāna).

The specific sequence of concepts listed in lines 12-20 ("...in emptiness there is no form, no sensation, ... no attainment and no non-attainment") is the same sequence used in the Sarvastivadin Samyukta Agama; this sequence differs in compable texts of other sects. On this basis, Red Pine has argued that the Heart Sūtra is specifically a response to Sarvastivada teachings that ],in the sense "phenomena" or its constituents, are real. Lines 12-13 enumerate the five skandhas. Lines 14-15 list the twelve ayatanas or abodes. Line 16 makes a reference to the eighteen dhatus or elements of consciousness, using a conventional shorthand of naming only the first (eye) and last (conceptual consciousness) of the elements. Lines 17-18 assert the emptiness of the Twelve Nidānas, the traditional twelve links of dependent origination. Line 19 refers to the Four Noble Truths.

Avalokiteśvara addresses Śariputra, who was, according to the scriptures and texts of the Sarvastivada and other early Buddhist schools, the promulgator of abhidharma, having been singled out by the Buddha to receive those teachings. Avalokiteśvara famously states that, "Matter is empty, emptiness is matter." and declares the skandhas themselves to be dependently originated (i.e. empty). Avalokiteśvara then goes through some of the most fundamental Buddhist teachings such as the Four Noble Truths and explains that in emptiness none of these notions apply. This is interpreted according to the concept of smaran as saying that teachings, while accurate descriptions of conventional truth, are mere statements about reality – they are not reality itself – and that they are therefore not applicable to the ultimate truth that is by definition beyond our comprehending. Thus the bodhisattva, as the archetypal Mahāyāna Buddhist, relies on the perfection of wisdom, defined in the larger Perfection of Wisdom sutra to be the wisdom that perceives reality directly without conceptual attachment. This perfection of wisdom is condensed in the mantra with which the sutra concludes.

It is unusual for Avalokiteśvara to be in the central role in a Prajñāpāramitā text. Early Prajñāpāramitā texts involve Subhuti, who is absent from both versions of the Heart Sūtra, and the Buddha who is only present in the longer version. This could be considered evidence that the text is Chinese in origin
Mantra

Jan Nattier points out in her article on the origins of the Heart Sūtra that this mantra in several variations is present in the Chinese Tripiṭaka associated with several different Prajñāpāramitā texts The version in the Heart Sūtra runs:

Sanskrit IAST: gate gate pāragate pārasaṃgate bodhi svāhā
Sanskrit Devanāgarī: गते गते पारगते पारसंगते बोधि स्वाहा
Sanskrit IPA: ɡəteː ɡəteː paːɾəɡəteː paːɾəsəŋɡəte boːdʱɪ sʋaːɦaː
Chinese: 揭諦揭諦 波羅揭諦 波羅僧揭諦 菩提娑婆訶
Japanese:ギャーテーギャーテーハーラーギャーテーハラソーギャーテーボージーソワカー
Korean: 아제아제 바라아제 바라승아제 모지사바하
Tibetan: ག༌ཏེ༌ག༌ཏེ༌པཱ༌ར༌ག༌ཏེ༌པཱ༌ར༌སཾ༌ག༌ཏེ༌བོ༌དྷི༌སྭཱ༌ཧཱ།
Malayalam: ഗതേ ഗതേ പാരഗതേ പാരസംഗതേ ബോധി സ്വാഹാ
Tamil: கதே கதே பாரகதே பாரஸங்கதே போதி ஸ்வாஹா
Bengali: গতে গতে পারগতে পারসংগতে বোধি স্বাহা
Thai: คเต คเต ปารคเต ปารสงฺคเต โพธิ สวาหา (คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สะวาหา)
Vietnamese: Yết đế, yết đế , Ba la yết đế, Ba la tăng yết đế, Bồ đề tát bà ha
Fillipino: Nawala, Nawala, Nawala lampas, Nawala ganap na lampas, gumulantang! kaya ito
[edit]Chinese exegesis


In the traditions of Chinese Buddhism in the Sinosphere, it is said that the Indian masters who came to China to translate Sanskrit texts never translated mantras into Chinese because they knew this could not be done. They also held that it was impossible to explain the esoteric meanings of the mantras in words. It is said that when a devotee succeeds in realizing singleness of mind (samādhi) by repeating a mantra, then its profound meaning will be clearly revealed to him or her.

Tibetan exegesis  Each Buddhist tradition with an interest in the Heart Sūtra seems to have its own interpretation of the sūtra, and therefore of the mantra. As Alex Wayman commented: One feature of these commentaries [in Tibetan] on the Heart Sūtra struck me quite forcibly: each commentary seemed so different to the others, and yet they all seemed to show in greater or lesser degree the influence of the Mādhyamika school of Buddhist philosophy.

