อยู่นี่แล้ว


วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

ลาก่อน ดนตรีวิทยา?


ลาก่อน ดนตรีวิทยา?


บันทึกบน ความแตกต่างกันระหว่างสถาบันการศึกษา : วิจัย ในดนตรีญี่ปุ่น
เรื่อง ฉาก สี และภาพ โดย SEYAMA Toru ขอประทานโทษภาพนี้ แต่งแต้มโดย Amelie Chance

ลาก่อน ดนตรีวิทยา? บันทึกลงบนความลงตัวระหว่างสหวิทยาการ การศึกษาดนตรีญี่ปุ่น
ในวัฒนธรรมดนตรีปฏิสัมพันธ์ กรณีศึกษาความเป็นตะวันออก-ตะวันตก จัดวางองค์ประกอบโดย(MABUCHI Usaburo and YAMAGUTI Osamu. Tokyo: Academia Music): ๑๔๖-๑๕๕.

               
                กาลระยะเวลาที่ผ่านมา จวบจนปัจจุบันคนญี่ปุ่นยังคงพยายามรักษาซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมดั้งเดิมมาหลายชั่วอายุคน ในขณะที่ยังยินยอมรับการปลุกเร้าจากกระแสวัฒนธรรมสมัยใหม่ต่างชาติที่ยังส่งอิทธิพลเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย เรื่องนี้ควรเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายควรจับตามอง และให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

                ร้อยกว่าปีที่ผ่านมา จากความอุดมสมบูรณ์ ความสลับซับซ้อน และการใกล้ชิดกันของวัฒนธรรม ระหว่างคำว่า เก่า และใหม่ แม้แต่ดนตรีก็ไม่ได้รับการยกเว้น ส่งผลนำมาซึ่งปัญหาอุปสรรคมากมายอันเป็นเหตุผลให้มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยอย่างทุกวันนี้

                 ในปัจจุบันสิ่งเหล่านี้มีเนื้อหาความเป็นมา มากเกินกว่าที่กล่าวได้อย่างครอบคลุมมิดชิดรัดกุมได้ เพราะมันกว้างไปกว่า ทฤษฏี และระเบียบวิธีการวิจัยที่ไม่สามารถครอบคลุมหมดทุกส่วน(ดนตรีด้วยเช่นกัน)เช่น ความรู้สึก นึกคิด และสัญชาติญาณธรรมชาติ ความเป็นวัฒนธรรมคนญี่ปุ่นที่มีจุดเด่นสามารถประยุกต์ เลือกรับและปรับเปลี่ยนความเป็นดนตรีวิทยาจากโลกตะวันตก เข้ากับส่วนผสมระหว่าง ประวัติศาสตร์ และมานุษยดนตรีวิทยาในแบบฉบับวัฒนธรรมชาวอาทิตย์อุทัยได้อย่างลงตัว แต่อย่างไรก็ตามหลังจากการครุ่นคิดพิจารณาในความไม่ลงรอยกัน ระหว่างวัฒนธรรมตะวันตก และญี่ปุ่น เป็นผลให้นำมาสู่การถอยร่นของวัฒนธรรมดนตรีวิทยาดั้งเดิมจากตะวันตกที่สามารถนำไปสู่การนำเสนอความหมายในทุกความหมายของสิ่งที่ปรากฏในปัจจุบัน ในสังคมญี่ปุ่น ไม่ใช่เพียงแค่ทฤษฎีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นที่สำคัญ หากต้องมีการเข้าใจอย่างถ่องแท้ ในตัวตนดนตรี ของคนในสังคมญี่ปุ่นอย่างแท้จริง
                 
บทนำ
                การดำรงอยู่ของความเป็นญี่ปุ่น บางครั้งมันก็น่าพิศว งง งวย ในการคลี่คลายวัฒนธรรมจากสิ่งแปลกปลอม นำมาสู่ตัวตนที่แท้จริง ในพื้นที่ระหว่างวัฒนธรรมเดิม เอกลักษณ์ความเป็นตะวันออกที่มีชีวิตและลมหายใจอยู่ยาวนานหลายพันปี จนถึงปัจจุบันทุกวันนี้ท่ามกลางจิตวิญญาณโลกสมัยใหม่ ถูกนำเสนอผ่านสิ่งวิเศษที่เรียกว่าเทคโนโลยี ระบบคอมพิวเตอร์กำลังเตรียมจัดส่งวิญญาณโบราณคล่ำครึนี้ไปตามโลกไซเบอร์ให้ทุกคนได้แสวงหาเก็บเกี่ยวในสิ่งซึ่งตนต้องการ อย่างรวดเร็ว นั่นก็เป็นทำนองเดียวกันกับดนตรี จะว่าไปก็ยังคงเป็นเรื่องยากที่จะเข้าสู่ความลึกซึ้งในภาพลักษณ์ที่แท้จริงของดนตรีญี่ปุ่น

                แต่กระนั้น กระนี้ ยังมีอีกหลากหลายเรื่อง ของเรื่องขี้ประติ๋ว ในความเป็นสภาวการณ์อันสามารถรู้ทราบโดยปราศจากความเข้าใจอย่างแท้จริง เป็นเรื่องยากที่จะโกหกท่ามกลางเรื่องต่างๆ อีกมากมายซึ่งยังจริงอยู่แท้ในสามปัจจัยที่ส่งผลแก่วัฒนธรรมสังคมดนตรี ได้แก่ ๑.ความมีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน ๒.ความซับซ้อน ๓.การเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างของสารพัดชนิดดนตรีที่ปรากฏในสังคมเมืองปลาดิบ
                ความมีอยู่มากมายนับไม่ถ้วนนี้ เชื่อว่าคุณเคยรับฟังดนตรีญี่ปุ่นมาแล้วไม่มากก็น้อย ไม่ว่าเวลาจะเปิดทีวี หรือพบเห็นในกระดาษห่อของที่ผ่านตาไปมา เลือนรางหรือยังจำได้อยู่ ความซับซ้อน ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นจะมีความเป็นมา มีรากฐานวัฒนธรรมที่มั่นคงยาวนาน สิ่งเหล่านี้ถูกกำไว้ในมือข้างหนึ่งข้างใดอย่างเหนี่ยวแน่น แต่ก็ยังมีมืออีกข้างที่พร้อมจะจับคว้าความเป็นตะวันตก และนานาอารยะธรรมไว้อย่างมากมาย ส่วนการเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่าง ในส่วนนี้อย่างไรก็ตามความแตกต่างทั้งหมดนั้นมีมากมายหลากหลาย แต่อย่างน้อยมันก็ยังยินยอมไว้ซึ่งกันและกัน ให้มนุษย์ทุกคนในที่ดินแดนอันสวยงามแห่งนี้ได้รับฟังถึงตัวตน เพียงแค่ผิวเผิน ก็ยังดี
               
๑. เขา หรือใคร เหนื่อย และเบื่อ เกี่ยวกับดนตรี?
                “When a man is tired of London, he is tired of life; for there is in London all that life can afford.”
                                -Samuel Johnson (๑๗๐๙-๑๗๘๔)
๑.๑ ยุคฟื้นฟู ในสมัยจักรพรรดิ มัตซุอิโต (ค.ศ. ๑๘๖๗-๑๙๑๒)
                ในยุคที่ญี่ปุ่นยังไม่ปรารถนาที่จะยอมรับสิ่งต่างๆเข้ามา บางครั้งก็ดูเหมือนเป็นประเทศที่น่ารำคาญ เรื่องมาก ทางด้านดนตรีก็เป็นแบบนี้เช่นกัน ในความเป็นจริงแล้วมันหนีไม่ได้ที่จะต้องยอมรับถึงสภาวะที่ถูกบีบบังคับจากกระแสแห่งโลกสมัยใหม่ที่ถาโถมเข้ามามากเกินที่จะต้านทานไว้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว จากจุลภาค สู่มหภาค บิดเบือนวัฒนธรรมเดิมให้ไปสู่วัฒนธรรมใหม่อย่างปฏิเสธไม่ได้
                ในช่วงเวลาระหว่างกลาง ค.ศ. ๑๙ ประเทศญี่ปุ่นได้เปลี่ยนแปลงตัวเองไปสู่โลกสมัยใหม่อย่างรวดเร็ว ยุคฟื้นฟูสมัยเมจิ การปกครองภายหลังการแปลกแยกออกมาอย่างโดดเดี่ยวจากโลกภายนอก ประเทศนี้ดูเหมือนจะกระตือรือร้นที่จะเริ่มต้นใหม่ในทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนเด็กเพิ่งได้ของเล่นใหม่ เป็นอารยะธรรมดนตรีในโลกตะวันตก(ก็ไม่เว้น) ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมานับเป็นเวลานานนับหลายสิบปีที่ดนตรียังถูกบังคับจนนำไปสู่การกีดกันแบ่งแยก(ออกจากห้องเรียนจากสายตาแห่งความเป็นสาธารณชน) ของระบบการศึกษา นั่นเป็นสาหัสปัญหาที่สร้างความยุ่งยากน่ารำคาญแก่นักวิจัยอาทิตย์อุทัยดนตรีวิทยาส่วนใหญ่ เพราะความเป็นสมัยใหม่ที่ถาโถมเข้ามาทั้งหมดทั้งมวล นำไปสู่ความหลากหลายที่ผิดปรกติ ไม่ธรรมดาของมรดกทางด้านดนตรีจากยุคก่อนหน้าเมจิ (สมัยจักรพรรดิ มัตซุอิโต) จนมาถึงปัจจุบัน