Donald Lopez goes further to suggest:

The question still remains of the exact function of the mantra within the sutra, because the sutra provides no such explanation and the sadhanas make only perfunctory references to the mantra. Tibetan exegesis of the mantra tends to look back on it from a Tantric point of view. For instance seeing it as representing progressive steps along the five paths of the Bodhisattva, through the two preparatory stages (the path of accumulation and preparation – gate, gate), through the first part of the first bhumi (path of insight – pāragate), through the second part of the first to the tenth bhumi (path of meditation – Pārasamgate), and to the eleventh bhumi (stage of no more learning – bodhi svāhā). As Geshe Kelsang Gyatso explains in Heart of Wisdom:

This mantra, retained in the original Sanskrit, explains in very condensed form the practice of the five Mahayana paths, which we attain and complete in dependence upon the perfection of wisdomThe current Dalai Lama explains the mantra in a discourse on the Heart Sutra both as an instruction for practice and as a device for measuring one's own level of spiritual attainment, and translates it as go, go, go beyond, go thoroughly beyond, and establish yourself in enlightenment. In the discourse, he gives a similar explanation to the four stages (the four go's) as in the previous paragraph.

Edward Conze attempted to render the mantra into English as: "gone gone, gone beyond, gone altogether beyond, O what an awakening, all hail!" There are several approaches to translating the mantra, most of which assume that the mantra obeys the rules of Classical Sanskrit. However, the string of words resists analysis and, like most mantras, is not a grammatical sentence.

The Heart Sūtra has been set to music a number of times. Many singers solo this sutra. The Buddhist Audio Visual Production Centre (佛教視聽製作中心) produced an album of recordings of theHeart Sūtra in 1995 featuring a number of Hong Kong pop singers, including Alan Tam, Anita Mui and Faye Wong and composer by Andrew Lam Man Chung (林敏聰) to raise money to rebuild the Chi Lin Nunnery. Other Hong Kong pop singers, such as the Four Heavenly Kings sang the Heart Sūtra to raise money for relief efforts related to the 1999 Chichi earthquake. Shaolin Monk Shifu Shi Yan Ming also recites the Sutra at the end of the song "Life Changes" by the Wu-Tang Clan, in remembrance of the deceased member ODB. The outro of the b-side song Ghetto Defendant by the British first wave punk band The Clash also features the heart sutra, recited by American beat poet Allen Ginsberg. A slightly edited version is used as the lyrics for Yoshimitsu's theme in the PlayStation 2game Tekken Tag Tournament. An Indian styled version was also created by Bombay Jayashri title named - Ji Project.


สวัสดีวันพระ วันมาฆบูชา ถึงแม้ว่าจะโพสช้าไปนิด แต่ก็โพสด้วยใจนะคะ อนุโทนาทุกท่านคะ

ว่าด้วยเรื่อง "ทาง" ทางด้านดนตรีไทย - สงัด ภูเขาทอง



เนื่องด้วยคำว่า "ทาง" นั้น บางท่านยังสับสนถึงความหมาย ความหลากหลาย และความน่าจะเป็นอยู่มาก และเนื่องจากหนัสือที่ว่าด้วยเรื่องนี้ ค่อนข้างที่จะหายาก หรือยังขาดแคลนในระบบวาระข้อมูลเครือข่ายใยพิภพ ผู้เขียนจึงได้หยิบยกองค์ความรู้ ว่าด้วยเรื่องของ "ทาง" ด้านดนตรีไทยมาพอสังเขป โดยทั้งหมดได้คัดออกมาจากหนังสือ "การดนตรีไทย และการเข้าสู่ดนตรีไทย " ของอาจารย์ สงัด ภูเขาทอง (ล่วงลับ)  ซึ่งค่อนข้างจะเข้าใจง่าย ดังนี้ 

ทางของเพลง "ทางฎ ในที่นี้หมายถึงแบบ หรือวิธีที่นักดนตรีไทยได้กำหนดเอาไว้เพื่อใช้ในการปฏิบัติดนตรีไทย อาจเป็นเครื่องดนตรีหรือบทเพลงก็ได "ทาง" ในดนตรีไทยได้จำแนกความหมายไปในแนวต่างๆ ดังนี้

๑. หมายถึงการดำเนินทำนองเฉพาะเครื่องดนตรีแต่ละอย่าง เครื่องดนตรีแต่ละอย่างย่อมมีวิธีปฏิบัติเพื่อดำเนินทำนองเพลงที่ไม่เหมือนกัน เช่น ปี่ใน ดำเนินทำนองที่โหยหวน คลุมทำนองเพลงบ้าง เดินตามทำนองเพลงบ้าง ระนาดเอกมักบรรเลงยืนทำนองหลัก แต่มีลูดเล่นพิศดารออกไป เช่นมีลูกสบัดบ้าง ลูกขยี้บ้าง ลูกกวาดบ้าง หรือฆ้องวงใหญ่ ต้องบรรเลงให้มีเสียงห่างๆ เก็บเอาเฉพาะแต่ทำนองเพลงที่แท้จริง ส่วนระนาดทุ้มก็ดำเนินทางอิสระ จะพลิกแพลงโลดโผนอย่างไรก็ได้

เครื่องดนตรีชนิดอื่น เช่น ซออู้ ซอด้วง แม้ว่าจะประกอบด้วยสาย ๒ สาย และมีเสียงคู่เหมือนกัน คือ คู่ ๕ แต่มีวิธีปฏิบัติไม่เหมือนกัน ดุจเดียวกับเครื่องเป่า เช่น ขลุ่ยเพียงออ กับขลุ่ยหลิบ แม้ว่ารูปร่างตลอดจนระบบเสียงที่มีอยู่ในตัวขลุ่ยจะเหมือนกัน แต่เวลานำมาบรรเลงร่วมกัน วิธีปฏิบัติหาเหมือนกันไม่

๒. หมายถึงทำนองที่เกิดจากความคิดของกวี อันความคิดของกวีย่อมไม่เหมือนกัน เป็นเหตุให้สำนวนเพลงต่างกัน เพลงบางเพลงอาจมาจากรากฐานของเพลงแห่งเดียวกันแต่เมื่อมาปรุงแต่งแล้วรสชาติมักไม่เหมือนกัน เพราะแต่ละคนมีสำนวนไม่เหมือนกัน เราอาจเคยได้ยินคำกล่าวของนักดนตรีไทยบางคนกล่าวในเชิงเปรียบเทียบสำนวนของเพลงไทยระหว่างฝั่งพระนครกับธนบุรีเอาไว้ว่า 

"ทางฝั่งพระนครมีสำนวนเพลงหวานเรียบร้อย แต่ทางฝั่งธนนั้นมีสำนวนแข็งกร้าวดุดัน" นี่เป็นเพราะรสนิยมทางการประพันธ์เพลงไม่เหมือนกัน 

๓. หมายถึง วิธีการนำเอาเพลงมาบรรเลง เช่น ทางเดี่ยวหรือทางหมู่ จะมีทำนองเพลงไม่เหมือนกัน 

๔. ทางที่ใช้เป็นเครื่องนัดหมายของเสียงเพื่อการบรรเลงโดยเฉพาะ ซึ่งนักดนตรีจะต้องรับรู้กัน เช่น ทางเพียงออล่าง หรือทางในลด ทางใน ทางกลาง ทางเพียงออบน ทางกรวดหรือทางนอก ทางกลางแหบ และทางชวา

อันทางที่ใช้เป็นเครื่องนัดหมายของเสียงนี้ ส่วนใหญ่มักใช้กับวงปี่พาทย์ เชื่อว่าลงมีอยู่ ๔ ทาง ดังคำวินิจฉัยเรื่อง "ทางของปี่พาทย์" สมเด็จเจ้าฟ้ากราพระยานริศฯ ในหนังสือบันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ ความว่า 

"ปี่พาทย์ของเราทำกันอยู่ ๔ ทาง จะว่าไปตามลำดับแต่เสียงต่ำไปหาเสียงสูง คือ 

- ทางพงออ หรือพองออ พวงออ อะไรแน่ก็ไม่ทราบ ไม่เป็นภาษา ตัดสินไม่ลง ใช้เล่นมโหรีเป็นยืน เพราะว่ามีเสียงเหมาะแก่เสียงผู้หญิง

-ทางใน ใช้เป็นทางปี่พาทย์โดยสามัญ

-ทางกลาง ใช้ทำหนัง เห็นว่าจะเป็นด้วยทำในกลางหาว ใช้เสียงสูงขึ้นได้ยินไปไกล เพื่อประกาศเรียกคนมาดู 

-ทางนอก หรือทางเสภาก็เรียก ใช้ในการทำเสภา เพราะว่าเสียงเหมาะกับผู้ชาย 

ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นอีก การเปลี่ยนทางก็เหมือนเปลี่ยนทิศ เปรียบว่าเราหันหน้าไปทิศบูรพา บูรพาก็หน้า ทักษิณขวา ปัจฉิมเป็นหลัง อุดรเป็นที่สุด ถ้าหันไปทักษิณ ทักษิณกกลายเป็นหน้า ปัจฉิมเป็นขวา บูรพาเป้นที่สุด เวียนไปโดยนิยมดั่งนี้จนรอบตัว ก็เหมือนหนึ่งปี่พาทย์ตีเปลี่ยนทางจะไม่มีผลอะไรให้เปลี่ยนแปลกไป เป็นแต่เสียงต่ำลงหรือสูงเท่านั้น ในการเปลี่ยนเสียงนั้น แม้จะไม่ยังผลอะไรให้แก่เพลงก้ดี แต่ทำพิษเอาแก่คนเป่าปี่ยิ่งนัก  เพราะการเลื่อนเสียงไปนั้น อาจทำให้นิ้วขัด จึงทำให้เกิดปี่ ๓ ชนิด คือ ปี่นอก เป็นขนาดเล็ก ส่วนทางพงออนั้นไม่มีปี่สำหรับกัน เพราะเป็นเรื่องของมโหรี  มโหรีก็มีขลุ่ยเป็นสามชนิด คือ ขลุ่ยพงออ ขลุ่ยรองออ ขลุ่ยกรวด จะอธิบายให้กว้างขวางไปอีกไม่ไหว เพราะรู้ไม่พอ...