๑.๒ พิพิธภัณฑ์ หรือโกดังเก็บสินค้า?
                ความเป็นวัฒนธรรมญี่ปุ่น ชาวอาทิตย์อุทัยมีแนวโน้ม เอียง ในการทำเนื้อหาสาระให้มีความซับซ้อนและยังมีมากขึ้น นั่นก็คือความมีกมลสันดานในการเก็บรักษา ถนอมไว้ซึ่งทุกสิ่ง ดังเช่นในบททดสอบหัวข้อประวัติดนตรีญี่ปุ่น ในความเป็นดนตรีดั้งเดิม ทุกอย่างที่ผู้วิจัยปรารถนา สามารถเรียงร้อยออกเป็นลำดับรายการ และมันก็สามารถหาสิ่งเหล่านี้ได้ง่ายซะเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็นในโรงภาพยนตร์ การ์ตูน  ในวัด ศาลเจ้า แหล่งเคารพบูชา สถูป หรือปูชนียสถาน หรือจะเป็นรายการทีวี ซึ่งผิดแผกแตกต่างไปจากอิตระเดีย จีนหนีหง่าวแผ่นดินใหญ่ และเมืองไทยสวัสดี คนชอบกินปลาดิบ จิ้มวาซาบิ ชอบใจที่จะแสวงหา สืบเสาะร่องรอย และสงวนสิ่งดั้งเดิมเหล่านั้นไว้อย่างไม่เปลี่ยนแปลง เสมือนเพิ่งพบกันใหม่ๆ ซึ่งอย่างน้อยที่สุดพวกเขาก็พยายามทำให้ได้มากกว่านั้น(สงวน) สิ่งดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม และทัศนะคติ ในการอนุรักษ์ที่อาจจะนำไปใช้กับทุกๆ สิ่ง นั้นก็อีกหนึ่งที่นำไปใช้กับ ประเทศญี่ปุ่น! ซึ่งนี่เป็นอีกปรากฏการณ์ แห่งความมอดม้วย ของนักวิจัยที่ม้วยมอดพอได้สดับ รับฟังดังว่า  เกิดคำถามฉันจะทำเยี่ยงไร และที่ไหน จะเริ่มต้นยอมตาม หรือขัดขืน อยู่ด้วยกันกับทั้งหมดทั้งมวลแห่งความเมตตา กรุณา ในความมากมายนี้ ดนตรีนี้ สืบยาวจากโบราณมาโข สู่นำสมัยเกินจะตามทัน จากตะวันตกสู่ อาทิตย+อุษา+อาคเนย์ หรือ? นั้นเองเป็น ญี่ปุ่น ที่ยังยืนตื่นเต้น ดีใจกับพิพิธภัณฑ์ หรือเพียงแค่โกดังเก็บสินค้า เก็บทุกประเภทของวัฒนธรรมที่เป็นผลิตภัณฑ์ในโลกา และนั้นก็เป็นประเด็นหนึ่ง ที่ควรได้รับการใคร่พิจารณา ครุ่นคิดว่า พิพิธภัณฑ์ กับโกดังเก็บของ มีความแตกต่างกันเยี่ยงไร

๑.๓ การขาดซึ่งทัศนคติ มุมมองทางประวัติศาสตร์
                อะไรหรือ สำคัญที่สุด ในความเป็นประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นอันแสนยาวนาน ในมุมมองด้อยน้อย ต่อทัศนคติด้านประวัติศาสตร์ เพราะว่าบางส่วนมันคือ สภาพการณ์ยินยอมให้กับ Geopolitical(การเมืองซึ่งอาศัยภูมิศาสตร์ เขตแดนเป็นหลัก) ถ้า ๑ ในนิยามทางประวัติศาสตร์ เป็นดังเช่นการผูกมัดร้อยเรียงซึ่งเหตุการณ์สำคัญในอดีตเท่านั้น นั่นก็คือ ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น แน่นอนอย่างไม่มีข้อสงสัย แต่ถ้าจะเกิดความคาดหวังต่อทัศนะคติในมุมมองทางประวัติศาสตร์นี้ คำตอบก็จะกลายสภาพเป็นข้อสงสัย เคลือบแคลงใจ อะไรหละที่จะมากระตุ้น ผลักดัน เคลื่อนย้ายดนตรีให้ออกไปจากช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่สืบเสาะ ปรึกษาแลกเปลี่ยนปัญหากันแค่ในญี่ปุ่น สิ่งที่กล่าวมานั้นก็พอจะเป็นภาพที่ชัดเจน ในข้อเท็จจริงของข้อมูล โดยมีต้นฉบับ คัดลอกออกมา จากรุ่นสู่รุ่น และก็ยังเหมือนเดิม(น่ากังวล) ซึ่งก็ทำให้เรียกไม่ถูกเลยว่านี่เหรอ เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์ดนตรี
                ฉันไม่มีแผนการ จุดมุ่งหมายที่จะปฏิเสธความอยากได้ใคร่รู้ที่จะเรียน ตรงกันข้าม ฉันเชื่อว่านั่นก็คือความสำเร็จในทัศนะที่มีต่อประวัติศาสตร์ในระดับหนึ่ง ถ้ามีบ้างก็ขึ้นอยู่กับการลงทุนลงแรงอย่างมากเพื่อให้ได้ผลสำเร็จเฉพาะเพียงพื้นที่นั้น แต่ก็ไม่ควรลืมเลือนความสำคัญของประวัติศาสตร์ ในมุมมองของดนตรีที่จะเชื่อมต่อองค์ความรู้อันอุดมสมบูรณ์เพื่อการแลกเปลี่ยน ต่อยอดต่อไป อย่างไรก็ตาม คำแดกดันของประวัติศาสตร์ที่มีความแข็งแกร่งด้านความซับซ้อนในลำดับเหตุการณ์ ซึ่งก็ยากจะแก้ไขให้เข้าใจ ผลจึงมีวิวัฒนาการใหม่โผล่มาเป็น Ethnomusicology(เมืองไทยแปลว่า ดุริยางคศาสตร์ชาติพันธุ์, มานุษยดนตรีวิทยา)