ทางที่ใช้สำหรับขับร้องและบรรเลง หรือเรียกว่าทาง รับ - ร้อง ในเพลงไทยส่วนมาก ทำนองร้องกับทำนองดนตรีมักจะเลียนเสียงซึ่งกันและกัน แต่ผู้ที่ฟังทำนองดนตรีไม่เข้าใจเพราะเกิดจากทำนองรับได้ปรุงแต่งเนื้อเพลงออกไปโดยพิศดาร แต่ก็ยังคงรักษาทำนองหลักเอาไว้ ผู้ที่จะเข้าใจได้ดีต้องเข้าใจทางร้องเอาไว้ก่อนแล้วจึงนำเอามาเปรียบเทียบกับทำนองรับ

แต่ยังมีเพลงบางประเภทที่มีแต่ทำนองบรรเลงไม่มีทางร้อง เช่น เพลงหน้าพาทย์ต่างๆ เช่น สาธุการ เสมอ เชิด เป็นต้น แต่ก็มิได้เป็นเช่นนี้เสมอไป เพลงหน้าพาทย์อีกหลายเพลง มีทำนองร้องกำกับไว้ด้วย เช่น ตระบองกัน บาทสกุณี เหาะ เป็นต้น อันที่จริงเพลงหน้าพาทย์ต่างๆ ที่ใช่ในการแสดงโขน ละครนั้น อาจมีเนื้อร้องมาก่อนแล้วก็ได้ แตคนภายหลังไปตัดออกไปเสีย หรืออาจไม่เคยมีมาก่อน แต่คนรุ่นหลังได้คิดแต่งบรรจุเข้ามาเพื่อใช้รำได้ก็ได้  ความเห็นเรื่องนี้ไม่ขอยืนยัน ขอให้ช่วยคิดค้นคว้ากันต่อไป

๖. ทางกรอ คำว่า "กรอ" เป็นคำที่ใช้ในทางปี่พาทย์ หมายถึงการตีด้วยเสียงถี่ๆ อยู่เสียงเดียว แต่เมื่อนำมาใช้ในบทเพลง ก็กลายเป็นวิธีดำเนินทำนองของเพลงอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้แต่งได้เว้นจังหวะของเพลงไว้ยาว ผู้บรรเลงก็จะต้องลากเสียงให้ยาวตามจังหวะนั้นด้วย จึงจะฟังไพเราะ เพลงประเภทนี้บางครั้งเรีบกว่า "เพลง กรอ" เช่น เพลงแสนคำนึง เขมรพวง เป็นต้น เพลงประเภทนี้หากบรรเลงให้เป็นเสียงถี่ๆ ขาดความไพเราะไปทันที ไม่ควรกระทำ

๗. ทางโอด - พัน เป็นวิธีการบรรเลงแบบหนึ่ง ส่วนมากมักนำไปใช้กับเพลงเดี่ยวที่เกี่ยวกับเครื่องเป่า  และเครื่องสาย การเดี่ยวมักจะสร้างทำนองเพลงเป็น ๒ อย่าง คือ ทางโอด บางครั้งเรียกว่าทางหวาน คือบรรเลงเสียงยืดคล้ายเลียนเสียงทำนองร้อง และจะมีทำนองพัน บางครั้งเรียกว่าทำนองเก็บ คล้ายทำนองบรรเลง เรียกว่า ทางโอด และระดับเสียงต่ำ เรียกว่าทางพันก็ได้

อ้างอิงจาก 

สงัด  ภูเขาทอง, การดนตรีไทย และทางเข้าสู่ดนตรีไทย, Dr. Sax, กรุงเทพฯ. 

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

Barbra Streisand - Memory แปล - ความทรงจำ




Midnight, Not a sound from the pavement
Has the moon lost her memory?
She is smiling alone
In the lamplight
The withered leaves collect at my feet
And the wind begins to moan
Memory, All alone in the moonlight
I can smile at the old days
I was beautiful then
I remember
The time I knew what happiness was
Let the memory live again
Every street lamp
Seems to beat
A fatalistic warning
Someone mutters
And a street lamp gutters
And soon it will be morning
Daylight, I must wait for the sunrise
I must think of a new life
And I mustn't give in
When the dawn comes
Tonight will be a memory too
And a new life will begin
Burnt out ends of smoky days
The stale cold smell of morning
The street lamp dies
Another night is over
Another day is dawning
Touch me, It's so easy to leave me
All alone with my memory
Of my days in the sun
If you touch me
You'll understand what happiness is
Look a new day has begun...


ราตรีนี้เที่ยงคืน ไร้สรรพเสียงบาทวิถี
หรือเจ้าดวงรัชนี จะหลีกหนีความทรงจำ
เหลือเพียงฉันที่ฝืน ยืนฉีกยิ้ม
แต่ความเศร้าบันดาล ลงตาตุ่ม
เสียงลมคราง ครวญเคล้าคลุ้ง
นี่คือหนึ่งความทรงจำ จางแสงจันทร์
ยิ้มละไม ผ่องประไพ ย้อนจำได้
ยังสวยใส ฉาบเคลือบ วันวานหวาน
ช่วงเวลาความสุข ร่า ฆ่าวันวาน
ล่วงเลยผ่าน ตราตรึง ความทรงจำ
แสงไฟจ้า พาดผ่าน ผิววิถี
ตรึงชีวี หมุนเวียน ตามสังขาร
โชคชะตา ฉันบ่น พร่ามวันวาน
เวียนความจำ เวียนพร่า รับอรุณ
แสงอุทัยสดใสเมื่อเช้าตรู่
ความหดหู่ หดหายคลายความเหงา
แรกวันใหม่ ชีวิตใหม่ในตอนเช้า
สุขหรือเศร้าเคล้ากันไป  ความทรงจำ
หมดอีกวัน ราตรีศัลย์ นั้นรออยู่
อนิจจังอยู่คู่สู่ชีวีศรี
มิอาจเลี่ยง สุขทุกข์ บุรุษ สตรี
เช้าวันหน้าดำเนินมี จำทรงความ


"ขอจงมีสติ" 

First Love by Utada Hikaru (original version) แปลโดย เอมิลี่




最後のキスはタバコの flavor がした
Saigo no KISSU wa TABAKO no FLAVOR ga shita
จุมพิตสุดท้าย รักมลายยังพิศคิดสวาท


ニガくてせつない香り
Nigakute setsunai kaori
รสซาบซ่าน ทั้งปวดเจือหวานขม


明日の今頃には
Ashita no imagoro ni wa
รักแรกนั้น เวลานี้จำต้องตรม


あなたはどこにいるんだろう
Anata wa doko ni irun darou
ใจขื่นขมคะนึงนิดคิดถึงเธอ


誰を思ってるんだろう
Dare wo omotterun darou
สุดเกินคว้า จับดาวมาแนบชิด

You are always gonna be my love
ตรึงดวงจิต ปักศร ร้อนอุษา


いつか誰かとまた恋に落ちても
Itsuka darekato mata koi ni ochitemo
แม้รักซ้อน สี่ห้องใจ ไม่ตรึงตรา

I'll remember to love

You taught me how
รักสถิตย์ ค้ำฟ้า พานิรันด์


You are always gonna be the one
เธอคือหนึ่ง เดียวหนึ่งใน ใจเสมอ


今はまだ悲しい love song
Ima wa mada kanashii love songu
คนที่เพ้อครวญหา เพลงบรรเลงเศร้า

新しい歌 歌えるまで
Atarashii uta utaeru made
ใจหงอยเหงา สักวันเพลง ต้องจบลง


立ち止まる時間が
Tachidomaru jikan ga
โปรดจงช้า เวลา จงหยุดนิ่ง


動き出そうとしてる
Ugoki dasouto shiteru
แต่ทุกสิ่งกลับเคลื่อนไป ไร้สงสาร


忘れたくないことばかり
Wasuretakunai kotobakari
จะกี่วัน กี่ปี ของวันวาน ในความหวานรสรัก ปักกลางใจ


明日の今頃には
Ashita no imagoro niwa
หรือพรุ่งนี้ เพลา ณ ตอนนี้ 


わたしはきっと泣いている
Watashi wa kitto naite iru
รัชนี เยือกเย็น เร้นโศกศัลย์


あなたを思ってるんだろう yeah yeah yeah
Anatawo omotterun darou
ใจพะวง คิดถึง ตรึงตราจิต รักเธอนาน 


You will always be inside my heart
ตราบวันวาน ตราบสิ้น รักนิรันด์


いつもあなただけの場所があるから
Itsumo anata dake no basho ga aru kara
โปรดจงคิด สงสาร ฉันเถอะนะ 

I hope that I have a place in your heart too
หวังฉันจะ พอมีที่อยู่ในใจ  เธอบ้างไหม?