๒. ความต้องการ กระหาย ด้านข่าวสารในหน้าหนังสือพิมพ์
                A sign is not only something which stands for something else; it is also something that can and must be interpreted. - Umberto Eco (๑๙๓๒- )
๒.๑ การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี
                ความเป็นเทคโนโลยีที่กว้างไกล ทันสมัย สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยนักมานุษยดนตรีวิทยา ให้กระเด็นออกจากเส้นทางที่ควรจะเป็น จากความช่วยเหลืออันมหาศาลของเทคโนโลยีสูงส่ง-ผลให้ปัจจุบันนักมานุษยดนตรีวิทยาเชื่อมั่นจิตว่าไม่มีสิ่งใดที่พวกเขาจะทำไม่ได้ ในความรู้สึกลึกๆ ก็คงคิดเหมือน นโปเลียน
                ปัจจุบันอำนาจทางเลือก ทางเทคโนโลยีก็ยังขยายไปอย่างกว้างขวาง จากม้วนวีดีโอ สู่การวิเคราะห์ ช่วยเหลือของมันสมองกล, อะไรหละที่เคยเป็นไปไม่ได้เมื่อวาน วันพรุ่งนี้แหละมันจะเป็นจริง! ดนตรีญี่ปุ่นภาคสนามอันแสนทันสมัยในปัจจุบัน มันเป็นธรรมชาติ ธรรมดาที่จะเห็น พวกนักดุริยางคศาสตร์ชาติพันธุ์ ศาสตราวุธ พร้อมยุทธโทปกรณ์ทันสมัย หลายสตางค์ แต่ถึงอย่างไรรางวัลที่เป็นผลงาน ลัพธ์ออกที่มาไม่ได้เป็นไปตามที่วาดฝันไว้? (ฝันสลาย)

๒.๑ นักมานุษยดนตรีวิทยา หรือนักข่าว?
                ขอกราบขอบพระคุณนักชาติพันธุวิทยา นักมานุษยดุริยางควิทยา และนักชาติพันธุดนตรีวิทยา ที่ช่วยประทานหนังหน้า ข่าวดนตรี Around the World !  Steven Feld อธิบายให้เรารู้สึกประทับใจ ตราตรึงจิต ในทฤษฏี หลักการ ท่ามกลางดงคน Kaluli ใน ปาปัวนิวกีนี(Feld ๑๙๘๑, ๑๙๘๒), เรื่องเล่า นิทานปรัมปรา ของ T' boli of Mindanao ในฟิลิปปินส์ บรรยายบอกเล่าผ่าน Manoleta Mora (Mora ๑๙๘๘), Shimeda Takashi's รายงาน สด เนื้อร้องเพลง และเนื้อคำพูดดั้งเดิม ของชาวปีนัง ซาลาวัค ในมาเลเซีย (Shimeda ๑๙๘๖).
                นี่อาจเป็นรายงานการสำรวจทางมานุษยดนตรีวิทยา สำรวจโลก ที่น่าตื่นเต้น หรือผจญภัยไปกับชาติพันธุ์ ดุริยางค์ ที่น่าตื่นใจ (เปิดโลกแห่งความฉลาด และเรียนรู้ ไปกับเราสิค๊ะ) บางครั้งสิ่งพวกนี้ก็ทำให้เราหวนรำลึกนึกคิดระหว่างความคล้ายคลึงที่ว่า ตกลงจะเป็นนักข่าวบนหน้ากระดาษหนังสือพิมพ์กันหรือไร? กับการส่งลูกน้องออกไปปฏิบัติงานโดยหัวหน้างานที่รับผิดชอบคิดปฏิบัติการ เพียงเพื่อสำรวจพื้นผิวโลกอย่างนั้นหรือ? ส่วนนักข่าว และผู้รายงานข่าว คอยรายงานสถานการณ์ปัจจุบัน เหมือนเด็กที่คอยจดสมุดบันทึกประจำวัน นี่หรือคือสิ่งที่พวกเขาทำกัน ออกภาคสนามกันเถอะ!  นักมานุษยดนตรีวิทยา(เหล่านี้) ได้บรรจงเขียนสิ่งเหล่านี้ ส่งข่าวแก่พวกเขาท่านหัวหน้าหย่าย ผ่านสู่มหาวิทยาลัยสังกัดที่รักยิ่ง (ป.ล ขอให้จบไวไว นะจ๊ะ)
                ไม่ว่าจะอะไร ใดใดก็ตาม บทความที่กลั่นกรอง ลักลั่นจากพวกนี้ อาจจะเรียกว่า วิทยานิพนธ์ฉบับรายวันหรือวิทยานิพนธ์ฉบับ ล้วง เด็ด ๗ สี ก็เป็นไปได้ อะไรหละที่พวกเราลำพังสามารถ สดับ Reading เกี่ยวเก็บ ผลิตผลองค์ความรู้ที่สุกงอมจากพวกเขา หรืออาจจะเป็นการตั้งใจที่จะสร้างภาพลักษณ์พื้นๆ เพียงแค่นี้ก็ได้ ก็อาจเป็นไปได้(เป็นลูกตะขบดองเกลือ ตุ๊บ ตั๊บ เค็ม เค็ม)