Now and forever you are still the one
และจากนี้ชาตินี้ ตลอดไป 


今はまだ悲しい love song
Ima wa mada kanashii love song
ลำนำนี้เศร้าเท่าไหร่ จำยินดี


ว่าด้วยเพลงนกแลที่แท้ก็คือเพลงต้อยตริ่ง - พูนพิศ อมาตยกุล

    บทความนี้ตีพิมพ์ใน สยามรัฐ ฉบับวันที่ 23 กรกฎาคม พ.. 2529
   หน้า 13

   สยามสังคีต
     พูนพิศ  อมาตยกุล



         ว่าด้วยเพลงนกแลที่แท้ก็คือเพลงต้อยตริ่ง

                ฝรั่งจากอเมริกา เขาเป็นศาสตราจารย์ทางดนตรี มาอยู่เมืองไทยเดือนกว่า ๆ ทุกวันเปิดวิทยุฟังได้ยินเพลง นกแลก็คือนกแก้ว เสียงแจ้วๆ เป็นจังใดจา” เท่านั้นยังไม่พอ ตอนที่ออกจากโรงแรมเวียงใต้ อันเป็นที่พักไปเดินเล่นซื้อของที่ตลาดบางลำพู ทุกร้านขายเทปตลับ ก็จะเปิดเพลง นกแล”  ชินหูหนักเข้าก็เลยซื้อมาฟัง สนใจมากก็เอาติดกลับไปอเมริกา มาบัดนี้ทราบความว่า เพลงนกแลนี้ ลูกสาวของท่านศาสตราจารย์ร้องได้แล้ว และภาคภูมิใจมาก ฝรั่งเรียกเพลงนี้ว่า เพลงสำหรับเด็ก

นั่นก็คือความจริงเกี่ยวกับ นกแล”  เพราะวงนกแลเป็นวงดนตรีเด็กเล็ก ๆ น่ารัก น่าเอ็นดู  เจริญเติบโตในด้านการดนตรี ร้องเพลงจนได้ไปทัวร์สหรัฐอเมริกามาแล้ว น่าชื่นชมยินดี และส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็กเหล่านี้มีชื่อเสียง ได้สนุกสนานชีวิตในบ้านสะดวกสบายขึ้น ก็คือ เพลงนกแล” นี่เอง เป็นธรรมชาติของคนทั่วไปว่า เมื่อฟังเพลงไพเราะแล้ว จะร้องได้ก่อนหรือจำเนื้อทำนองได้ก่อนที่จะเอ่ยปากถามเพลงนี้ใครเป็นคนแต่ง ดังนั้นนักแต่งเพลงทุกยุคทุกสมัย จึงเป็นผู้ปิดทองที่หลังพระมานานและก็จะเป็นเช่นนี้ตลอดไป

เหตุที่จะเขียนเรื่องนี้ก็เพราะมีแฟนเพลงและการแสดงที่ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ  เดินเข้ามาทักทายผู้เขียนเหมือนเป็นญาติสนิท น่าจะเรียกได้ว่าคุณป้าหรือคุณน้า พอเห็นหน้ากันก็โบกมือหยอยๆ แล้วยิ้มร่าเข้ามาหาบอกว่า  แหม อยากพบมานานแล้ว จะถามเรื่องเพลงนกแลน่ะ เถียงกับเพื่อนเขาหาคนตัดสินไม่ได้”  ไม่ทราบว่าต้องกลายเป็นตุลาการตัดสินข้อพิพาทเรื่องเพลงมาตั้งแต่เมื่อใด  คุณป้าเธอบอกว่า เพลงนกแลนี้ เป็นเพลงลาวเก่าแก่  ส่วนเพื่อนคุณป้าว่าเพลงนี้เป็นเพลงเขมรเก่า แถมบอกชื่อเสียงโก้เก๋ว่าเดิมชื่อเพลง เขมรทุบมะพร้าว” โดนเข้าแบบนี้ก็เลยต้องนิ่งคิด แล้วร้องอยู่ในใจเบาๆ สักครู่ตุลาการก็บอกได้ ทั้งนี้เพราะในจิตสำนึกมองเห็นหน้าท่านอาจารย์มนตรี ลอยอยู่ในความจำว่าท่านเคยเล่าเรื่องเพลงต้อยตริ่งให้ฟัง ว่าเป็นเพลงแรกในชีวิตที่ท่านคิดเป็นเพลงเถา 


เพลงต้อยตริ่งนี้แหละคือเพลงนกแล  ส่วนเขมรทุบมะพร้าวนั้นเป็นคนละเพลงเลยทีเดียว ได้ตอบคุณป้าแฟนเพลงไปว่า ที่คุณป้าว่าเป็นเพลงลาวเก่าแก่นั้น ถูกนิดเดียว ถ้าจะให้ถูกจริงต้องพูดว่า เป็นเพลงไทยสำเนียงลาวของเก่า”  เพราะเพลงนี้เป็นไทยแท้ ๆ มีมานานแต่สมัยโบราณ ชื่อก็เป็นไทยว่า ต้อยตริ่ง” แต่เนื่องจากหางเสียงไปทางลาว ก็เลยจัดเข้าพวกสำเนียงลาวไว้ บางคนเลยเรียกว่า ลาวต้อยตริ่ง”  ในสมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบรรจุทำนองเพลงนี้ไว้บทละครเรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง ร้องว่า