๒.๒ ความแตกต่างกันระหว่าง วัฒนธรรม ๒ วัฒนธรรม หรือมากกว่านั้น
                ทรัพยากรดนตรี มันมากมายมหาศาล(เหมือนมนุษย์) และก็ถึงเวลาที่เราจะต้องมาเรียนรู้กันในความหลากอย่างมากมายของดนตรีที่ปรากฏบนพื้นผิวโลกา พิภพนี้ ใช่สิ มันช่างกว้างใหญ่ มากมาย และหลากหลายวัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้เยอะพอที่จะทำให้เราสับสน ลุกรนจนไม่สามารถหาทฤษฎี ดีดี ใดใด ที่เข้าใจมาอธิบาย ชนิดของดนตรีในมือเราได้และมันก็ไม่น่าประหลาดใจเลย ที่ยังทำงานดนตรีโลก ไม่เสร็จ จนตาย(ก็ยังไม่เสร็จ)
                การศึกษาหาความรู้ในดนตรีญี่ปุ่น ก็เป็นอีกหนึ่งจากหลายภาคตอนชนิดดนตรีในโลกของเรา นักมานุษยดนตรีวิทยาบางคนชอบที่จะเขียนงานในความงามยุบยับเหล่านี้ ให้ออกมาวุ่นวาย น่าเบื่อ ด้วยบทสรุปที่ชี้ว่าเขาเจ๋ง ซึ่งก็ไม่น่าจะนำพาพวกเขาไปสู่ที่ไหนและเพื่ออะไร(ไร้แก่นสาร) เว้นเสียแต่แนวความคิดทั่วไปนี้จะตกผลึก ดลใจพวกเราให้สำนึกถึงความแตกต่างเชื่อมโยงอย่างน้อยระหว่าง ๒ วัฒนธรรม(เป็นทางเลือกที่ดี) จงสนุกกับความแตกต่าง และรู้จักที่จะเชื่อมโยงความแตกต่างเหล่านั้นให้ สนุก ขณะที่มันยังเดินหน้า ในขบวนรถไฟ โบกี้ โป้ง โป้ง ฉึ่ง
                "The way in which the world of music divided into musics, and the criteria for the divisions," as Bruno Nettl put it, "are major issues that have perhaps not been given sufficient explicit recognition" (Nettl 1983:51).
               
๓. จากนิ้วแสน สุดวิเศษ สู่ตรรกวิธี ของหู  (Gossip)
                But in history, as in nature, birth and death are equally balanced. - Johan Huizinga (๑๘๗๒-๑๙๔๕)
๓.๑ ฉันเกิดที่ยุโรป ยะ
                นาง ดนตรีวิทยา หล่อนเกิดโลกฝังตะวันตก แถบ แถบ ยุโรป เทือกนั้น ได้รับการชุบเลี้ยงเติบใหญ่ในบ้านหลังม่านวัฒนธรรมตะวันตก ไฮโซ ผู้ดี ชั้นต้นหล่อนได้ถูกมอบหมายหน้าที่ให้รับผิดชอบงาน ภายใต้อิทธิพลแม่เลี้ยงใจร้าย แม่สมัยใหม่ที่มีหัวคิดนำสมัยของวัฒนธรรมแบบ Modern, นับจากนั้นมาหล่อนก็ถูกผูกติด กักขัง อยู่กับปมด้อยของวัฒนธรรมตะวันตกสมัยใหม่ ศิลปะสมัยใหม่ และดนตรีตะวันตกสมัยใหม่ ในบ้านหลังเก่าๆ นั่นแหละเป็นงานแรกในชีวิตของเธอ(อยากได้ผัว!)
                ต่อมาเธอก็มีลูกหลายเยอะขึ้น สายตระกูล มุ สิ โค๊ะ โล๊ะ จิ เริ่มกระจายกันแพร่พันธุ์ ลูกเธอได้ดีทุกคน! และภายหลังจากการโผล่ขึ้นมาของสายตระกูล เอ๊ะ โน๊ะ - มุ สิ โค๊ะ โล๊ะ จิ ในไม่ช้า ด้วยการเน้นกระจายพันธุ์ที่กว้างใหญ่หลากหลายเชื้อชาติของตระกูลใหม่นี้ เป็นนโยบายหลักในการปกครองอำนาจ เนื่องจากปัจจุบันเขารู้ว่า นางดนตรีวิทยา มีหน้าที่รับผิดชอบศึกษาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับดนตรี และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับดนตรี(คล้ายงานแรกของเธอ) ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันไกลมากกว่าจะตะโกนเรียกสายตระกูลใหม่ที่ยังหลงลืมตน แหละคิดว่าตนเองหละดีแน่แท้(Ethnocentrism) ลืมชาติกำเนิดตน ชอบดูถูกคนอื่น ให้กลับมาย้อนคิดถึงความสัมพันธ์ที่เคยลึกซึ้งนั้นที่เพิ่งจะผ่านมาได้ไม่กี่สิบปี(วันวาน ยังหวานอยู่)

หวนกลับไปคิดสู่วันวานที่ยังหวานหอม รำลึกอดีตที่ยังแสนหวาน แล้วกลับมาตรองดูอีกที
---แล้วกรูเป็นใคร มาจากไหนฟะ?

๓.๒ แล้วฉันหละคือใคร What is music? Who am I?
          ถึงแม้ว่า นักวิชาการผู้มีชื่อเสียงจะออกมาอวดบทสรุป แก่พวกเราให้เห็นถึงงานศิลปะอันงดงามของโลกแห่งดนตรีวิทยา(โลกแห่งหิมพานต์ มีสัตว์แปลกประหลาดมากมาย อันหลืบลับ) เช่นเดียวกับ Charles Seeger ใครหละที่วาดโครงร่างนั้น เพื่อที่จะแต่งแต้มผืนผ้าใบนั้นด้วยถ้อยคำและเสียงเพลง(งดงาม) หรือ Geoge List จะเสนอให้เป็นรูปแบบของแผนภาพอนุบาล ของเส้นเขตแดน คำพูดและเสียงเพลง (List ๑๙๗๑ : ๒๖๑)
                แล้วอะไรหละ คือ ดนตรี? แล้วฟังดนตรี ทำไมหละ? ---มันก็แปรผัวผวนผันกันกับพวกวัฒนธรรมนั่นแหละ เสียงของสังคมในวัฒนธรรม คนนั่นแหละคือผู้ตะโกน ผู้ใดหละแบกรับมันไว้?  เอ๊! แล้วดนตรีมันคืออะไร? พวกมนุษย์ล้วนชอบ เสพย์สุขกับนางทั้งสิ้น--------!!!!!!! นักวิชาการพวกนั้นโอด คราง

๓.๒ ดนตรีในสังคม คนญี่ปุ่น
                จากนี้ไป อะไรคือลักษณะเฉพาะของดนตรีญี่ปุ่น? ดูเหมือนจะเป็นคำถามไม่ยาก แต่ก็จำเป็นต้องตอบ
วัฒนธรรมดนตรีในญี่ปุ่นส่วนใหญ่เกิด ส่งผล และขึ้นอยู่กับเนื้อร้องทำนองเพลง ไม่ใช่เพียงแค่ใน คาบูกิ หรือ โน ซึ่งเป็นฐานรากของมหรสพแดนปลาดิบ แต่ยังกว้างกระจายออกไปที่อื่นอีก เช่น โซเคียวคุ ที่ปรากฏในบทกวี ที่ประพันธ์โดยนักประพันธ์ น่านับถือ ขับร้องคลอเคลีย ผ่อนผ่านเสียงเครื่องดนตรีพิณ ๑๓ สาย และก็ที่น่าสังเกต กับ ซาคุฮาซิ ฮอนเคียวคุ ที่ได้รับการยกเว้นเพราะขณะเป่าจะพูดด้วยไม่ได้(แต่นั่นคือ คำพูด)
                ขอเพิ่มเติมอีกนิดเรื่องรสของเสียงที่หูได้ชิม รสของเสียงดนตรีญี่ปุ่น อาจไม่มีความเหมือนกับรสชาติของดนตรีตะวันตก ขืนรับประทานอยากรวดเร็วอาจอาเจียนออกมาได้ และฉันก็เชื่ออย่างยิ่งว่า ซาคุฮาซิ ฮอนเคียวคุ ถูกครองงำด้วยเพียงพลังนิ้ว และทิศทางของนิ้ว เหนือสิ่งอื่นใดอะไรก็ไม่น่าตื่นเต้นเท่าปิ๊กไม้พายเหลี่ยม บรรจงกระชาก ลากดีดลงไปบนสาย ซามิเซน : กากากุ นู้น นี่ นั่น นับเป็นกิ่งยอดสาขาจากวัฒนธรรมจีนโบราณ นับเป็นแนวคิด ทฤษฏีที่เชย เพราะชอบหยิบยกใช้กันจนขายดี และรับประทานต่อกันหลายมื้อมิได้  เลี่ยน
                แล้วก็บังเกิดความสงสัยระหว่าง ดนตรีวิทยาว่าใช้ได้ประโยชน์ในการศึกษาวิเคราะห์ ศิลปะดนตรีตะวันตก โลกสากล ได้เท่านั้นเหรอ เพราะอะไร? สิ่งเหล่านี้สามารถเป็นเครื่องมืออันมีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ดนตรีญี่ปุ่น เพราะว่าพวกเราต้องการมุมมองใหม่ๆ แสงใหม่ ฉากใหม่ ในตัวละครตัวเดิม บนหลักฐานเดิมว่าดนตรีสามารถวัดออกมาเป็นค่าความมาตรฐานโดยเครื่องวัดที่มาตรฐานของสากล ได้ออกมาเป็นตัวอะไร?
                นอกจากนี้ยังไม่มีผู้ศึกษาวิจัยดนตรีญี่ปุ่นคนใดที่กระตือรือร้น ที่จะสร้างแนวคิด ทฤษฏีแสง ฉากใหม่ ตัวแสดงเดิม ช่างห่างไกลในสังคมดุริยศิลป์อาทิตยอุทัย มากไปกว่าทฤษฎีการจูงใจให้เชื่อเรื่องราวของความซับซ้อนในระบบ Tonal Systems(แสงเดิม ตัวเดิม ฉากเดิม ใช้สะแตนอิน)                