"สูเอยจะสนุกจะได้เป็นสุขสบายใจ
สิ้นโศกวิโยคไซร้ ดวงหฤทัยจะเปรมปรีดิ์

จะชื่นหนักหนา จะซ่านกายา
จะแลดูตากับคู่ชีวี

ชม้อยคอยมอง ชม้อยคอยมอง
จะจ้องดูที จะจ้องดูที"

น่าเสียดายที่ไม่ทราบว่าท่านผู้ใดแต่งเอาไว้  เนื่องจากเป็นเพลงไพเราะ  ร้องง่ายจำง่าย  ก็เลยติดใจคนมาช้านานร่วมร้อย ๆ ปี ครั้นถึงสมัยนิยมเพลงเถา อาจารย์มนตรี ตราโมท  ขณะนั้นท่านยังเป็นหนุ่มน้อยอยู่ คิดจะลองทำเพลงเถา คือหาเพลงเก่าอัตราสองชั้นมายืดเป็น 3 ชั้น  แล้วตัดลงชั้นเดียว  จนเป็นเพลงเถา ท่านก็ทดลองเอาเพลงต้อยตริ่งนี้มาลองทำดู โดยมีหมื่นประคมเพลงประสานซึ่งเป็นผู้ใหญ่ขณะนั้นรับทราบด้วย และเนื่องจากสมัยโน้น ใครคิดทำเพลงใหม่ขึ้นมา ถ้าเป็นผู้เยาว์เขาก็ไม่ค่อยจะเชื่อถือนัก อาจารย์มนตรีจึงใช้ชื่อหมื่นประคมเพลงประสาน ว่าเป็นผู้ประพันธ์เพลงต้อยตริ่งเถานี้ เป็นเพลงไพเราะน่าฟังมาก ยังร้องมาจนทุกวันนี้  สมัยสงครามโลกครั้งที่  เลิกได้ไม่นาน สนามม้าก็แข่งม้า  ผู้ชายชาตรีสมัยนั้นก็นิยมไปเล่นม้ากัน เสียม้าไม่มีเงินก็ไปหาเงินจากที่อื่นมาเล่น จึงมีเพลงตลก ๆ เกิดขึ้นเพลงหนึ่ง  ใช้ทำนองต้อยตริ่งดังนี้


สาวเอยจะบอกให้                                 อยู่ไปทำไมเอ้กา
อยู่เดียวเปลี่ยววิญญา                           เชิญแก้วตามาหาคู่ครอง
ฉันรักสาว ๆ แส้ ๆ                                 คนแก่ฉันไม่อยากมอง
ถ้าคนแก่มีเข็มขัดทอง                         ฉันจะปองรักเธอคนเดียว
สนามม้าจะพาแม่โฉมฉิน                    ไปเพลสวินสักหกเจ็ดเที่ยว
ไม่ให้พลาดเลย                                    แต่สักนัดเดียว
จะขอเที่ยวกับน้อง                               ไม่หมองมัว
รับรักตัวพี่สักหน่อย                               ยอดสร้อยเจ้าอย่าถือตัว
รับรักตัวพี่เป็นผัว                                 พอทองหมดตัวแล้วเราเลิกกัน

ผู้เขียนร้องเพลงนี้เล่นมาแต่เด็ก ๆ แต่ต้องระวังอย่าให้คุณย่าท่านได้ยินเด็ดขาด เพราะท่านจะเอ็ดตะโรทันทีว่าร้องเพลงน่าเกลียด บัดสีบัดเถลิง เรื่องเล่นม้า  เรื่องมีผัวปอกลอกทองผู้หญิงเป็นเรื่องราวทราต่ำช้าเพลงขี้ข้าไม่น่าจะเอามาร้อง ใฝ่ต่ำเพลงดี ๆ มีมากมายไม่คิดเอามาร้อง เลว เลว เลว…… ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ลับหลังก็ร้องดังลั่น ร้องเล่นเป็นประจำเสียจนจำได้มาจนบัดนี้ พอร้องเพลง สาวเอจะบอกให้”  ให้คุณป้าผู้ถามปัญหาฟังท่านก็ร้อง อ๋อ  ….ยืดยาว ใช่แล้ว ใช่แล้ว ฉันก็จำเพลงนี้ได้ พวกเราเรียกว่า เพลงสาวเอยจะบอกให้” ท่านยังสำทับต่อไปอีกว่า เพราะว่าหยาบคายด้วยเรื่องเล่นม้าและหลอกปอกลอกทองคน

เป็นอันว่าเพลงนกแล ก็คือเพลงต้อยตริ่ง (ชื่อแท้ของเก่าและบางที่ก็เรียกว่า เพลงสาวเอยจะบอกให้ ส่วนเพลงเขมรทุบมะพร้าวนั้น มีเค้าคล้าย ๆ กันอยู่ แต่คนละสำเนียง แต่ก่อนนี้เราร้องเพลงเขมรทุบมะพร้าวกันด้วยบทร้องดังนี้