๔. ดนตรีวิทยา หมากเตะ
                A standardized theory of a tonal system throughout Japanese traditional music has never quite been established. - Koizumi Fumio (๑๙๒๗-๑๙๘๓)   
๔.๑ เกือบใกล้ละที่จะถึงความเข้าใจ
                ในวัฒนธรรมดนตรีญี่ปุ่นคงไม่มีอะไรน่าสนใจเท่ากับ Texture of Strings of Patterns มันก็น่าจะเป็นไปได้ถ้าหันหน้ามามองการวิเคราะห์ พิจารณาโดยใช้ Melodic Lines หรือ Musical Construction บทสรุปที่ออกมาเหมือนมากกว่าการเก็บสะสมถูกไล่เรียงข้อมูลตามลำดับเวลา สิ่งเหล่านี้ฟังเหมือนจะเป็นทางออกที่ดีในการศึกษาวัฒนธรรมดนตรีวิทยาญี่ปุ่น และต้องทราบไว้ว่ามันเป็นการวิเคราะห์ วิจัย อันยากยิ่งที่จะเข้าใจวัฒนธรรมดนตรีญี่ปุ่นอย่างแท้จริง โดยปราศจากความเข้าใจที่ยังคงความเชื่อมโยงแน่นหนากันกับบริบททางสังคม สิ่งเหล่านี้ได้ผูกติดแน่นไว้กับมรดกทางวัฒนธรรม อันสวยงาม
                วัฒนธรรมดนตรีญี่ปุ่นก็ดูเหมือนศิลปะทั่วไป ที่มีเยอะแยะมากมายในญี่ปุ่น หลังจากการเพ่งพินิจศิลปะแขนงนั้นเพียงหนึ่งเดียวอย่างน่าสนใจ ทำให้คุณเหลือบมองบริบทรอบข้างอย่างเหมาะสมโดยไม่ละทิ้งความสนใจนั้น สิ่งเหล่านี้เป็นแนวคิดที่ดี หรือแม้แต่การสัมมนา ขั้นตอนขององค์ประชุมในสภาก็ดูเหมือนการแสดงมากกว่าการปรึกษาหารืออย่างแท้จริง และนั่นก็เป็นบริบท ของดนตรีญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน
               
๔.๒ ฟุตบอล กับคนญี่ปุ่น
                ดนตรีญี่ปุ่น เป็นอะไรที่มากกว่าศิลปะการแสดง นางดนตรีวิทยาถึงแม้เธอจะเกิดในโลกตะวันตก เธอคุ้นเคยสนิทกับสามีเก่า นักเตะในทีมฟุตบอลที่เป็นหมากไปตามโค้ช ตามเกมส์ ถึงอย่างไรเขาก็เป็นคนแรกของเธอ(หล่อนกล่าวโม้) แต่สามีใหม่ของเธอ ที่เธอเลือกเขาไม่ใช่นักเตะแข้งทอง อาจจะเตี้ยไปหน่อยแต่ก็เป็นคนรักเพื่อนฝูงมาเป็นที่หนึ่ง พี่หยุ่นของหล่อนชอบทำงานเป็นทีม แถมยังมีอิสรเสรีในตัว นี่แหละที่หล่อนชอบอวดนักอวดหนาว่า ฉันหลงรักใน ความไม่เจ้าชู้ จริงใจนี่แหละคะ (ที่แท้พี่หยุ่นชอบเบสบอล ย่ะ!)
                ถึงแม้ว่าน้อยครั้งที่นักวิจัยหยุ่นจะประสบผลสำเร็จในการออกเก็บข้อมูลดนตรีภาคสนาม แต่ก็ยังมีเหตุผลที่ดี ในการศึกษาที่ไม่ใช่เพียงแค่สิ่งที่มุ่งหวังดนตรี เพียงอย่างเดียว เพราะญี่ปุ่นจะไม่มีวันวิ่งหนีออกจากความอุดมสมบูรณ์ ความซับซ้อน การเทียบเคียงกันระหว่างวัฒนธรรมสังคม นี่คือความจริง ความจริงที่ยังรอคอยการตรวจสอบโดยตัวพวกเขาเอง