สาวสาวแสนสุดจะสวย  รูปร่างสำรวยเอวกลมสมหน้า
รักน้องจนต้องแลหา  โปรดหน่อยขวัญตาหันมาทางพี่
……………………………………….
                               ฯลฯ

เพราะเหตุว่าเนื้อร้องเกี้ยวสาวเหมือนกันหรือไรไม่ทราบคนจึงหลงว่าเป็นเพลงเดียวกันแท้จริงไม่ใช่เพลงเขมรทุบมะพร้าวนี้ คุณสุวิทย์ บวรวัฒนา อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหภาพพม่า  ได้แต่งเป็นเพลงเถา แล้วอาจารย์เจริญใจเป็นผู้ประดิษฐ์ทางขับร้อง ให้ชื่อใหม่ว่าเพลง สาวสุดสวยเถา”  คุณจันทรา สุขะวิริยะ หรือคุณจ้อ เป็นผู้ร้องอัดแผ่นเสียงชุดสมบัติของชาติไทยผลิตออกโดยคณะวัชรบรรเลงโดยหมอวรห์ วรเวช  เป็นผู้ทำออกเผยแพร่  นับเป็นแผ่นเสียงที่มีคุณค่ายิ่งยักเพราะมีเพลงไพเราะอยู่มากมายหลายเพลงทั้งเพลงเดี่ยวและเพลงเถา เช่น เพลงจินตหราวาตี เพลงโยสรำเถา เพลงมะลิซ้อนเถา เพลงเดี่ยวนกขมิ้น พญาโศก หกบท สุดสงวน องเชียงสือเถา และพญาสี่เสา เป็นต้น

ก่อนจบนึกขึ้นมาได้ว่า เพลงเขมรมะพร้าวนี้คณะสุนทราภรณ์เคยเอามาทำเป็นเพลงเนื้อเต็ม ร้องอย่างสากลโดย คุณเลิศ  ประสมทรัพย์ และ ครูศรีสุดา  รัชตวรรณ ใช้เนื้อร้องเก่า สาว ๆ แสนสุดจะสวยนี่แหละเป็นเพลงยอดนิยมอยู่สมัยหนึ่ง ยิ่งบรรเลงเป็นสังคีตประยุกต์ด้วยแล้ว ยิ่งไพเราะมาก ตอนนี้ก็ได้ทราบข่าวว่าคุณเลิศ ประสมทรัพย์ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ว่าเป็นเบาหวานจนต้องตัดขา  ใครเป็นแฟนคุณเลิศก็น่าจะได้ไปเยี่ยมเยียนกันบ้าง



                          (เพลงนี้มาจากเพลง สาวเอยจะบอกให้ ซึ่งคุณเลิศแต่งไว้ก่อนแล้ว และบันทึกแผ่นเสียงกับสถิตตราคนคู่ ต่อมาวงดนตรีกรมโฆษณาการได้ไปบรรเลงที่บ้านหม่อมกอบแก้ว อาภากร เมื่อ ๕ เมษายน ๒๔๙๙ คุณเลิศได้พบสาวน้อยหน้าหวานคือ หม่อมหลวงปราลี ประสมทรัพย์ เกิดรักแรกพบ จึงเปลี่ยนเนื้อร้องบางวรรคจากเพลงสาวเอยจะบอกให้ แล้วให้ชื่อเพลงว่า “สาวก้อนแก้ว” และต่อมาบันทึกเสียงเพลงนี้กับวงดนตรีกรมโฆษณาการข้อมูลจากหนังสือ 80ปี เลิศ ประสมทรัพย์ อันทรงคุณค่า)

เป็นอันว่าเรื่องเพลงนกแลนี้ ก็ได้ไขความออกให้กระจ่างแล้ว น่าสังเกตว่าผู้แต่งเพลงนกและจริง ๆ ไม่ได้นำเพลงต้อยตริ่งทั้งเพลงไปทำเป็นเพลงนกแล  คงนำเพียงตอนต้นเท่านั้นไปใช้ แล้วแต่งใหม่ต่อไปอีก เพลงของเก่าเรานี้ เป็นสมบัติอันทรงคุณค่ามหาศาล ใช้เท่าไรก็ไม่หมด มีมากมายเป็นพัน ๆ เพลงเสียดายที่คนไทยเราไม่ชอบจด และที่จำได้ก็ไม่จดเลยไม่รู้ประวัติเพลงเก่า ๆ อีกมากมายหลายเพลงมาจนทุกวันนี้


* หมายเหตุจากผู้เขียนบล็อค  ทำนองเพลงต้องตริ่งนี้ ยังนำมาเป็นทำนองเพลง "สาวเชียงใหม่" ขอบร้องโดน จรัล มโนเพ็ชร อีกด้วย โดยเค้าเดิมน่าจะนำมาเฉพาะเค้าของสำเนียงลาว ที่ขึ้นต้นเพลง มิได้นำเอาท่อนที่มีลูกล้อมาใช้ในทำนองเพลงแต่อย่างใด