๔.๓ การเพิกถอน แผนการ และยุทธวิธี
                Leonard Bernstein ๑๙๑๘-๑๙๙๐ ครั้งหนึ่งเขาเคย เฟลี้ยงบรรยาย และการสอนที่มหาวิทยาลัย Harvard เหตุจากความเหนื่อย และเซ็งที่จะจดจ่อ อธิบายรูปแบบโครงสร้างของดนตรี หลังจาก Avram Noam Chomsky ๑๙๒๘-  คิดค้นแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภาษาศาสตร์เรียบร้อยไปแล้ว นี่มันเป็นปรากฏการณ์ที่น่าแปลกสำหรับดนตรี?  ทั้งที่มีข้อมูล ต่างๆ ตั้งเยอะแยะ หรือถ้าเขาอยากจะประสบผลสำเร็จในการบรรยาย แล้วทำไมไม่มาศึกษา บรรยาย ดนตรีญี่ปุ่นหละ?
                จะอีกทางเลือกหนึ่ง ขอแนะนำว่า การศึกษาดนตรีวิทยานี้ ควรจะเพิกถอนกองกำลังชั่วคราวจากคำว่าญี่ปุ่น เพียงจุดเดียว ซึ่งอาจจะเป็นการเพ็งเล็งพิถีพิถัน เพียงจุดเล็กๆ ที่ประเสริฐ ดีเลิศ การเพิกถอยสายตาออกจากความเมื่อยล้าแห่งการเพ่ง เพียงแค่คุณหันมองสิ่งรอบข้างเพื่อผักผ่อนสายตาว่ารอบๆ ข้างจุดเล็กๆนี้ มีอะไร จุดอื่นใดบ้าง สิ่งแวดล้อมมันสวยงามเพียงใด เหมือนกับการศึกษาดนตรีอาจไม่ใช่เพียงแค่ ดนตรี เพียงจุดเดียว แต่ควรจะมีการศึกษาแบบสหวิทยาการ เพื่อละคลายสายตาแห่งการเพ่งพินิจลงบ้าง ไม่งั้นตาคุณอาจบอดเร็วกว่าวัย ผลซึ่งชีวิตที่มืดบอดตามมา
                แนวทางการศึกษาดนตรีวิทยา หรือดนตรีอื่นใดในโลกหล้านภากาศ อาจจะไม่ต้องมานั่งถอยถามว่าดนตรีนี่หรือคืออะไร? เพียงแค่ลองเพิกถอนสายตา ออกจากคำว่า ดอ โอ นอ+ ตอ อี เท่านั้น คุณก็จะเห็นได้ในสิ่งที่ ดอ โอ นอ+ ตอ อี อยากให้เห็น ไม่ใช่เพียงการบ่งเพาะจ่อจดคำว่า เป็นอะไร? ใช่มันเป็นแค่ชื่อไม่ใช้ตัวตนแท้จริง ฉะนั้น อำลามันซะ!
                ลองพักสายตาสักนิด พักจากกระแสจิต คิดว่าดนตรีคืออะไร? มาจากไหน ลองหันดูดอก ว่ายังมีอีกหลากหลายดอกในสวนไม้งาม ดอกไม้จะงาม ย่อมมีลำต้น กิ่งก้าน ใบที่งาม ดินอุดม น้ำท่าพอดีบำเลอเลิศ รังสรรค์ปลูก ฝัง โดยเงื้อมมือมนุษย์ผู้สรรค์เสก และที่สำคัญ ดนตรีนั้น(ดอกไม้นั้น ความงามนั้น)มีความสำคัญต่อฉันเยี่ยงไร ดอกไม้ที่หล่อน(นางดนตรีวิทยา)ได้ปลูกมอบให้ ไม่ว่าเธอจะมาจากไหน เคยเป็นของใคร เธอมอบมาซึ่งดอกไม้งาม  ฉันปลื้ม ในดอก ดิน กลิ่น น้ำ สร้างฉัน มาพบเธอ 



ลา ล้า ลา จาก ลา ไม่ ลาจาก
ก่อน จาก พราก  จาก จร สมร ฉวี
ดน ใจ ใหม่ ได้  หยุ่น เป็น สามี
ตรี- เบรส บรอล  น้องนี สะ บี ดาย

วิทยา สายหลัก มักมีจุด
แสนจะ ขุด จุด จุด ให้มีหมาย
บ้า จุด จุด ขุด ขุด ให้เมื่อยกาย
บอ ลงบ่อ ผ่อนคลาย กับนวล นาง(ดนตรีวิทยา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น